การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 32 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 32 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ
เรื่องด่วน ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี 
โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 (นายชัยธวัช ตุลาธน กับคณะ จำนวน 98 คน เป็นผู้เสนอ)
วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 
ช่วงเวลา 09.00 – 02.00 น.

ผู้อภิปราย    ประเด็น
ช่วงเวลา: 09:05 น.                   
ผู้อภิปราย : วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร    เปิดประชุมสภาฯ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติ ม.152 วันสุดท้าย

สรุปเวลาอภิรปาย ประธานที่ประชุมใช้แล้ว 27 นาที จาก 2 ชม. ครม.ใช้เวลา 4.39 ชม. ฝ่ายค้านใช้เวลา 12.00.09 ชม. 
หลังปิดอภิปรายทั่วไปในวันนี้แล้ว ก็จะปิดสมัยประชุม
ช่วงเวลา: 09.12 น.
ผู้อภิปราย : ยูนัยดี วาบา สส.พรรคประชาธิปัตย์

    -สอบถามนายกฯ เหตุพลุระเบิดที่มูโนะ คดีส่วยมูโนะคืบหน้าไปถึงไหน  
-จากการลงพื้นที่ยังไม่มีการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับชาวบ้านผู้ที่เสียหาย แต่กลับต้องไปอยู่กับญาติ หรือเช่าบ้านแทน/ ชาวบ้านน้อยใจนายกฯ ลงพื้นที่ไม่มาดูแล 
-รวมถึงเหตุรุนแรงในเดือนรอมฎอน ทำลายระบบ ศก. และทำลายบรรยากาศเดือนรอมฎอน การวางระเบิดกว่า 40 จุด 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นการทำลายความเชื่อมั่นการบริหารประเทศ นายกฯ กลับไม่ทำอะไร 
ดังนั้น อยากให้มองทุกมิติในการพัฒนา - สร้างความมั่นคง และให้ประชาชนมีส่วนร่วม เมื่อ 2 เม.ย.มีการยกเลิก คำสั่ง คสช.ที่14/2559 แต่สมช.แจ้งว่า นายกฯได้ออกคำสั่งที่ 19 จัดตั้งกลไกบูรณาการ แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ โดยไม่มีใครทราบ ออกคำสั่งเป็นการซับซ้อนหรือไม่ โดยไม่มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม เรียกร้องให้นายกฯ หากปรับ ครม.ขอให้หาบุคคลที่เข้าใจปัญหาชายแดนใต้ มาเป็นรองนายกฯ ด้านความมั่นคงเพื่อดูแลปัญหาใต้
ช่วงเวลา: 09.21 น.
ผู้อภิปราย : พริษฐ์ วัชรสินธุ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล

    - เมื่อ 3 เดือนที่แล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างแก้ไขกฎหมายผ่านกลไกรัฐสภา ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง เมื่อ  1 เดือนที่แล้ว คณะกรรมการเลือกตั้งที่มีภารกิจส่งเสริมระบบประชาธิปไตย มีคำร้องขอยื่นเรื่องยุบพรรคการเมือง ที่ประชาชนเลือกเข้ามา
ขอสอบถาม นี่เหรอครับ ที่เรียกว่ารัฐบาลประชาธิปไตย รัฐบาลที่นายกฯ ภาคภูมิใจประกาศกลางสหประชาชาติ
- ขอเริ่มต้นคำถามที่ 1 รัฐบาลบอกว่าสิ่งแรกหากได้เป็นนายกฯ คือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย สสร. แต่ภายใน 18 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลทำมี 2 ทางเลือก 1. เส้นทางประชามติ 2 ครั้ง 2. เส้นทางประชามติ 3 ครั้ง แต่ผ่านมา 6 เดือนรัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินการ ยังคงพายเรือในอ่าง
- เรื่องตลก 6 ฉากของรัฐบาลนี้  
1. รัฐบาลกลับลำเรื่องการประชามติตั้งแต่วันแรก 
2. ตั้งคณะกรรมการศึกษาการจัดทำประธานมติแทน ซึ่งไม่ตรงกับคำแถลง นโยบายต่อรัฐสภา แนวโน้นอาจไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การตั้งคณะกรรมการศึกษาเป็นแบบคนกันเอง ทำไมท่านไม่ศึกษามาตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว ทำไมไม่ใช้รัฐสภาแห่งนี้เป็นที่ศึกษา 
3. การรับฟังความเห็นแบบผิดวัตถุประสงค์ ผิดที่ผิดเวลา 
4. การเสนอคำถามประชามติแบบยัดไส้เงื่อนไข เช่น คำถามคือท่านเห็นชอบหรือไม่ กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไขหมวด 1 หมวด 2 การตั้งคำถามแบบนี้ เป็นคำถามที่หลายคนคาดเดาไว้แล้วตั้งแต่ต้น ที่เป็นคำถามเปรียบเสมือนรัฐบาลมีธงอยู่ในใจแล้ว หากเป็นเช่นนี้รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่ออะไร 
5. การแก้เก้อเปลี่ยนมาเลือกเส้นทางประชามิติ 2 ครั้ง 
6. การยื่นดาบให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามากำหนดนโยบาย 
ตลกหกฉาก 3 เดือนแรกและ 3 เดือนหลัง มีแต่ชนกันเองไม่มีความชัดเจน
- การทำงานของรัฐบาลผ่านมา 6 เดือนคนไทยจะได้เข้าใกล้เงินดิจิทัลวอเล็ตหรือยัง /ผ่านมาแล้ว 6 เดือน ประเทศไทยก็ยังคงอยู่ในจุดเดิมเหมือนเดิมกับวันแรกที่รัฐบาลเข้ามา /รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่พร้อมใช้งาน ก่อนการเลือกตั้งในครั้งหน้าหรือไม่ หากรัฐบาลสามารถตัดสินใจได้ ตั้งแต่ต้นว่าจะเดินหน้าไปด้านไหนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราก็น่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่สามารถบังคับใช้ได้ทันภายในเวลา 3-4 ปีนี้ แต่ท่านใช้เวลาถึง 6 เดือนกว่าจะตัดสินใจได้แล้วสุดท้ายคือ ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ต้องดูว่าศาลจะเมตตาหรือไม่ หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วย ตามกรอบเวลาท่านก็อาจจะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ทันตามเวลา แต่หากรัฐธรรมนูญไม่เห็นด้วย ท่านก็จะเสียเวลาและต้องมาเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด อาจจะไม่ทันในการเลือกตั้งครั้งหน้า
- การลุกขึ้นมาอภิปรายในวันนี้ เพื่อจะเตือนภัยประชาชน เกี่ยวกับคำทำนายล่วงหน้าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ เพราะแม้โจทย์แรกเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจะได้เมื่อไหร่ ส่วนโจทย์ข้อที่ 2 ถึงแม้เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีหน้าตาเป็นเช่นไร ตอนนี้ไม่มีใครมองว่ารัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ มีความสำเร็จในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะมีการปรับเปลี่ยนเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องของการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลยุคนี้ของท่านเศรษฐา ก็คงไม่มีใครพูดถึงเช่นกัน เพราะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน แต่กลับกลายเป็นถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้างนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม หากรัฐธรรมนูญ 60 ถูกเขียนโดยคนไม่กี่คน และเอื้อผลประโยชน์ให้กับคนไม่กี่คน ประชาชนมองว่ารัฐธรรมนูญที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนต้องมาจากการขีดเขียนของทุกคน 
- รัฐบาลเศรษฐาฯ ที่ตั้งขึ้นมาได้ด้วยใบบุญเครือข่ายอำนาจเดิม ประชาชนก็หมดโอกาสที่จะมีส่วนร่วม ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีแนวโน้มรัฐบาลอาจจะนำไพ่ให้ไม้ตายสามใบที่รัฐบาลเตรียมควักออกมาใช้ ไพ่ใบที่ 1 สสร.สูตรผสม ก็คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง สูตรผสม สสร.เลือกตั้ง ต้องโหวตแข่งกับ สสร. แต่งตั้ง ดูผิวเผินฟังดูดีเหมือนเปิดให้เกิดความหลากหลาย แต่เป็นการเปิดช่องให้วุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เข้ามาร่วมได้ เราไม่ควรหลงกับดักนั้น ไพ่ไม้ตายใบที่ 2 การกินรวบคณะกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง จากพี่น้องประชาชน นั้นมีน้อย ไพ่ใบที่ 3 ด่านทางผ่านวุฒิสภารัฐธรรมนูญของ สสร.อาจถูกตีกลับโดย สว. 
- หากคำทำนายนี้เป็นจริง นั่นคือรัฐบาลยึดความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ แบบนี้ไม่เรียกประชาธิปไตยที่เต็มใบ แต่เรียกว่าประชาธิปไตยที่ต้องขอใบอนุญาต และเป็นใบอนุญาตที่ต้องจ่ายด้วยราคาแพง คืออนาคตของประเทศนี้ 
- ข้อเสนอในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่รวดเร็วและไว้ใจประชาชน 1. สนับสนุนคำถามประชามติที่เปิดกว้างเพื่อเพิ่มโอกาส ที่ประชามติครั้งแรกจะผ่าน 2. สนับสนุนสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง 100% ไม่เปิดช่องให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้ามาขี่คอ 3. สนับสนุนการแก้ไขรายมาตรา ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นแบบคู่ขนานกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 4. สนับสนุนให้เร่งพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 2 ร่างที่เข้าคิวอยู่ในระเบียบวาระการประชุม 
- ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้ จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ควรมีความจริงใจและความสามารถต่อการรักษาคำพูดและสัจจะที่นักครองเมืองให้ไว้กับพี่น้องประชาชน ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้ จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีแต่ความจริงใจและความสามารถต่อการรักษาคำพูดและสัจจะที่นักการเมืองให้ไว้กับพี่น้องประชาชน 
- นโยบายดิจิทัล wallet พูดอย่างทำอย่าง ไม่มีความชัดเจน /นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ แต่เมื่อมาทำจริงได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น /ส่วนเรื่องการเกณฑ์ทหาร ก็พูดด้วยความไม่เข้าใจ ได้แต่พูดว่าสนับสนุนการสมัครใจเข้ารับทหาร /เรื่อง Soft power คำของบประมาณมาจาหหน่วยงานใส่คำของบฯ ตีความแบบสะเปะสะปะ
ช่วงเวลา:. 10.06 น.
ผู้อภิปราย : วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล    รูปแบบการเกณฑ์ทหาร กองทัพ ให้เกิดความมั่นใจ โปร่งใสให้กับประชาชน 5 เรื่องสะท้อนให้กระทรวงกลาโหม
1.การเกณฑ์ทหาร รัฐบาลควรปรับรูปแบบการเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ การบังคับการเกณฑ์ทหารส่งผลกระทบต่อกองทัพไม่ว่าจะเป็นสภาพจิตใจ ประสิทธิภาพการฝึกซ้อม ทำให้คนไทยเป็นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย จากเรื่องนี้เป็นจำนวนไม่น้อย ประชาชาทุกคนต่างมีภาระและหน้าที่ ใบแดง 1 ใบทำให้ชายไทยศูนย์เสียรายได้ราว ๆ 5 ล้าน สะท้อนให้เห็นว่าในปี 64 ประเทศไทยมีชายไทยสมัครการเกณฑ์ทหารลดลง แต่ในปี 65 มียอดการเกณฑ์ทหารเพิ่มขึ้น จากการเปิดรับสมัครแบบออนไลน์ แต่ยอดในความเป็นจริงรวม walk in และออนไลน์ มียอดลดลง ระบุ 11 ปี ลดลงเฉลี่ยปีละ 1,500 คน เป็นการลงทะเบียนออนไลน์ที่หลอกตาประชาชน เพื่อซื้อเวลาการปฏิรูปกองทัพ 
2.การลดจำนวนนายพล ระบุ กองทัพควรลดนายพลที่ไม่จำเป็นเพื่อประหยัดงบประมาณ ใน พ.ศ. 2570 ให้เหลือน้อยกว่า 300 นาย สำหรับโครงการทำแล้วทำอยู่ทำต่อ หากสำเร็จงบกองทัพลดลงหรือไม่?
3.ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินบางส่วนถูกนำไปทำบ้านพักตากอากาศ สนามกอล์ฟ แบบไม่มีที่มา กำไรเพียง 70-80 ล้านบาท ในขณะที่ภาคเกษตรขาดที่ดินทำกิน และหนี้ครัวเรือนเป็นอย่างมาก ประชากรต้องเช่าที่ดินทำกินร้อยละ 40 ไม่รวมค่าน้ำ ยาฆ่าแมลง 
รัฐบาลควรจัดระดับความสำคัญ จัดสรรงบประมาณ และคืนที่ดินให้ประชาชน 
4.งบประมาณแต่ละเหล่าทัพ งบประมาณที่จัดสรรให้แบ่งเป็น ทหารบก 1 แสนล้านบาท ทหารเรือและทหารอากาศ 4 แสนล้านบาท ซึ่งไม่ได้มีการจัดรูปแบบโครงสร้างให้เหมาะสมและสอดคล้องกับงบประมาณ ควรจัดซื้อจัดจ้างอาวุธยุทโธปกรณ์ในประเทศ และดำเนินหลักการเป็นสมุดปกขาวในเล่มเดียวกัน 
5.นโยบายชดเชย การนำเงินภาษีไปแลกกับอาวุธ ไม่เกิดประโยชน์กับการกินอยู่ของประชาชน ควรถ่ายทอดอุสาหกรรมในประเทศ เช่น การต่อเรือและต้องผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมอุสาหกรรมการป้องกันประเทศ
ช่วงเวลา:. 10.49 น.
ผู้อภิปราย : เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ รมว.คลัง    ชี้แจงว่า อุตส่าห์ฟังฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณ์ กระทรวงกลาโหม เรื่องของกองทัพ จริงๆ ก็เรื่องเดิม ๆ ผิดหวังนิดหน่อย มีแต่น้ำๆ ทั้งนั้น ยืนยัน จริงๆ แล้วกองทัพมีไว้เพื่อความมั่นคงของประเทศ ไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง เรื่องวาทกรรมด้อยค่าต่างๆ ภาพลักษณ์ตกต่ำ ใช้ไอโอดำมืดต่างๆ เหล่านี้ควรให้เวลารัฐบาลทำงาน อีก 4 ปี ก็จะเห็นคำตอบเองว่า คนที่ใช้ไอโอ คนที่พยามครอบงำให้คนหน้ามืดตามัวคือใคร 
- เรื่องที่รัฐบาลนี้ รัฐมนตรีกลาโหมพยายามทำอยู่ ยืนยันว่าเป็นการพัฒนาร่วมกัน แม้ไม่ได้ใช้คำว่าปฏิรูป ผมเชื่อว่าตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เช่น สมัครใจเกณฑ์ทหาร เรื่องของการจัดซื้อ หรือ (บาร์เดอร์เทรด) โดยมีอะไรคืนกลับมาบ้าง ตรงนี้มีการพูดคุย เชิญกับเหล่าทัพ กระทรวงกลาโหม เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญ ไม่ใช่ว่าเอาอย่างอื่นมา เรื่องนี้พยามทำอยู่ แค่ 7 เดือน เชื่อว่าให้เวลาอีกสักพักจะมีผลงาน ที่พยายามทำกันอย่างต่อเนื่อง
- เรื่องคืนพื้นที่เรื่องหนองวัวซอ ก็มีความคืบหน้ารัฐบาลนี้เชิญมาพัฒนา ทางทหารบกก็เอาพื้นที่ที่ลพบุรีคืนมา จะทำระบบชลประทานให้พี่น้องประชาชนเช่นกัน เรื่องนี้ต้องค่อยๆ ทำ ยืนยันมีความคืบหน้าพื้นที่ต่างๆ พยามทำให้มีพื้นที่ทำกินมากยิ่งขึ้น
- เรื่องของเงินทอนพูดหลายครั้ง ขอให้เอาหลักฐานมาพูดกันดีกว่า เรื่องมันยังไม่จบ และต้องมีการสนับสนุนให้มีการต่อ (โรงงาน)ในประเทศไทย เป็นหลักการถูกต้อง แต่เป็นเรื่องมีเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งยังมีหลายมิติ พยามพูดคุยอยู่ ให้กองทัพได้ของที่ดีที่สุด
-ฟังมา 40 นาทียังเป็นของฝ่ายค้านที่งงอยู่เหมือนกัน เหมือนที่เคยบอกว่า เอาเรือประมงมารบ อยู่มาวันนี้ ขอสนับสนุนได้ซื้อเรือรบอีก งงมาก กานนำเรื่องวาทกรรมมาใช้ ควรเอาพูดกันแบบมีเนื้องานดีกว่า เราจะพัฒนากองทัพต่อไป ซื้ออาวุธให้มีความโปร่งใส คำนึงถึงการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ได้ประโยชน์จากการซื้ออาวุธด้วย ขอยืนยันอีกครั้งว่า กองทัพมีไว้เพื่อความมั่นคงของประเทศ
ช่วงเวลา: 10.53 น.
ผู้อภิปราย : วุฒิพงษ์ ทองเหลา
ผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี พรรคชาติพัฒนากล้า

    - ประเด็นการกำจัดขยะในประเทศไทย ไทยกำลังจะกลายเป็นถังขยะโลก มีตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าในประเทศไทยเมื่อติดตามไปดูพบว่าเป็นขยะที่ถูกเทรวม เป็นพื้นที่ใหญ่กว่ารัฐสภา ซึ่งพื้นที่นั้นคือ จ.ปราจีนบุรี อำเภอศรีมหาโพธิ /ใน ปี 2561 ประเทศจีนได้ยุตินำเข้าขยะจากทั่วทุกมุมโลกที่นำเข้ามาเพื่อกำจัดขยะ เพราะมีผลกระทบ ทำให้เกิดมลพิษ น้ำขยะซึมลงน้ำบาดาล ใช้งบประมาณในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจำนวนมหาศาล ประชาชนมีอาการเจ็บป่วย ปัญหาทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง /หวยมาลงในประเทศไทย ขยะเศษพลาสติก อุปกรณ์วงจรไฟฟ้าถูกส่งลงเรือมาจากหลายประเทศมุ่งหน้ามายังประเทศไทย สถิติการนำเข้าเศษพลาสติก แต่การนำเข้ามาแบบเป็นชิ้น ซึ่งมีสถิติสูงที่สุดในปี 2561 ได้มีการ Action จากภาครัฐแต่ก็ยังไม่ดีพอ การดำเนินการเป็นการลงทุนของคนจีน มีแรงงานเป็นคนพม่า คนไทยเป็น รปภ. เมื่อมีปัญหาก็ปิดหนีกลับประเทศ /ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ครม.มีมติหยุดนำเข้าขยะพลาสติก ยังคงมีการนำขยะพลาสติกเข้ามาในยังประเทศไทย ในปี 2566 มีปริมาณมากถึง 201,714 ตัน  ประเทศไทยนำเข้าขยะจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ถึงตรงนี้ยังเหลือเวลาอีก 1 ปีเศษ ในการนำเข้าขยะ และในวันที่ 1 มกราคม 68 ยุติการกำจัดขยะ จึงอยากให้รัฐบาลได้ตระหนัก ประเทศไหนเมืองไหนให้ความสำคัญของสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมมากกว่าเงินเป็นตัวตั้งประเทศนั้นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
ช่วงเวลา: เวลา 11.04 น.
ผู้อภิปราย : ชยพล สท้อนดี พรรคก้าวไกล
    - นโยบายปฏิรูปกองทัพ เปลี่ยนเป็น นโยบายพัฒนากองทัพร่วมกัน ที่ดินความมั่นคงของประเทศไทย เร่งรัดออกโฉนดแก้กฎหมายพิสูจน์สิทธิ จัดหาที่ดิน 50 ล้านไร่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ ถูกมองว่าเป็นเจ้าพ่ออสังหาฯ ของประเทศไทย ที่ราชพัสดุทั่วประเทศ รวม 12 ล้านไร่ แบ่ง เป็นกองทัพเรือ-กองทัพอากาศ 1.75 ล้านไร่ กองทัพบก 4.50 ล้านไร่ หน่วยงานรัฐอื่นๆ 5.75 ล้านไร่
- โครงการหนองวัวซอโมเดล 9.276 ล้าน ถึงมือประชาชน 25 ธันวาคม 2566 นายกฯ เผยกองทัพเตรียมพื้นที่คืนให้ประชาชน จากการเปิดหลักฐานชาวบ้านอยู่มาก่อนกองทัพตั้งแต่ พ.ศ.2476 เช่น วัดบ้านหนองแวงยาว สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ก่อนที่ทหารจะเข้ามา
- งบโครงการสร้างหน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาชายฝั่ง จ.ภูเก็ต 721 ล้านบาท กว่า 50% เป็นโครงการก่อสร้างบ้านพัก
- มติประชุมสภา อบต.สาคู 29 สิงหาคม 2565
2557 กองทัพเรือขอใช่พื้นที่ 1,600 ไร่
2560 กองทัพเรือขอเพิ่มที่เป็น 3,000ไร่
2565 สภาอบต.สาคู และเทพกษัตร์ที่ยกเลิกการเห็นชอบ
2566 กองทัพเรือ ได้รับอนุมัติจาก รมว.ทรัพยากรฯ
- ความผิดกิจการหิน สัมปทานกองทัพเรือ ยุติกิจการตั้งแต่ 1 มิ.ย.65 พร้อมกับต้องปรับปรุง ฟื้นฟู สภาพแวดล้อมในเขตประทานบัตรกลับคืนมา
- แสมสาร นายกฯ รับเรื่องเรียกร้องจากประชาชน และใน 6 พ.ย. 66 นายกฯ เรียกร้องหาเรือกับกองทัพเรือ ในวันที่ 13 พ.ย. 66 ปักป้ายคำพิพากษาศาลฎีกาให้ประชาชนออกจากพื้นที่ โดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์สิทธิ์
ช่วงเวลา: 11.31 น.
ผู้อภิปราย : วราวุธ ศิลปะอาชา
รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    ขอชี้แจงกรณีที่ดินในปี 65 ที่ ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต การเช่าพื้นที่ของกองทัพเรือ กว่า 3 พันไร่ โดยใช้เพียงจำนวนหนึ่ง เพื่อความมั่นคงต้องใช้พื้นที่ป่าบริเวณนั้น ขณะที่ พื้นที่ ในจ.ภูเก็ต หลายกลุ่มหมายปอง นายทุนต้องการ โดย ทส.ให้กองทัพเรือเช่าโดยให้ช่วยป้องปกป่ากว่า 3 พันไร่ เพราะพบความพยามบุกรุกพื้นที่ป่า ตามยุทธศาตร์ปี 20 ปี มีพื้นที่สีเขียว  55 % ควบคู่ไปกับการพัฒนา โดยมีหน่วยงานราชการอื่น และเอกชนขอใช้พื้นที่กว่า 1.3 แสนกรณีด้วย ย้ำพิจารณาถึงความจำเป็นและรอบคอบแล้วว่า ใช้ประโยชน์และคุ้มครองพื้นที่ป่าไปด้วย
ช่วงเวลา: 11.33 น.
ผู้อภิปราย : จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.พรรคก้าวไกล


    - เรือหลวงสุโขทัยอับปาง คร่าชีวิต 29 คน พบการเล่นปาหี่กับชีวิตกำลังพล ประชาชนไม่ได้สนุกด้วย จนป่านนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน สาเหตุของการล่ม (15 เดือน) จนสหรัฐฯ มาทำการสำรวจ - ทร.ขอร่วมด้วย กับมีการแถลงข่าว ก็เจอปาหี่ เก็บกู้วัตถุพยาน 5 อย่าง + เสื้อชูชีพ 1 ตัว ใช้ประโยชน์ไม่ได้เลยถึงสาเหตุ ผบ.กองเรือยุทธการ ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ล่าสุดกรรมการบอกว่า ถ่ายรูป 58 จุด ถ่ายรูปมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องกู้เรือขึ้นมาอีก หรือการคืนงบ 19 ล้านทั้ง ๆ ภารกิจยังไม่จบ เป็นความตั้งใจจะไม่กู้เรือ ปาหี่เมื่อมาถึงปีงบประมาณก็ร้องขอ จนเดินสายเจรจาหลายที่เพื่อซื้อใหม่ และพยายามปกปิดเพื่อให้จบเรื่อง และไม่มีการกู้เรือขึ้นมาอีก
- มีปริศนาคาใจหลายประเด็นกรณี เรือหลวงสุโขทัยล่มทั้ง ๆ ที่ไม่มีภารกิจ กระทั่งเจอไอ้โม่ง สั่งการให้เรือเดินทางไปในสภาวะที่ไม่พร้อม ไปที่สัตหีบ ทั้ง ๆ ที่น่าจะหาท่าเรือที่ใกล้เพื่อเร่งช่วยเหลือ หรือกู้เรือ จนเป็นเหตุให้เรือล่มในที่สุด หากตามสายบังคับบัญชาถือเป็นความรับผิดชอบ จาก 3 หน่วยงาน ผู้บังคับบัญชาการทั้ง 3 แห่ง ต้องร่วมรับผิดชอบ แต่กลับไม่มีผลดำเนินการสอบสวนออกมาแต่อย่างไรให้เห็น เรื่องนี้ ถามไปถึง รมว.กลาโหม - นายกฯ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน  
ช่วงเวลา: 12.03 น.
ผู้อภิปราย : สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
    การอภิรายครั้งนี้ เป็นเรื่องเก่า เรื่องเกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ 6-7 เดือนกล่าวหาว่าไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย เรื่องที่อภิปรายมานั้นไม่เกี่ยวข้องเลย ประเด็นเรือล่ม ยังไม่มีการลงโทษ จะลงโทษได้อย่างไรขั้นตอนการสอบสวนยังไม่จบ ซึ่งหากการสอบสวนที่รายงานมาได้ชัดเจนก็จะให้กลับไปสวบใหม่ ซึ่งวันที่ 9 เม.ย. 67 จะทราบผล เรื่องนี้ต้องเอาคนผิดมาลงโทษให้ได้ ไม่มีแพะเด็ดขาด / ประเด็นของท่านวิโรจน์ ท่านอภิปรายเคสเล็กๆ ตามที่ท่านกล่าวสะท้อนโครงสร้างไม่ดี คำตอบคือผมจะแก้ปัญหาที่โครงสร้าง หากผมทำไม่ดีท่านก็แนะนำต่อได้ไปอีก 3 ปี กองทัพจำเป็นต้องมีอยู่ต้องแก้ไขให้เป็นกองทัพคุณภาพ การมาเป็น รมต. ปฏิรูปกองทัพสู้ภัยภัยคุกคามทุกรูปแบบเมื่อเข้ามารับตำแหน่งจะปฏิรูปแต่ก่อนที่จะปฏิรูปต้องเข้าไปดูภายในองก์กรก่อน และพบว่าเขาทำอยู่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ (อดีตนายกฯ) ทำอยู่แล้ว จึงปล่อยให้คนภายในคิดและทำเองก่อน หากไม่ดีจึงนำคนภายนอกไปปฏิรูป ของท่านพูดมาต้องดูให้ชัดว่าปฏิวัติหรือปฏิรูป ผมมองว่าการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบดีที่สุดและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเข้าไปดูแล 
1 ปรับกองทัพลดกำลังพล โดยปิดอัตรา การควบรวมงานภารกิจที่คล้ายกัน การยุบหน่วย /ประเด็นนายพล มีหน้าที่ กำลังหลักมี 2,900 ตำแหน่ง และกลุ่มที่ปรึกษาปี ซึ่งในปี 2571 จะลดเหลือครึ่งหนึ่ง ทำไมไม่ปรับให้หมดคนกลุ่มนี้เข้ามาช่วงมีภัยจากเพื่อนบ้านเมื่อหมดภัยจะให้ปลดเหมือนหมดนาจะฆ่าโคไม่ถูกต้อง มีการการแก้ปัญหาให้สู่โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ยังมีข้อเสนออีกเยอะเวลาไม่พอ
2. ดูแลเรื่องการเกณฑณ์ทหาร ต้องทำให้เป็นการลด ยกเลิกโดยวิธีธรรมชาติ มีหลายประเทศยกเลิก แต่ตอนนี้กลับมารื้อฟื้นการเกณฑ์ทหาร ต้องฝึกฝนให้เด็กเข้าถึงเรื่องความมั่นคง คนที่เป็นทหารเกณฑ์สามารถเรียนต่อได้เลย ตอนนี้เปิดรับทหารเกณฑ์ตอนนี้อย่าเพิ่งนับจำนวนให้ถึงเวลาก่อน ทำได้ดีคนสนใจปีหน้าทำต่อ
3. นำที่ดินของทหารมาให้ประชาชนใช้ประโยชน์ กระทรวงกลาโหมไม่สามารถออกเอกสารสิทธิให้ แต่ให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ ให้ชาวบ้านพิสูจน์สิทธิ์ว่าที่ดินที่ใช้อยู่เป็นของชาวบ้านหรือกลาโหม ต้องทำให้ชัดเจนจะได้ไม่เกิดปัญหา ให้สัญญาเช่าไร่ละ 20 บาท ชาวบ้านแย้งว่าแพงก็ปรับลดให้ การจัดการทำเป็นเฟสๆไป ทำพร้อมกันจะยุ่งยาก
4. ชุดที่ดูแลให้ทหารรับใช้ประชาชนอย่างใกล้ชิด 
5. ชุดที่ดูแลนำกองทัพสมัยใหม่ ไซเบอร์ 
6. ชุดดูแลเรื่องกองทัพทำธุรกิจ ตอนนี้มีจัดระเบียบใหม่แยกสวัสดิการเชิงธุรกิจส่งรายได้ให้รัฐ จ่ายภาษี จ่ายค่าเช่าและสวัสดิการภายในของกองทัพไม่ต้องส่ง  /กิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ แบ่งให้ชาวบ้านใช้ด้วย จึงมีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แต่ตอนนี้ ส่งให้กฟผ. ไปดูแลแล้ว
7 ชุดดูเรื่องการงบประมาณ 
8.ชุดที่ต้องดูแลเรื่องการรายงาน
- โครงการจัดหาเรือฟริเกต ตอนตั้งงบประมาณพยายามลดงบลงเพราะกลัวพรรคก้าวไกลด่า แต่กลายเป็นท่านเชียร์คงงบไว้สนับสนุน การซื้ออาวุธให้พิจารณา 3 ข้อ 1. ให้พิจารณาในประเทศก่อน 2.ให้พิจารณาชิ้นส่วนในประเทศก่อน 3.ซื้อในประเทศไม่ได้ คุณต้องมาสอนเทคโนโลยีให้ด้วย ต่อไปนี้การซื้ออาวุธในประเทศ ๆ ต้องได้ประโยชน์คืนมา
- คำพูดว่า “ขอ” เป็นคำพูดเป็นการสั่งการ เราไม่จำเป็นต้องคำราม 
- ทางกองทัพสนับสนุนผู้ผลิตอาวุธในไทย ผลักดันอุตสาหกรรมในประเทศ สนับสนุนผู้ผลิตอาวุธในไทย มีคณะทำงานด้านนี้ด้วย กระทรวงอุตสาหกรรมกับผมคุยนั่งคุยกัน คนผลิตในไทยเสียภาษีมากกว่าข้างนอก ตอนี้กำลังปรับแก้กันอยู่ คณะทำงานชุดนี้เสนอแนะมาให้มีการสั่งซื้อเป็นขั้นบันได 30/70 และเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี
- การจัดซื้อจัดจ้าง เงินทอน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานาน รัฐบาลชุดนี้เพิ่มมีการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งจะดูแลอย่างดีที่สุด
ช่วงเวลา: 12.49 น.
ผู้อภิปราย : นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

    ชี้แจง กรมธนารักษ์ 
โครงการหนองวัวซอโมเดล 9.276 ล้าน ถึงมือประชาชน 25 ธันวาคม 2566 เบื้องต้นกระทรวงกลาโหม ส่งมอบพื้นที่มายังกรมธนารักษ์ เป็นพื้นที่ขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐ โดยจะใช้กลไกลลักษณะแบบระยะกลางและระยะยาว โดยที่รัฐจะช่วยเหลือทุกอย่าง พูดคุยกับประชาชนเพื่อให้เข้าถึงการเช่า และใช้สิทธิพื้นที่ทำกิน ทำเกษตร ให้เกิดประโยชน์และต่อยอดให้กับประชาชน รวมถึงการหยุดความขัดแย้งให้ประชาชน ทั้งนี้ ระบุ การมอบสิทธิพื้นที่ทำกินของรัฐผ่านกรมธนารักษ์ ไม่ว่าจะเป็นรัฐใดก็ตามที่ส่งคืนมา ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ หรือหน่วยงานใดๆ เพื่อจัดสรรให้กับประชาชน ตั้งเป้าไว้ 10 ล้านไร่ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินอย่างเป็นระบบ

มอนิเตอร์ : นางสาวภัทราวดี สุตะคาน
    มอนิเตอร์ : นางสาวนภัสวรรณ โฆษะ
          บรรณาธิการ : นายบรมบถ เพ็ญสวัสดิ์

ผู้อภิปราย    ประเด็น
ช่วงเวลา: 13.02 น.                   
ผู้อภิปราย : นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล    อภิปรายเรื่องฝุ่นพิษ PM2.5 เป้าหมายและผลลัพธ์ของรัฐบาลแตกต่างกันสิ้นเชิง 
- วิชาที่หนึ่งไฟเกษตร รัฐบาลตั้งเป้าจะลดการเผาสินค้าเกษตร 50% แต่ตัวเลขจากกรมส่งเสริมการเกษตรไม่ลดลงเลย และอ้างอิงจากอ้อยไฟไหม้ มีถึง 24 ล้านตัน พื้นที่ 1.5 ล้านไร่ โดยรายงานระบุชัดเจน จำนวนอ้อยไฟไหม้ลดลงไม่ถึง 3% ซึ่งนายกฯ            ไม่ตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม งบประมาณงบกลางไม่มีเม็ดเงินมาลงในภาคการเกษตรเลย จึงทำให้ผลงานไม่เปลี่ยนจากรัฐบาลที่แล้ว
- วิชาการที่สอง ไฟป่า เชียงใหม่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ มีการเน้นย้ำว่าสามารถลดจุดฮอทสปอตลงได้ 10% จาก 50% ทั้งนี้ ในพื้นที่เชียงใหม่มีการแบ่งเขตป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ โดยภารกิจไฟป่าสงวนฯ ถูกโอนงบประมาณไป อปท. ทั้งหมด ซึ่งท้องถิ่นได้ของบประมาณ 1,709 ล้านบาท แต่ได้รับเพียง 50 ล้าน งบกลางไม่ถูกนำไปช่วยท้องถิ่น ทำให้ผลลัพธ์จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก และแม่ฮ่องสอน มีจุดความร้อนเพิ่มขึ้นจากปี 66 ดังนั้น การเตรียมการรับมือกับปัญหาไม่มีเลย  กรมอุทยานฯมีพื้นที่กว่าหนึ่งแสนไร่ แต่มีเจ้าหน้าที่ดับไฟเพียง 30 กว่าคน อุปกรณ์ไม่เพียงพอ หากมีอุปกรณ์ชำรุดเจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินซ่อมเอง ขณะที่พื้นที่ป่าสงวนฯได้ถูกรับโอนจากกรมป่าไม้ มายัง อปท. ทำให้งบประมาณมีไม่เพียงพอในการจัดการ               ทั้งนี้ การตอบคำถามของ รมว.ทรัพยากรฯ เรื่องไฟป่าต่อสื่อมวลชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างไร ซึ่งตอบว่าขณะนี้ฝนตก         ฝุ่นไม่มีแล้ว ให้พึ่งพาธรรมชาติ
- วิชาที่สาม ฝุ่นพิษข้ามพรมแดน ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านมีการเผาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยประเทศไทยมีการส่งออกเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม่ต่ำกว่า 1.4 หมื่นตัน มูลค่ามากกว่า 38 ยูเอสดอลล่าต่อปี ครอบคลุมพื้นที่การปลูกว่า 5 ล้านไร่ ในประเทศเพื่อนบ้านไม่ต่ำกว่า 2.2 ล้านไร่ ผลผลิต 2 ล้านตัน และประเทศไทยต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน 90% นำเข้าจากเมียนมาร์ ทุกปีเดือน กพ.-ส.ค. มีโปรโมชั่นแบบปลอดภาษี ทั้งที่พบว่าเมียนมาร์มีจุดเผากว่า หนึ่งแสนกว่าจุด พื้นที่ป่าในประเทศมียนมาร์ถูกเปลี่ยนไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กว่าล้านไร่ จากประเด็นปัญหานี้ นายกฯ รู้ตัวช้าไป 6 เดือนหรือแกล้งลืม เนื่องจากถึงจะมีมาตรการในการแก้ไข แต่ล่าสุดก็เปลี่ยนแปลงอีกครั้งว่าต้องชะลอมาตรการไปก่อน ให้รอ พ.ร.บ.อากาศสะอาดไปก่อน   เพราะอาจผิดหลักเกณฑ์ของ WTO ซึ่งสาเหตุที่ไม่สามารถทำได้คือการปฏิบัติในประเทศอย่างไร ต้องปฏิบัติกับต่างประเทศเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไทยมีมาตรการที่สามารถทำได้ทันที
- การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปลอดภาษี ต้องนำเอกสารรับรองการนำเข้า หนังสือรับรองข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่เป็นอันตราย           แต่รัฐบาลชุดที่แล้วไม่มีมาตรการชัดเจน ดังที่เคยเสนอไปก่อนที่เอกสารจะหมดอายุ ได้มีการเสนอแนะว่า ในประกาศฉบับใหม่ ควรระบุแปลงพิกัดของแปลงปลูก เพื่อสะท้อนย้อนกลับไปยังพื้นที่ปลูก ดังเช่นที่หลักเกณฑ์การปฏิบัติในประเทศและต่างประเทศ ดังเช่น หากเกษตรกรไทยต้องการสิทธิพิเศษจากภาครัฐต้องทำอย่างไร อย่างแรกคือการลงทะเบียนเกษตรกร ต้องระบุว่าปลูกอะไร มีพิกัดตรงไหน ดังนั้น หากไม่เพิ่มประกาศเรื่องนี้ไป เท่ากับว่ามีการเลือกปฏิบัติกับเกษตรกรไทยอย่างไม่เป็นธรรม             และได้ขอเพิ่มหนังสือรับรองข้าวโพดไม่เป็นอันตราย แต่ไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้พบว่า ประกาศนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2566 เหมือนปี 2563ต่างกันที่ปีบังคับใช้และผู้ลงนามประกาศใช้ คือ นายภูมิธรรม เวชยชัย "เรากำลังกังวลกับผลประโยชน์นายทุน            จนเลือกปฏบัติกับเกษตรไทยอย่างไม่เป็นธรรม" ขณะที่เกษตรกรไทยอยากได้สิทธิพิเศษ ต้องทำหลายขั้นตอนเพื่อให้รับตรวจสอบย้อนกลับได้ แต่ต่างประเทศหากอยากนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่ต้องทำอะไรเลย สำหรับใน ปี 67 การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรับบาลชุดนี้ขอเพียงแค่ มีการตรวจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าปลอดศัตรูพืช ผ่านกระบวนการรมยากำจัดศัตรูพืช ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับความปลอดภัย ทั้งนี้ ข้อตกลงการนำเข้าสินค้าอาเซียน มีข้อยกเว้นสำหรับการไม่นำเข้าสินค้า คือ 1. เกิดการเลือกปฏิบัติ 2. เลือกปฏิบัติกับประเทศที่มีการดำเนินการเหมือนกัน และ 3. หากมีการกีดกันทางการค้าแอบแฝง และไม่มีเนื้อหาใดที่จะห้ามประเทศสมาชิกบังคับใช้ข้อยกเว้น ดังนั้น ไทยสามารถห้ามการนำเข้าได้ คือ ความจำเป็นปกป้องชีวิต คน สัตว์และพืช ซึ่งอยู่ในประกาศการนำเข้าของไทยแล้ว รัฐบาลสามารถประกาศห้ามนำเข้าพืชที่มาจากการเผา แต่รัฐบาลไม่เคยตีความว่ากระทบต่อคนในประเทศ ควรห้ามนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรการห้ามเผาพื้นที่ 66 จังหวัด และ 11 จังหวัดไม่ได้ปลูกข้าวโพด ปีนี้รัฐบาลสามารถประกาศมาตรการให้เกษตรกรทำได้เลย และปีนี้รัฐขอความร่วมมือไม่ซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรที่มีการเผา แต่ทำไมไม่สามารถยกเลิกนะเข้าสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เผาจากต่างประเทศได้ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกับคนในประเทศ ในขณะที่นายทุนใหญ่สามารถส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปปลูกที่ต่างประเทศ และนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปลอดภาษีกลับเข้าสู่ประเทศได้
- วิชาสุดท้าย การประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ PM2.5 นายกฯ ให้สัมภาษณ์ว่าประกาศไม่ได้ เนื่องจากจะกระทบกับการท่องเที่ยว           ส่วนที่สองกระทรวงทรัพยากรฯ ได้กำหนดไว้ว่า หากมีค่า PM2.5 พุ่งสูงเกิน จะต้องประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ แต่บางจังหวัด                 ไม่มีอุปกรณ์ตรวจวัด ส่วนที่สามคือการแก้ระเบียบ จัดหาแนวทางและการแก้ไข 
- การสร้างความตระหนัก แจ้งเตือน SMS Alert แจ้งเตือนค่า PM2.5 มีการประกาศไว้ก็ไม่พบการแจ้งเตือน

ช่วงเวลา: 13.30 น.
ผู้อภิปราย : นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมต.ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์    ตอบข้อซักถามนายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์
- กระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชน และให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจโดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่เป็นปัญหา PM 2.5 นายกฯ ให้ความสำคัญ และเข้าหารือที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในประเด็น   ห้ามนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเมียนมาร์เข้าสู่ประเทศไทยได้หรือไม่
 - การพิจารณาเรื่องของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านและไม่นำเข้าสู่ประเทศไทยต้องมองในทุก ๆ ด้าน ในหลายมิติ ทุกประเด็น ข้อตกลง WTO หรือ ATIGA ข้อตกลงในอาเซียนหรือไม่ และเข้าสู่เงื่อนไขข้อยกเว้นหรือไม่นี่คือประเด็นที่จะพิจารณา
- การปฏิบัติกับประเทศใดต้องปฏิบัติกับประเทศตัวเองเยี่ยงนั้น กรณี PM 2.5 และการเผาไหม้ การห้ามข้าวโพดประเทศเพื่อนบ้าน เข้าสู่ประเทศไทย ก็ต้องห้ามในประเทศไทยด้วย แต่ประเทศไทยยังไม่ห้ามแค่ขอความร่วมมือ และมีเพียงกฎหมายอาญาเท่านั้น ถ้าหากมีการเผาไหม้และมีผลกระทบต่อชีวิตจะมีโทษทางอาญา
แต่พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด เข้าสู่สภาเราใช้ความร่วมมือ ควรเผาช่วงไหนไม่กระทบต่อพื้นที่ส่วนอื่นในช่วงที่ความกดอากาศ ไม่มีกระแสลม 
- การบังคับประเทศเพื่อนบ้านผิดหลักของ WTO หรือ ATIGA ถ้าหากสิ่งนั้นกระทบต่อชีวิต ผู้คน เราสามารถกำหนดได้และ           ไม่ถือ เป็นการกีดกันทางการค้า 
- ป่าสงวนว่า PM 2.5 นั้นส่วนหนึ่งเกิดจากประเทศไทย จากข้อมูลสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอากาศและภูมิศาสตร์ สารสนเทศองค์กรมหาชนหรือ Gisda ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยนวัตกรรมของ อว.เป็นข้อมูลที่เปิดเผย ประเทศไทยก็มีจุดเผาไหม้ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเดือนมกราคมเรามีส่วนร่วมในการเผาป่าอยู่ประมาณ 10% เดือนกุมภาพันธ์ 20% เดือนมีนาคม 18% นี่คือการเผาไม่รวมการเผาไหม้จากรถยนต์ ไม่รวม PM 2.5 ที่เกิดจากการก่อสร้าง ไม่รวมกับโรงงานในประเทศไทยเพราะฉะนั้นประเทศไทยมีส่วนร่วมให้เกิด PM 2.5 ไม่น้อยกว่า 20%
- กรณีห้ามนำเข้าบุหรี่จากต่างประเทศ บุหรี่ต่างประเทศมีสารที่เป็นพิษมากกว่าบุหรี่ประเทศไทย เราได้ถูกฟ้อง WTO                  เมื่อปี 2533 WTO ตัดสินว่าประเทศไทยนั้นกีดกันทางการค้า ข้อยกเว้นนี้ไม่ได้ เพราะบุหรี่ในประเทศไทยก็มีสารทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่แตกต่างอะไรจากต่างประเทศ เราไม่สามารถนำข้อยกเว้นมาใช้กับประเทศเพื่อนบ้านได้นี่คือประเด็นแรก
- ประเด็นที่ 2 ถ้าใช้มาตรการแก้ PM 2.5 ได้จริงหรือเปล่า เราประกาศไม่ให้ประเทศเมียนมาร์นำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เข้าสู่ประเทศไทย ไม่มีมาตรการในการป้องกันกีดกันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมียนมาร์ไม่มีข้อห้ามอันนี้ถ้าเราห้าม แน่นอนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหล่านี้จะเข้าสู่ประเทศจีน ถึงแม้ว่าราคาจะลดลงมาบ้างเพราะขาดคู่แข่ง แต่สามารถขายได้ ที่สำคัญเกษตรกรจะลดการเผาไหม ถึงแม้เราจะห้ามนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต่างประเทศก็ขายสู่ประเทศจีนและยังเผาเช่นเดิมไม่มีการลด PM 2.5 ที่พักเขาสู่ประเทศไทย
- การแก้ไขความดีต้องเป็นมติของอาเซียนไม่ใช่ประเทศไทยเป็นผู้กำหนด การรับรองสินค้าที่เข้ามามีอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่
- หลักฐานของกรมวิชาการเกษตร ตรวจสอบข้าวโพดมีเชื้อราไหม มีสารเคมีเจือปนหรือไม่ นี่คือหลักฐานในการตรวจสินค้า          แต่ละชนิด แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้าวโพดซึ่งเก็บก่อนเผา จะพิสูจน์นั้นหลังจากเก็บแล้วเผา
- ประเทศไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 8 ล้านตัน เราผลิตได้ 5 ล้านตันต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถ้าเราไม่ให้ประเทศเมียนมานำเข้า ก็ต้องใช้กับประเทศลาว กฎหมายเช่นนี้ต้องใช้กับทุกประเทศทั่วโลกที่เราทำข้อตกลง
ถ้าจะผลักดันให้เกษตรกรไม่ขาดทุนค่าครองชีพสูงขึ้นแน่นอน
- ประเด็นแรกเราไม่สามารถทำได้เพราะขัดต่อระเบียบของ WTO หรือ ATIGA  ประเด็นที่ 2 ถ้าเราประกาศก็ไม่สามารถแก้ไข PM 2.5 ที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยได้เพราะประเทศเพื่อนบ้านก็ยังเผาอยู่ เพราะลดต้นทุนของการเพาะปลูก 3 ผลกระทบเกิดขึ้นจากประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตอบโต้ทางการค้า ต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นกระทบต่อค่าครองชีพ
- การตั้งโรงงานชีวมวลใบอ้อยเป็นพลังงาน ของพลังงานชีวมวล ที่จังหวัดกาญจนบุรี รับซื้อตลับ 1,200 บาท เราต้องพัฒนาแก้ปัญหากลับมาที่ต้นเหตุและควบคู่ไปกับเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนี่คือสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์พยายามดำเนินการและทำอยู่
ช่วงเวลา: 13.57 น.
ผู้อภิปราย : นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังสังคมใหม่    อภิปรายมีแต่เรื่องอดีต ปัจจุบันมีนิดเดียวซ้ำซากเรื่องเดิม ๆ วันนี้ขอสนับสนุนรัฐมนตรีปัจจุบัน ในการบริหารภายใต้รัฐบาลเศรษฐาฯ เป็นนายกฯ ที่ขยันที่สุด การเริ่มต้นของรัฐบาล 6 เดือนไม่ได้ทำอย่างเต็มที่ แต่พอมาตอนนี้เริ่มดีขึ้น ทั้งการแก้ปัญหาหนี้สินด้านการเกษตร รายละ 3 แสนบาทน้อยไป ส่วนมากจะเกิน 3 แสนบาท อยากให้เพิ่มเกิน 3 แสนบาท
- สำหรับหนี้ กยศ. ให้กำหนดจำนวนงวดจ่ายเป็นก้อน เป็นต้น นักศึกษาจะได้ผ่อนหนี้เบาลง
- การลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน รถไฟฟ้า 20 บาท ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน 
- ขอส่งเสริมนโยบายการนำเข้ายางพารา
ช่วงเวลา: 14.05 น.
ผู้อภิปราย : สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล    - ผลงานกระทรวงพาณิชย์ ประเด็นการส่งออกและประเด็นการใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA กระทรวงพาณิชย์มาชี้แจงผลงานของรัฐบาลในส่วนของการส่งออก เดือนกันยายนถึงธันวาคมปีที่แล้ว โดยชี้แจงว่าการส่งออกของไทยเติบโตต่อเนื่อง การส่งออกของไทยฟื้นตัวจริง แต่ฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศอื่น ๆ อาทิ เวียดนาม ไต้หวันและเกาหลีใต้
การใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA เราส่งออกรวมปี 64 - 78% ปี 65 82.11% ปี 66 82.31%  สัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA แสดงว่าเราใช้สิทธิประโยชน์ 80% รวม 100 บาท ประเทศไทยใช้สิทธิประโยชน์ 80 บาท มูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับประโยชน์ต่างกัน ถ้ามูลค่าสินค้าที่ได้รับประโยชน์มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- การส่งออกรวมที่ท่านรัฐมนตรีเอามาใช้เทียบกับการส่งออกเฉพาะสินค้าที่รับประโยชน์ตัวหาร ต่างกันมันน้อยกว่าเยอะสัดส่วน   ที่ท่านนำมาแสดงมันสูง การใช้ค่าแบบนั้นมาแสดงความสามารถของไทยหรือของรัฐบาลในการเจรจาลดภาษีสินค้าที่เรามีโอกาสได้เฉพาะต่อให้จะกลับมาแล้วท่านบอกใช้ประโยชน์ได้ 90% มันก็ไม่ได้การันตีว่าประเทศได้ประโยชน์ ส่งผลให้ท่านไม่กระตือรือร้นในการเจรจาปรับปรุงความตกลงที่มีอยู่ให้ดีขึ้น วิธีการคำนวนต้องเข้าใจที่มาของข้อมูลจากสภาพจริง การค้าระหว่างประเทศระหว่างไทยกับคู่ค้าจริง ๆ หรือในวันที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกเศรษฐา ทวีสิน เปิดการเจรจา พรรคก้าวไกลทุกคนสนับสนุน เห็นด้วยในการใช้จ่าย คุ้มค่ากับทรัพยากรประเทศ ที่เสียไป ความคุ้มค่ากับความเหนื่อยยากของพี่น้องประชาชน 
- ประเทศเราจะได้ประโยชน์จากการไปเซ็น FTA ประเทศเรามีสินค้าอีกมากมาย ซึ่งที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่เพื่อไทย แต่เป็นเพื่อ     ชาวไทยทุกคน
ช่วงเวลา: 14.13 น.
ผู้อภิปราย : เบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
    ประเด็นซักถามเรื่อง รัฐบาลไทยเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนหรือไม่ คดีเมืองทองอัครา รัฐบาลนี้จะจัดการอย่างไรกับรัฐบาลที่ผ่านมา
- ตั้งแต่เปิดดำเนินการเหมืองอัครา ชาวบ้านได้ร้องเรียนเรื่องความเดือดร้อนแต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ขณะที่บริษัทอัครา               ได้ยื่นเรื่องสำรวจอาชญาบัตรพิเศษในปี 2549 อย่างไรก็ตามชาวบ้านในพื้นที่พบอาการป่วย มีสารปนเปื้อนต่าง ๆ ในร่างกาย เลือด และหลังการรัฐประหาร 2557 มีการหยุดกิจการโดยใช้มาตรา 44 ปิดเหมืองทอง ทำให้บริษัทเรียกร้องค่าเสียหายจาก          การหยุดกิจการจากรัฐบาลในขณะนั้น ทั้งนี้ มองว่ารัฐบาลในขณะนั้นอาจมีความห่วงใยประชาชน ซึ่งจริง ๆ แล้วหลาย ๆ พื้นที่ทางภาคเหนือ เช่น เหมืองแม่เมาะ ก็เกิดผลกระทบเช่นเดียวกันแต่ก็ไม่เคยถูกสั่งปิด อีกทั้ง รัฐบาลในขณะนั้นอยู่ในคณะกรรมการจัดการแร่ต่าง ๆ ทำให้มีคนพร้อมเข้าหาเพื่อผลประโยชน์ต่าง ๆ
- ทำไมรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา จึงมอบตำแหน่งให้คนในรัฐบาลที่แล้ว บางท่านไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายจัดการแร่แห่งชาติ มองว่าตอนที่เป็นฝ่ายค้านมีความขึงขังต้องการจัดการ แต่พอเป็นรัฐบาลกลับไม่ดำเนินการ โดยพบว่ามีการเอื้อกลุ่มนายทุน จากอดีต รมว.อุตสาหกรรม ในรัฐบาลเพื่อไทยสมัยคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพบว่ามีความเกี่ยวโยงและเอื้อกันอย่างแนบแน่น
- 4 ปี แล้วพบว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการ ยังไม่มีผลออกมา  ขณะที่พบว่าอดีต รมว.อุตสาหกรรม ได้เอื้อประโยชน์ต่อนายทุน โดยพบว่ามีการนำสินแร่จำนวนหนึ่งออกไปขาย และอนุมัติออกอาชญาบัตรพิเศษจากแปลงในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย รวมทั้งต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำอีก 10 ปี 
- นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้บินไปเจรจากับบริษัทคิงเกต และกล่าวว่าการไปพูดคุยนั้น เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศ การเข้าไปพูดคุยครั้งนั้นมีนัยยะอะไร เพราะหลังจากนั้นคิงเกตได้ประกาศว่า บริษัทได้รับการยกเว้นสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นการเอื้อกลุ่มประโยชน์ต่อกลุ่มทุนหรือไม่ รวมทั้งในการเจรจายุติ นายสุริยะ ได้ไปพูดคุยเพื่อเลื่อนคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการออกไปหรือไม่ เพราะนำคดีของตนเองไปแลก ขอให้ตอบคำถามนี้
- ข้อซักถามรัฐบาลเศรษฐา คือ
1. รมว.อุตสาหกรรมปัจจุบัน จะแก้ปัญหาและหาทางออกกับกรณีเหมืองทองอัคราอย่างไร
2. เหตุใด นายสุริยะ จึงต้องเลื่อนคำสั่งคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการออกไป 
3. นายกฯ เศรษฐา จะจัดการกับพลเอกประยุทธ์และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอย่างไร
ช่วงเวลา: 14.46 น.
ผู้อภิปราย : นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ 
    - รัฐธรรมนูญมาตรา 164 ด้วยอำนาจด้วยความซื่อสัตย์ เปิดเผยและมีความรอบคอบ ระมัดระวังในการดำเนินกิจการต่าง ๆ           เพื่อประโยชน์อันสูงสุดของประเทศและประชาชนส่วนรวม
-  ว่าด้วยวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามหลักการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สร้างเสริมให้ทุกภาคส่วน           ในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรม ผาสุกสามัคคีปรองดองกัน
- รัฐมนตรีรับผิดชอบสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภา              ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี
- พื้นฐานการใช้สิทธิในการตรวจสอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จุดอ่อนในเรื่องของความบริสุทธิ์ยุติธรรม เรื่องความสุจริต             ขอพี่น้องประชาชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมประชาธิปไตยให้รุ่งเรืองด้วยมาตรการการใช้สิทธิในการเลือกคนดี
- รัฐบาลที่ไม่มีการทุจริตโกงกินถือเป็นความเจริญก้าวหน้าประชาธิปไตย ที่แท้จริงในประเทศชาติของเรา จนวันนี้ 90 กว่าปีแล้ว
- ประเด็นราคายางพารา ยางราคาตก พี่น้องสวนยางไม่ใช่มีเฉพาะจังหวัดภาคใต้ ทางฝั่งตะวันออก ชลบุรี ระยอง ตราดเท่านั้น    77 จังหวัดของประเทศไทย รวมทั้งกรุงเทพฯ มีคนปลูกยางแล้ว 69 จังหวัด
มี 1,700,000 ครัวเรือนที่มีโฉนด ขอให้กระทรวงการคลังทบทวนการเก็บภาษีส่งออก เรื่องการลดอัตราอากรศุลกากร                       และการกำหนดให้ไม่ต้องเสียอากรศุลกากร
- เรื่องของผลผลิตอุปสงค์อุปทาน demand supply เมื่อผลผลิตน้อยความต้องการสูง ราคาก็สูง กรณีนี้เป็นเรื่องเศรษฐกิจเบื้องต้นที่ทุกคนก็รู้ อุปสงค์กำหนดพืชผลเกือบทุกชนิด ชาวสวนยางทั่วประเทศขอให้ยอดราคาดีตลอดไป ถ้าสิ่งที่นายกฯ พูดเป็นเรื่องจริง เมื่อปรับยางเถื่อนแล้วราคาจะดี ไม่เกี่ยวกับอุปสงค์อุปทานไม่เกี่ยวกับผลผลิตที่มากน้อยถ้าเป็นจริงก็จะดี 
1. ท่านคิดว่ายางราคาจะดีอย่างนี้ตลอดไปใช่หรือไม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์ อุปทานในอนาคต 
2. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น คืออุปสงค์อุปทาน วันหนึ่งข้างหน้าเมื่อมันเปลี่ยนแปลงด้วยผลผลิต และความต้องการที่ทำให้ยางราคาตก รัฐบาลมีวิธีป้องกันราคา อยากให้ชาวบ้านชาวสวนยางอยู่ได้ด้วยราคายางไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่ รัฐบาลที่แล้วก็ทำประกันรายได้โดยกำหนดยางดิบกิโลกรัมละ 60 บาท ถ้าต่ำกว่า 60 บาท ชดเชยให ใช้เงินไปเป็นหมื่นล้านบาท เพื่อชดเชย แต่นั่นให้ประโยชน์กับชาวสวนยาง รัฐบาลจะมีมาตรการและกำหนดตัวเลขว่าชาวสวนยาง ถ้าเกิดภาวะอุปสงค์อุปทานเปลี่ยนแปลง คุณจะได้ราคาไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่
- ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความผิดพลาดจากนโยบายในอดีตทำให้สูญเสีย ชีวิตคน ตัวเลขของผู้เสียชีวิต ผู้เสียชีวิตสะสม รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ เราจะมีมาตรการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างไรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่จำเป็น เรามีโครงการที่แก้ปัญหา 3 ประเทศหรือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือ ที่จะแก้ปัญหาความไม่สงบร่วมกันโดย ทำธุรกิจร่วมกันเพื่อให้ฐานะของพี่น้องมีเศรษฐกิจดีขึ้น การเข้าใจเข้าถึงพัฒนา ที่พระองค์ท่านรับสั่ง ฃควรศึกษาให้ถ่องแท้ว่าเหตุคืออะไร ถ้าเราไม่รู้เราจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
- คนเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ลงพื้นที่ภาคใต้ 3 วัน 2 คืน ตนไม่เห็นมีใครใส่เสื้อเกราะหรือทหารใส่รถถังเพราะมั่นใจว่าไปด้วยเจตนารมณ์ ด้วยความตั้งใจจริงเพราะพรรคเพื่อไทยไม่มี สส. ที่นั่น ขออย่าไปเชื่อ วาทกรรมที่ผู้นำบางท่านพูดว่าเพื่อไทยไม่เคยให้ความสำคัญกับภาคใต้ สนามบินจังหวัดภูเก็ตพรรคเพื่อไทย ไม่มี ส.ส แต่ลงทุนไปหลายหมื่นล้านบาท ขอฝาก ท่านนายกฯ                 เมื่อเป็นนายก อย่าไปคิดว่ามี สส.เพื่อไทยอยู่หรือไม่
- ภูเก็ตเป็นเมืองที่ทำรายได้ท่องเที่ยวอันดับ 1 ของจังหวัดรองจากกรุงเทพฯ เราต้องช่วยพัฒนา
- เรื่องนโยบายรัฐบาล จะสร้างความชอบธรรมและจัดการแผ่นดิน ในระบอบประชาธิปไตย ที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศเพราะการมีหลักยุติธรรมที่น่าเชื่อถือเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางความคิดและสังคม           ที่สำคัญของประเทศ ประเทศไทยมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือที่ใช้งบประมาณของรัฐน้อยที่สุด
- เรื่องการปฏิบัตินักโทษ ปัญหาได้มีการเลือกปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งความจริงได้ละเลยไม่ให้เกิดความถูกต้องความเสมอภาค รัฐบาล จะแก้ปัญหาอย่างไร เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ คำกล่าวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราทุกคนที่มีหน้าที่แตกต่างกันไป ต้องยึดหลักของความชอบธรรมถูกต้อง จากนิติธรรมเป็นหนึ่งในหลักกฎหมาย
ช่วงเวลา: 15.34 น.
ผู้อภิปราย : นายรอมฎอม ปันจอร์ สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล    - เน้นหนักไปที่การดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องในชายแดนภาคใต้รัฐบาลชุดนี้เข้ามาทำหน้าที่
- หัวข้อสันติภาพบอบบางนิติธรรมปวกเปียกและภาวะการนำบกพร่องของนายกเศรษฐาฯ มาในช่วงเวลาที่สุกงอม ผ่านช่วงเวลา ที่นับกฎหมายสำคัญ ถ้านับตอนนั้น 20 ปีเป็นปัญหาระดับชาติที่ยืดเยื้อเรื้อรังมานาน
- 2 ทศวรรษที่ผ่านมาเราเคยเจอปัญหาคล้าย ๆ กันแบบนี้ แต่ยุติไปช่วงสงครามการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อ 40 ปีก่อนแต่ตอนนี้ไม่มีวี่แววว่าจะยุติ 
- การทำงานของนายกฯ และ ครม. ชุดนี้ประเทศไทยกำลังสูญเสียโอกาสสำคัญในความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ปัตตานี               นายกฯ คนนี้ไม่มุ่งมั่น ไม่แน่วแน่ ไม่มั่นคงมากพอที่จะยุติความรุนแรงและสร้างสันติภาพด้วยแนวทางทางการเมือง สัญญาณ ความรุนแรงกลับมาเตือนเราอยู่เสมอ 2 - 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการก่อเหตุหลาย 10 จุดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความหมายเชื่อมโยงถึงเหตุการณ์เดือนรอมฎอนในวันที่ 11 ตากใบ การสื่อสารด้วยการใช้กำลัง
- ถ้าเรายังไม่มีพื้นที่ในการสื่อสารมากพอสัญญาณแบบนี้เป็นสัญญาณเตือนเราและสังคมไทยจะตั้งคำถามว่ากระบวนการในวันนี้จะประสบปัญหาหรือไม่ แต่ปัญหาของตัวท่านเองเป็นเรื่องใหญ่ ตั้งต้นสัญญาที่ให้ไว้ของท่านในคำแถลงเมื่อวันที่ 11 กันยายน      ถึงหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง เรื่องที่ซีเรียสเป็นปัญหาทางการเมืองจะเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คน 7,500 กว่าท่าน และเกี่ยวข้องกับความตายความเป็นความอยู่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเราใช้งบประมาณไป 500,000 ล้านบาท 
- เรื่องที่สำคัญที่สุดคือสะท้อนภาพการทำงานของนายกฯ และรัฐมนตรี คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ในการลงพื้นที่วันที่ 27 - 29 กุมภาพันธ์ลงพื้นที่ 3 วัน 2 คืน มี 3 - 4 เรื่องที่สะท้อนคือ 1 legacy มรดกตกทอดนายกฯยิ่งลักษณ์ในอดีตและ BRN เพื่อริเริ่มพูดคุยสันติสุข แต่มาในภาพทางขวาไม่ได้ตั้งใจที่จะพูดถึงเรื่องนั้นไม่จงใจที่จะพูดหรือกลบเกลื่อนเรื่องนี้
- ภาพซ้ายตอนนายกฯ มาด่านหาย แต่พอนายกฯ กลับ มีด่านกลับมาเหมือนเดิม อยากให้นายกฯ มาอยู่ที่นี่เลย ด่านจะได้ไม่มี        ดูเหมือนกลายเป็นเรื่องเล็กลงมา ท่านลงมาเรื่องเศรษฐกิจ แต่มีผู้ติดอาวุธอยู่ 50,000 นาย ท่านต้องมองเห็นด้วยว่าเงื่อนไขของพื้นที่เป็นอย่างนี้ เราอยู่ภายใต้มาตรการควบคุม จับจ้องสอดส่องดูแลชีวิตประชาชนโดยตลอด ด่านเป็นสัญลักษณ์วิธีคิดของทหารที่ครอบงำชีวิตของประชาชน 2,300 กว่าจุด ท่านทราบหรือเปล่า 
- นายกฯ ที่พูดและจงใจจะไม่พูด ท่านไม่ค่อยพูดเรื่องความยุติธรรม ท่านบอกจะไม่พูดเรื่องความมั่นคงและการทะเลาะเบาะแว้ง อันนี้ที่ท่านให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนและท่านเห็นถึงปัญหาหรือความขัดแย้ง ท่านบอกให้เราลืมอดีต และอ้างว่าจะเข้าสู่เดือนรอมฎอนถือศีลอดของชาวมุสลิม เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็จะเข้าพิธีรอมฎอนแล้วต้องมีความอดทนถือศีลอดก็ขอให้เป็นการยกโทษ      ให้กันและกันและเดินหน้าต่อไป 
- คำถาม คือ จะให้เราลืมอดีตอะไร จะให้ประชาชนไว้วางใจรัฐบาล และท่านอ้างเดือนรอมฎอนด้วย และเรียกร้องให้เราต้องให้อภัยต้องยกโทษ โดยที่เราไม่รู้ต้องยกโทษให้ใครใช่หรือ ไม่ว่าท่านกำลังหมายถึงเหตุการณ์ตากใบหรือหลายเหตุการณ์ที่ผู้คนล้มตายบาดเจ็บ และท่านถือดีอะไรถึงอ้างเดือนรอมฎอนให้คนให้อภัยท่านให้อภัยต่อรัฐ
- โดยสรุปเลยคือ สิ่งที่นายกรัฐมนตรีสะท้อนออกมาในการลงพื้นที่ 3 - 4 วันนั้นและการพูดหรือไม่พูด ถ้าไม่เห็นเลยว่าจะเป็นหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งตรงไหน อย่างไร
- และไปดูรายละเอียดงบประมาณปี 67 ที่เพิ่งผ่านไปก็ไม่ได้เห็นว่าแนวคิด แนวทางนโยบายที่ท่านพูด ท่านแสดงออกในพื้นที่เหล่านั้น เน้นย้ำนักหนาจะมีตรงไหน จะสร้างภาพจำใหม่ สะท้อนเศรษฐกิจ แต่ท่านต้องไม่ลืมว่าเรามีปัญหาทางการเมือง
- การเลือกตั้งปี 66 เราคาดหวังมาก คาดหวังการเปลี่ยนแปลง คาดหวังการนำมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงในชายแดนภาคใต้ แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความกล้าหาญทางการเมือง เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความใส่ใจ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เจอนิติธรรมที่ปวกเปียก คือเรื่องการประกาศใช้กฎหมายพิเศษ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐบาลชุดนี้ต่อมาแล้ว 3 ครั้งอีก 15 วันจะดูว่าจะต่อหรือเปล่าครั้งที่ 4 ต่อเนื่องมาจากปี 48 แต่การต่ออายุการขยายอายุของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน น่าสนใจที่สุด คือรัฐบาลชุดนี้ครั้งแรกขยาย 1 เดือน ถัดมาขยาย 3 เดือน คือตอนแรกจะไม่รู้จะเอายังไงยังไม่มีทิศทาง ยังไม่แน่ใจว่าจะเอายังไง
- สถานการณ์ฉุกเฉินเก้ ๆ กัง ๆ ไม่ต้องพูดถึงกฎอัยการศึก ไม่แตะเลยจริง ๆ เป็นข้อเรียกร้อง กองทัพร่วมรัฐบาลด้วย หลายพรรคจะยกเลิกแต่ดูเหมือนไม่มีใครแตะอะไรเลย ไม่ต้องพูดถึงกฎหมาย กอ.รมน. อยู่ในแฟ้มของท่านอยู่ เซ็นรับรองกลับมาที่สภาแห่งนี้ ที่สำคัญที่สุดคือ ครบรอบเหตุการณ์ตากใบ ในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ อายุความถอยหลังกลับไปเรื่อย ๆ มีความพยายามจะให้รื้อฟื้น        มีการทวงถามในกรรมาธิการกฎหมายอยู่หลายครั้ง โดยทราบว่าสำนวนหายไป และล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการชี้แจงว่า        ในคดีเดิมสำนวนเหล่านั้นถูกงดให้มีการสอบสวน และล่าสุดวันที่ 25 มกราคมหนองจิกก็รื้อฟื้นมาอีกรอบ แต่ดูเหมือนว่าคดีแบบนี้เงียบมาก เรื่องใหญ่ขนาดนี้ดูเหมือนนายกรัฐมนตรีทราบหรือเปล่า 
- นายอับบา อิบราฮิมได้อัพเดทเรื่องความยุติธรรมของคดีตากใบให้นายกฯ ทราบหรือเปล่า แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ชาวบ้านเจอ     ไม่แน่ใจว่าหน่วยงานจะเอาจริงหรือเปล่า จะแน่ใจได้ยังไง ตอนนี้ทราบว่ามีการเตรียมที่จะยื่นฟ้องคดีอาญาผู้ที่เสียหายโดยตรง ต้องรอลุ้นอีกไม่กี่วันแต่อย่างไรก็ตามคนก็ไม่พยายามที่จะลืมอดีตเหล่านั้นเรามีวุฒิภาวะที่จะจำเก็บไว้เป็นบทเรียนและ                   จะไม่เกิดขึ้น อีกนี่คือความพยายามเขียนหนังสือระดมถามความเห็น ถามความทรงจำของผู้ที่มีความสูญเสียขอยื่นหนังสือประกอบนิทรรศการให้นายกรัฐมนตรี
- การใช้นิติสงครามยังทำงานอยู่การฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อน ๆ แต่งชุดมาลายู ในช่วงเดือน 2 เดือนที่ผ่านมามีการเรียกดำเนินคดีกับนักกิจกรรมที่รวมตัวกันแต่งชุดมาลายูกลุ่มเยาวชนเมื่อ 2 - 3 ปีที่แล้ว ท่านรู้หรือไม่ลูกน้องของท่านไปไล่แจ้งความ ตกลงท่านจะให้พี่น้องประชาชนสะท้อนเสียงสะท้อนความคิดเห็นในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในกระบวนการสันติภาพ แต่ในขณะเดียวกันท่านจะเอายังไงที่แต่งตัวแบบนี้คือเป็นสิ่งที่ไม่อันตรายต่อความมั่นคงของชาติเรื่องนี้ทำให้สันติภาพบอบบาง
- ในวินาทีที่รัฐบาลท่านกำลังบริหารอยู่นี้ไปสู่ภาคปฏิบัติ ในแผนสันติภาพกับรัฐบาลไทย ใน BRN คุณจะหาความลงตัวในเขตปัตตานีภายใต้รัฐเดี่ยวได้อย่างไร เราจะใส่เสื้อผ้าสวย กินอาหารอร่อย โดยไม่ปะทะเรื่องนี้ได้อย่างไร ประเด็นที่เล่ามาทั้งหมดนายกฯ เศรษฐาฯ มีการคาดหวังต่อท่านในการแก้ไขปัญหามีเจตจำนงที่หนักแน่นท้าทาย ประเด็นเรื่องอธิปไตยประเด็น        เรื่องดินแดน ประเด็นเรื่องอัตลักษณ์ยิ่งขัดแย้งแตกต่าง ถ้าไม่มีผู้นำที่เด็ดเดี่ยว เหนี่ยวแน่น เราแก้ไม่ได้หรอก แต่ที่เป็นอย่างนั้นความไม่ชัดเจนความประดักประเดิด ความไม่คงเส้นคงวาแบบนี้ เพราะอะไรกันแน่ มีสมมติฐานอยู่ 3 แนวทางแนวทางแรกและท่านเศรษฐาฯ เชื่อจริงๆ ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองและความขัดแย้งทางการเมือง        จะไม่สำเร็จอีกท่านเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ ท่านไร้เดียงสาขนาดนั้นจริง ๆ หรือ 
- ทฤษฎีแบบนี้ในความขัดแย้งทั่วโลกทรงพลัง มีนโยบาย มีหลักคิดสำคัญ ถ้าคนไม่หิว มีเงินในกระเป๋า ก็ไม่มีการออกกฎ                 แต่กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราผ่านมา 20 ปีแล้ว เป็นเรื่องประวัติศาสตร์เป็นเรื่องเห็นแย้งแตกต่าง เป็นเรื่องความปลอดภัย คนละแบบ เราขัดแย้งกันเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ว่าท้องอิ่มกระเป๋ามีเงินทุกอย่างจะจบ คุ้น ๆ ว่าวิธีคิดแบบนี้เป็นวิธีที่คล้ายกับรัฐบาล           ในอดีตกับรัฐบาลทักษิณฯ เป็นการใช้รัฐบาลที่แข่งกันนิดนึงก็อาจจะจัดการแก้ไขปัญหาได้
- มีภาพเหตุการณ์ ลืมไม่ได้ จำไม่ลง ท่านน่าจะไปไกลกว่ากรอบคิดการมีเงินในกระเป๋าและแก้ไขปัญหาได้จริง ๆ แล้วมันใหญ่      กว่านั้น ถ้าท่านคิดแค่นี้มันผิวเผินมันทำถูกทำให้ไขว้เขวเสียศูนย์ได้ง่าย ๆ หรือเป็นแนวทางที่ 2 ท่านเศรษฐาฯ ทราบดีว่าการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่จงใจไม่เข้าไปแทรกแซงยุ่งเหยิง กับปัญหาความมั่นคงและกระบวนการสันติภาพและปล่อยให้บทบาทเหล่านี้ตกอยู่กับข้าราชการประจำ โดยเฉพาะกองทัพโดยเฉพาะ กอ.รมน. เป็นดีลอะไรบางอย่างหรือเปล่า แลกอะไรบางอย่างหรือเปล่า ท่านจงใจขีดเส้นเลยว่าท่านไม่สน ท่านจะดูเรื่องแค่นี้ ท่านไม่สื่อสารเรื่องในทางการเมือง เรื่องในทางความมั่นคงพูดง่าย ๆ ก็คือเขตทหารท่านก็จะไม่ย่ำเข้าไป
- นี่คือสารัตถะสำคัญ นายกเศรษฐาและพลพรรคไม่ได้ไร้เดียงสาเหมือนแนวทางแรกและในทางที่ 2 หากแต่ได้ข้อสรุปจากบทเรียนในอดีตว่าการเข้าไปกำหนดกำกับทิศทางการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศชาติ อย่างกรณีชายแดนใต้จะนำมาซึ่งหายนะ เป็นหายนะอย่างที่เคยทำ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลทักษิณ เป็นบทเรียนที่คำนึงคำนวณใคร่ควรอย่างดีว่า ไม่ควรไปยุ่ง             ไม่ควรไปแตะ เป็นการตัดสินใจและเรื่องที่จะไม่พูดถึงความมั่นคงอย่างจงใจ
- คุณูปการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ ที่สำคัญที่สุดคือ การริเริ่มความกล้าหาญในทางการเมืองที่ริเริ่มการพูดคุยสันติภาพเปิดเผย          ต่อสาธารณะทำให้คนในพื้นที่ ทำให้คนในประเทศเห็นว่าวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งแบบสันติวิธี นั่งลงและคุยกันคือคุณูปการของรัฐบาลนั้น และเราเก็บรับมรดกตกทอดของความพยายามจนถึงปัจจุบัน อันนี้ต้องเรียนขอชื่นชม แต่ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเศรษฐาฯ ก็อาจรู้สึกว่าพอทำอย่างนั้นก็เจอรัฐประหารและเหยียบเท้าใครไปและท่านคำนวณอย่างมั่นคงว่าท่านจะไม่แตะอีกแล้วน่าเสียดาย ทั้ง ๆ ที่บริบทในจังหวัดเวลาแบบนี้ความคืบหน้าของกระบวนการสันติภาพแบบนี้เราต้องการผู้นำพลเรือนที่แข็งแกร่ง เพราะว่า ทั้ง 3 แนวทางเดียวกันเลยก็คือ การเซ็นเช็คเปล่าให้กองทัพให้คนที่ถือปืนเข้ามายุ่งเกี่ยวกิจการทางการเมืองของประเทศปล่อยให้ชะตากรรมของจังหวัดชายแดนใต้ จึงจำกัดด้านความทุกข์ ด้านความคุกคามประชาชน ทำลายความสามารถของภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ทำให้แข็งแกร่งขึ้น เบ่งบานขึ้น ความบกพร่องนี้เกรงว่าจะเป็นปัจจัยให้ความรุนแรงหวนกลับมาอีกครั้ง และขอเตือนท่านนายกรัฐมนตรี และผู้มีอำนาจในฝ่ายบริหาร ถ้าไม่ยืนการยืนหยัด แข็งแกร่ง ยิ่งกว่านี้ เกรงว่าสิ่งที่เราจะเจอในจังหวัดชายแดนใต้อาจจะเลวร้าย หลงผิดหลงประเมินผิดไปในช่วงก่อนปี 47 ความรุนแรงอาจจะกลับมา ถ้าเราไม่หนักแน่นพอ แต่ถ้าท่านมุ่งมั่นเดินหน้าไปสู่การสร้างสันติภาพ จำกัดบทบาทของกองทัพอย่างจริงจั เชื่อว่าฝ่ายค้านอย่างพวกเราพร้อมที่จะเดินหน้าไปกับท่าน ขอให้ท่านมีความมุ่งมั่นจริง ๆ 
- ในตอนนี้เราเห็นความบกพร่องของท่าน และให้เวลาท่าน ในการตัดสินใจทบทวนมาตรการเหล่านี้ เริ่มที่ผลักดันเรื่องการฟื้นคดีตากใบ ทบทวนการยกเลิกกฎอัยการศึก เริ่มด้วยสัญญาณแบบนี้ส่งสัญญาณให้กับเราหน่อย
ช่วงเวลา: 16.00 น.
ผู้อภิปราย : ร้อยเอกธรรนัส พรหมเผ่า รมว ก.เกษตรแลสหกรณ์    - เรื่องเกี่ยวกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัญหาของยางพารา ความชัดเจนที่ท่านชวนตั้งคำถามด้วยความเป็นห่วงกับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง ที่เวลานี้การปลูกไม่ใช่ 14 จังหวัดภาคใต้ แต่ประเทศไทยปลูก 60 กว่าจังหวัด ฉะนั้นไทยควรทำอย่างไรดี ถามตัวเองถามผู้บริหาร
- โครงการนโยบายของแต่ละรัฐบาลมีจุดเด่น ขายของตัวเอง แต่รัฐบาลชุดนี้ท่านนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ใช้ตลาดนำนวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้ ซัพพลายสำคัญ อุปสงค์อุปทานสำคัญ จะสามารถรักษาเสถียรภาพราคายางได้
- เกษตรกรจะปลูกอะไร จะเลี้ยงอะไร ต้องดูว่าความต้องการของผู้ใช้ต้องการอะไร ต้องการสินค้าประเภทไหน สำคัญคือผู้บริโภค หมายถึงผู้ที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมการยาง ต้องการมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดยางที่มีมาตรฐาน - นโยบายอยู่ดี 
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การตลาดภายในประเทศมีอยู่เพียง 12% ขณะที่ตลาดใหญ่ที่เราส่งออก ไม่ว่าจะส่งออกเป็นยางแผ่น หรือว่าเป็นผลิตภัณฑ์สูง 88% นั่นหมายความว่าตลาดใหญ่ที่สุดในจำนวนปริมาณยาง ในแต่ละปีมี 4.8,000,000 ตัน 12% กับ 88% 
- ตลาดภายใน ก็มีการรณรงค์นโยบายและบอร์ดบริหาร ตลอดจนผู้บริหารประเทศไทยพยายามจะรณรงค์ให้มีการใช้ยางภายในประเทศ ทุกตำบล ทุกจังหวัดให้เยอะที่สุด
- กรม กระทรวงแต่ละกระทรวง เช่น ตัวอย่างประธานในการทำบ่อเลี้ยงปลาบ้านของกรมประมงได้ทำสิ่งเหล่านี้ กำลังนำกลับมาให้มีการเลี้ยงในประเทศ สิ่งสำคัญในปริมาณ 12% ของการใช้ยาง ส่วนใหญ่เป็นยางที่เราส่งระบายออกตลาดโลก 
- การลดจำนวนลูกสุกร ซึ่งเป็นนโยบายที่ทำกับกระทรวงพาณิชย์ ในการลดปริมาณสุกรเอาไปทำหมูหัน ซึ่งอนุมัติเงินจากกองทุนช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ปริมาณสุกรเอาไปทำอาหารให้ผล หรือผลของการใช้มาตรการต่าง ๆ ทำให้ช่องว่างระหว่างต้นทุนการผลิตกับราคาหน้าฟาร์มเริ่มขยับเข้ามาหากัน
-  ปี 2566 ราคาต้นทุนและราคาหมูหน้าฟาร์มอยู่ในศีลที่เสมอกัน นั่นหมายความว่าพี่น้องไม่ขาดทุน
- มีการใส่ใจตลาดโลก ตลาดไม่ต้องการให้รัฐบาลไทย ซึ่งมีการเจรจากับสภาพยุโรป มีการประชุมเปลี่ยนวิธีที่กรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมัน เมื่อต้นเดือนมกราคม มีการขอร้องว่าอย่าใช้นโยบายบิดเบือน ต้องใช้งบประมาณจากกลไกตลาด
- ราคาสุกรตกต่ำ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2565 ปัจจัยที่ทำให้ราคาหมูหน้าฟาร์มตกต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิต สภาพปัญหา ปัจจัยคือปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในปัจจัยภายนอก มีการลักลอบนำเข้าหมูที่ผิดกฎหมาย โดยมีเอกสารสิทธิ์ในการนำเข้าหมูเถื่อน
- ควรหามาตรการในการตรวจสอบมาตรการในการป้องกัน อย่าให้หมูเถื่อนทะลักเข้ามามากเกินไปในบ้านเมืองเรา
สำหรับอาหารสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องมาจากความแปรปรวนของสังคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สงครามรัสเซีย - ยูเครน และการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้วัตถุดิบประเภทอาหารสัตว์ที่นำเข้ามีราคาสูง
- การสั่งเข้าอาหารทะเล สิ่งสำคัญต้องมีการขยายขอบเขตพื้นที่การตรวจสอบย้อนกลับว่าสินค้าประเภทกุ้ง ที่สมัยก่อนกุ้งหัวตะกั่วเข้ามาควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่ามาจากไหน ไม่ได้ไปรังแกประเทศใด แต่เราป้องกันปราบปรามว่าอย่าทำให้ประเทศไทยกลายเป็นของที่ไม่มีค่าอะไร ก็ง่ายไปหมด อะไรถ้าง่ายไปหมดแล้วมีความสำคัญ ต้องมีมาตรฐาน มาตรการในการตรวจสอบย้อนกลับ
ช่วงเวลา: 16.45 น.
ผู้อภิปราย : พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง 
รมว. ยุติธรรม ชี้แจง
    - พ.ร.บ ราชทัณฑ์ ปี 2560 คำว่า เรือนจำหมายความว่า ที่ซึ่งใช้ควบคุม ขัง จำคุกผู้ต้องขัง ซึ่งยังเขียนไว้ว่ามาตรา 55 วรรค 3 การไปรักษาตัวนอกเรือนจำ มิให้พ้นจากการถูกควบคุม การไปจากที่รักษาตัวถือว่ามีความผิดหนีที่คุมขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 
- หากมองว่าสถานที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ไปรักษาตัวเป็นที่เลวร้าย หรือเลือกปฏิบัตินั้น ก็ไม่มีเหตุผลโต้แย้ง เพราะหลังจากกฎหมายดังกล่าว ก็มีการออกกฎกระทรวง เรื่องสถานที่รักษาตัวนอกเรือนจำ กรณีนี้มีเกณฑ์หลายเกณฑ์ เช่น การพักรักษาตัวทั่วไป เว้นแต่จะมีการจัดสถานที่ควบคุมพิเศษในการรักษา 
 - อดีตนายกฯ  ทักษิณ อยู่ในเกณฑ์เงื่อนไขเรือนจำและเกณฑ์ของกฎกระทรวง พ.ศ. 2563 และยืนยันว่ากฎกระทรวงนี้ผู้ที่ออก ในสมัยนั้นคือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ 
- เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา 53 เขียนไว้ว่า รัฐต้องปฏิบัติตาม และใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ทำไมใช้ตรรกะวิบัติ โดยข้าราชการกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่ปลัด รองปลัด อธิบดี ผบ.เรือนจำพิเศากรุงเทพ ไม่ได้ถูกเปลี่ยน หากมีการปฏิบัติมิชอบ กรร๊ที่อดีตนายกฯ เข้ามาในรัฐบาลที่ยึดอำนาจไป มีความกล้าหาญมาก ดังนั้น การที่อดีตนายกฯ เข้ามายังเรือนจำในช่วงนั้นมีสปิริตสูงมาก 
- การลดโทษจะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ดังนั้น การที่บอกว่ามีการคุมขังทิพย์ คือความไม่เป็นธรรม ตามกฎหมายแล้วหากเจ็บป่วยให้รีบส่งรักษาโดยเร็ว และการรักษาตัวให้อยู่ดุลยพินิจของแพทย์ ทั้งนี้ การจัดที่คุมขังพิเศษขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของโรงพยาบาลด้วย
- เรื่องสถานที่คุมขังอื่นตามกฎกระทรวงปี 63 ระบุไว้ว่า 1.เพื่อปฏิบัติตามการจำแยกสถานที่คุมขัง 2.ให้ดำเนินการตามระบบ     3.การรักษาพยาบาลผู้ต้องขัง และเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย 
- ในส่วนการออกระเบียบให้มีที่คุมขังอื่น พบว่า ผู้ต้องขังในราชทัณฑ์ 75% มีการศึกษาต่ำกว่าภาคบังคับ เป็นปัญหาใหญ่ มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี จึงอยากเปลี่ยนคนหลังกำแพงให้มีศักยภาพ เปลี่ยนวิถีคิด สร้างคนสร้างชาติ
- การรักษาตัวเกิน 120 วัน ของอดีตนายกฯ อธิบดีกรมราชทัณฑ์มีส่วนรับผิดชอบ และตามความเห็นกรณีการรักษาอดีตนายกฯ ได้มีการส่งใบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการ รวมทั้งการส่งตัวและตรวจสอบอาการนั้น ได้มีแพทย์ให้ความเห็นว่าอนุมัติเห็นชอบให้อยู่รักษาตัวต่อจึงได้เสนอเรื่องมาที่ รมว.ยุติธรรม ทำการอนุมัติ
- ขั้นตอนการพักโทษ มีอนุกรรมการพิจารณาการพักโทษจากหลายหลายหน่วยงาน และพิจารณาคะแนนประเมิน ทั้งเข้าหลักเกณฑ์การตรวจโรค การช่วยเหลือตนเอง ดังนั้นการพิจารณาที่ประชุมจึงไม่ขัดข้องในการพักโทษ
- อดีตนายกฯ ถูกขังในเรือนจำ 6 เดือน ตามเกณฑ์การพักโทษ และเสนอตามขั้นตอน เพื่อพิจารณาพักโทษ
- ความสามารถของแพทย์ใน รพ.ราชทัณฑ์ ช่วงเวลาดังกล่าว พบว่า มีแพทย์ไปเรียนต่อ และพบว่าบางรายมีอาการป่วย ทำให้   ไม่สามารถดำเนินการวินิฉัยโรคได้ จึงส่งต่อไปยัง รพ.ตำรวจ
ช่วงเวลา: 17.22 น.
ผู้อภิปราย : ชลธิชา  แจ้งเร็ว  
สส.พรรคก้าวไกล
    -การรัฐประหารในพม่ากระทบประเทศไทยในหลายมิติ รัฐบาล 7 เดือน รับผลกระทบในพม่า ที่รัฐบาลไร้ยุทธศาสตร์
-ปัญหาหลักสะท้อนความล้มเหลวของรัฐบาล
1.ล้มเหลวในการจัดการกับผู้ลี้ภัย  ทางการเมือง  ผู้ลี้ภัยทางชายแดน ไล่จับไล่ฆ่า ลี้ภัยมาอยู่ในไทย หลากหลายอาชีพหลบๆซ่อนๆ 50,000 คน ไทยไม่มีกฎหมายรับรองการมีอยู่ ลี้ภัยมาแล้วต้องเจออัตราค้าขายสิทธิ หรือการรีดไถค่าคุ้มครอง 
-ปัญหาเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลไม่ยอมรับความจริง ว่าไทยมีผู้ลี้ภัยทางการเมือง ไม่มีการสำรวจตัวเลขอย่างจริงจังมีมากน้อยเพียงใด ทำให้ไม่มีแนวทางกับการจัดการการรับมืออย่างชัดเจน หรือรัฐบาลตั้งใจปล่อยไปให้เป็นแบบนี้เรื่อยๆ เพื่อให้ขบวนการหากินกับวิกฤตการอพยพลี้ภัยเติบโต อู่ฟู่ร่ำรวยมากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐไทยเอี่ยวด้วย
-รัฐบาลนี้ไม่ได้เอาจริง  คาดหวังไม่ได้ให้ไปไล่จับ แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ  แต่หวังว่าจะต้องมีวิธีการแก้อย่างจริงจังและทำให้คนลี้ภัยทางการเมืองเหล่านี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
-ผู้ลี้ภัย หนีตายจากสงคราม ตลอดแนวชายแดน แต่ก็ยังหนีไม่พ้นถูกทิ้งระเบิดที่ค่ายอพยพ 3 ปี รัฐปประหาร เข้า-ออก 50,000 กว่าคน และจะมีอีก 6 แสนคนที่จะอพยพเข้ามาชายแดนไทย ตลอดแนวแม่ฮ่องสอนถึงประจวบฯ ไทยรับมืออย่างไร
-รัฐบาลรับมือโดยให้เข้าไปอยู่ในเต้นท์ผ้าใบ อาหารไม่เพียงพอ ไม่อนุญาตเอ็นจีโอเข้ามาช่วยเหลือ  ไม่มีการจัดการเรียนการสอน แม้ในภาวะฉุกเฉิน ปล่อยให้มีการกดดันให้รีบกลับไปฝั่งเมียนมา 
-เสนอให้เปิดเผนแนวทางการรับมือที่ชัดเจนออกมา  ตรวจสอบได้ ไม่มีข้าราชการทำในสิ่งผิดกฎหมาย
2.ในการรับมือสถานการณ์แรงงานข้ามชาติ ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติถูกต้องตามกฎหมาย 2.3 ล้านคน  ซึ่งเอกสารใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุลง 13 ก.พ. 68 และเริ่มกระบวนการต่อใบอนุญาตกันใหม่ การเมืองในเมียนมาย่ำแย่ กองทัพเมียนมารีดไถภาษีรายได้จากแรงงานข้ามชาติในไทยเพิ่มอีก 2 % และถ้าจะส่งเงินกลับไปเมียนมาต้องจ่ายเพิ่ม 25 % ของรายได้ 
-ไม่เห็นไทม์ไลน์ชัดเจนที่จะแก้ปัญหาที่ชัดเจน แรงงานพม่ากำลังถูกออกจากระบบ 
-ฝั่งนายจ้างก็กังวลการขาดแคลนแรงงาน กระทบภาคอุตสาหกกรมในไทย ถึงเวลาแล้วต้องวางแผนประชากรในระยะยาว การขาดแคลนแรงงาน นำมาช่วยพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจในบ้านเรา
-ต้องยอมรับความจริงวิกฤตการเมืองในเมียนมา กลายมาเป็นวิกฤติในไทยแล้ว เมื่อมีผู้นำรับมือกับวิกฤตโดยไม่แยแสชีวิตของผู้คน ผลกระทบตกกับคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องใช้ความกล้าหาญในการแสดงบทบาทนำส่งเสริมประชาธิปไตย 
ช่วงเวลา: 17.45 น.
ผู้อภิปราย : นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี     -สมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ ก็ขอกลับไปตอบเรื่องยางอีกนะครับเพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่รู้สึกว่าความสนใจกันเหลือเกินนะครับเรื่องของรายละเอียดเนี่ยเรื่องของที่มาซัพพลายเนี่ยผมเชื่อว่าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนี่ยได้ชี้แจงไปอย่างชัดเจนแล้ว ผมก็ขอแสดงความยินดีกับชาวสวนด้วยว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาราคาเพิ่มราคาสูงขึ้น ก็อยากจะขอแสดงความเห็นใจกับฝ่ายค้านนะครับที่ไม่นึกว่าต้องลำบากหาเหตุผลว่าทำไมราคายางดีไม่ใช่ผลงานของรัฐบาลนะครับ ผมว่ามันมาอธิบายไปแล้วนะครับ แต่ว่าเราเอาเรื่องของผลงานเป็นหลักแล้วกันนะครับว่าราคายางดีขึ้นมามากที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานะครับ บริหารงานแบบ proactive นะครับเข้าใจถึงปัญหาลงรายละเอียดทุกเม็ดนะครับก็เป็นส่วนทำให้ราคายางดีขึ้นได้อย่างแน่นอน 30% ของยางทั่วโลก เราคือมหาอำนาจของยางพาราโลกนะครับ เช่นเดียวกับชาวประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางด้านน้ำมันนะครับ เราต้องมั่นใจว่าเราไปที่ใหญ่ในเรื่องของยางพาราผู้นำต้องมีความกล้าในการที่จะต้องผลักดันเรื่องนโยบายต่างๆ เพื่อให้ราคายางสูง โดยทำงานเพื่อประชาชนให้เขาอยู่ดีกินดีนะครับ เรื่องของการที่เราปราบปรามไม่ใช่แค่สั่งอย่างเดียวลงไปดูรายละเอียดนะครับ กระชับพื้นที่ทั้งฝ่ายความมั่นคงนะครับ ทั้งฝ่ายกระทรวงการต่างประเทศ ทางกรมศุลกากร กระทรวงเกษตรฯ ทุกๆคนเชื่อที่ช่วยมาทำงานซึ่งผมก็ถามว่าเมื่อวานนี้นะครับซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เป็นการลดยางเถื่อน ลดซัพพลายลงไปนะครับอันนี้ก็เป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ 101 นะครับ ถ้าเกิดลดซัพพลายนะครับเป็นเรื่องอะไรที่ จริงๆ แล้วเนี่ยหลายๆ ท่านก็น่าจะรู้แต่ว่าถ้าเกิดเราทำผิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ ในช่วงเวลาที่แล้วก็เป็นคนใต้นะครับเป็นคนที่จริงมีใช้มาจากยาง แต่ว่าก็ไม่ได้ดูแลอะไรที่มันเกินกว่าที่ตัวเองควรจะทำนะครับ รัฐบาลนี้มีใจนะครับแล้วก็ทำงานอย่างแท้จริงเพื่อพี่น้องประชาชนนะครับ แล้วเราก็จะพยายามอย่างต่อไปที่จะรักษาราคายางให้สูงต่อไป นะครับ ผมเชื่อว่าเรื่องนี้เรามั่นใจครับเพราะเราทำได้นะครับ แต่ราคาของพวกอภิปราย เรื่องนี้ในสายตาประชาชนจะเป็นอย่างไรผมรับผิดชอบไม่ได้นะครับ แต่ว่าเรื่องของราคายางผมรับผิดชอบครับ เรื่องปัญหาภาคใต้นะครับซึ่งท่านสมาชิกซึ่งเป็นอดีต นายกก็ได้อภิปรายไปก็สมควรเหมือนกันนะครับผมมีโอกาสอื่นอีกมากมายนะครับเป็นเรื่องที่รัฐบาลเราก็ให้ความสนใจนะครับแต่ผู้หญิงนะครับ ผมว่านะครับ ก็ก่อนผมจำไม่ผิดนะครับว่าผมฟังท่านชวนไม่ผิดนะครับเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 ความมั่นคงเป็นเรื่องสำคัญแต่เราพยายามมาแล้วหลายปีแล้วเนี่ยมันก็ยังไม่เวิร์คนะครับ ก็ลองเอาเรื่องของโอกาสมาเสริมบ้างละกันนะครับเผื่อว่าถ้าเกิดมันมั่งคั่งแล้วมันคงจะมั่นคงตามผมมาบ้างนะครับ การทำไม่เป็นเรื่องอาหารเรื่อง Soft Power ซึ่งวัฒนธรรมอะไรหลายๆอย่างเนี่ยผมเชื่อว่าการที่ผมลงไป 3 จังหวัดในภาคใต้ไปค้างคืน 2 คืนนะครับ 3 วันเนี้ยผมเชื่อว่าพี่น้องสื่อมวลชนนะครับหลายท่านก็ได้ติดตามไปแล้ว แล้วเราก็ยังมีการทำการค้าขายเชิงพาณิชย์ยังไงต่อเนื่องนะครับ แล้วก็จะลงไปอีก ลงไปดูแลนะครับผมบอกว่าจริงๆ แล้วเนี่ยนะครับ คู่กันไปก็ยาวเปล่าๆ นะครับเสียเวลานะครับ ไม่เป็นไรหรอกครับมุมมองเราไม่เหมือนกันนะครับ ผมมุ่งไปทางการพัฒนา ผู้บัญชาความมั่งคั่งแล้วก็ไม่เคย ก็เลยถึงความมั่นคงด้วยนะครับ ท่าน สส ฝ่ายค้านเองมองการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ย้อนว่าต้องกลับไปแก้ไขอดีตนะครับแต่รัฐบาลนี้เราเข้าใจดีครับ แต่เรามองไปในอนาคตครับ วิธีมองต่างกันอีกเหมือนกันนะครับผมก็เชื่อว่าท่านหวังดีแต่วันนี้เราเป็นรัฐบาลก็ขอลองวิธีใหม่ๆบ้างนะครับเปิดใจให้กว้างนะครับ แนวทางการพัฒนาคือ เราทำให้ทุกคนเจริญไปด้วยกันกับโอกาสนะครับ ส่วนเรื่องคนที่ผิดเราก็ต้องเจอหน้าตามีกระบวนการไม่ได้หยุดนะครับผมมั่นใจว่าภายใน 4 ปีนี้ ประเทศเราจะเจริญมากกว่าที่รัฐบาลอื่นๆ เคยทำมาครับ ผมขอให้เชื่อมั่น ให้ความเชื่อมั่นต่อพี่น้องประชาชนว่า นายกคนนี้จะกลับไปทุกพื้นที่จะมองเห็นทุกภูมิภาค ก็จะทำงานทุกวันเพื่อคนไทยทุกคน ประชาชนเลือกนักการเมืองได้ แต่นักการเมืองเลือกประชาชนไม่ได้ครับ ทุกภารกิจของผมแต่พิสูจน์คำพูดในวันนี้ครับเพื่อประชาชนทุกคนครับขอบคุณครับ


ช่วงเวลา: 18.01 น.
ผู้อภิปราย : นายกัณวีร์ สืบแสง 
สส. พรรคเป็นธรรม    การดำเนินเรื่องนโยบายต่างประเทศ และการทูต ที่นำโดยนายกฯ นโยบายการต่างประเทศยังไม่เข้าข้ามจากเรื่องที่ผ่านมา  เป็นนโยบายจากสงครามเย็น การดำเนินงานทางการทูตในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมาขอเรียกว่า 3 หลง คือ หลงผิด หลงทาง และร้ายที่สุดคือหลงตนเอง ภาพรวมของนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลชุดนี้อยู่ตรงไหน เน้นเรื่องการค้า การลงทุน ความมั่นคง เป็นเรื่องที่ร้อยกว่าปีที่แล้ว นโยบายที่เหมาะกับศตวรรษที่ 21 คือ นโยบายทางการทูต จุดยืนสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม ส่งเสริมสันติภาพโลก รัฐบาลได้พูดตอนแถลงต่อสภาว่าจะดำเนินการนโยบายต่างประเทศอย่างไรบ้าง เช่น การพัฒนาการบริการทุกขั้นตอนเพื่อสร้างประตูสู่ประเทศไทย เศรษฐกิจการค้าชายแดน สร้างเงินสร้างงานสร้างรายได้ สนับสนุนนักลงทุน การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก แต่แอบซ่อนอยู่ในคำแถลงทั้งหมด แต่มองไม่เห็นว่ามองไปข้างหน้าอย่างไร หลงผิด (เวลา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้มีการเรียกเอกอัครราชทูต กงศุลใหญ่ทั่วโลกมาประชุมมามอบนโยบาย ท่านบอกว่า นโยบายต่างประเทศเป็นส่วนต่อขยายของนโยบายภายในประเทศ แต่ท่านไม่ได้เป็นคนแรกที่พูด แต่ท่านประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นคนพูดสมัย 70 กว่าปีที่ผ่าน สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยวันนี้อยู่ที่ไหน เราเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างนั้นใช่หรือไม่ ท่านมองผิด ท่านหลงผิดเวลา ท่านจะมองว่าประเทศไทยอยู่แค่ตรงกลางเท่านั้น หลงทาง เรากลัดกระดุมเม็ดแรกที่ผิดพลาด และสร้างบันได 5 ขั้นของ
การทูตปานปรีย์ขึ้นมา ประกอบด้วย 
1. เชิงรุกมองไปข้างหน้า แต่จริง ๆ ท่านยังย่ำอยู่ข้างหลัง 
2. ตอบสนองผลประโยชน์ภายในประเทศ ดูแต่เรื่องภายในประเทศเท่านั้น
3. มีเกียรติภูมิ มีความหมาย
4. บทบาทโดเด่น ยกระดับเศรษฐกิจ 
5.ตอบสนองผลประโยชน์ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม 
ผิดไหมไม่ผิด ดีไหมดี แต่มันไม่พอ การขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลเศรษฐา จากวงแคบสู่วงกว้าง มองที่ประเทศเพื่อนบ้าน มองภูมิภาคและอนุภูมิภาค มองประเทศมหาอำนาจ การทูตพหุภาคี  แต่มองแค่ตนเองเท่านั้น เน้นแต่เรื่องการค้าการลงทุนต่าง ๆ มันตอบโจทย์ไม่ได้หลงตัวเอง ท่านอยู่ตรงกลางกับการทูตที่เน้นตัวเองมากเกินไป เราจะขายของอย่างไร เราเดินไปประเทศอื่น ๆ แล้วจะขายของได้เท่าไหร่ มันไม่พอ มันจำเป็นที่ต้องมองว่านโยบายการต่างประเทศที่ถูกต้องต่อโลกปัจจุบัน คืออะไรบ้าง มันมันการทูตสาธารณะ มีการทูตสองด้าน เป็นสิ่งที่เราต้องการในตอนนี้ เราต้องมองว่าความคาดหวัง ความมุ่งหมายของเวทีระหว่างประเทศที่มองต่อประเทศต่าง ๆ  สมาชิกต่าง ๆ โโยเฉพาะประเทศไทย เขาต้องการให้เราทำอะไร หากมองไม่ออกเราจะตอบโจทย์แต่ตนเอง อยู่แต่ใน comfort zone ที่ปลอดภัยของเรา ไม่กล้ากระโดดก้าวข้ามกรอบความคิดว่าเราจะต้องเป็นการทูตเชิงรุกอย่างไรบ้าง การทูตสาธารณะ  ต้องเน้นที่ประชาชน ต้องโอบอ้อม โอบอุ้มให้ประชาชนมาช่วย มามีส่วนร่วม ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นที่รู้สึกระหว่างประเทศ ข้อสันนิษฐานต่อแนวนโยบายการทูต การต่างประเทศของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ที่มีหัวหอกจากทำงานต่างประเทศเป็นคุณ ปานปรีย์ อนุรักษ์นิยมกระแสหลัก เราไม่สามารถมองข้ามตนเองได้ เรายังเกรงกลัวเรื่องการเสียดินแดน เราไม่สามารถแก้ไขนโยบายการต่างประเทศของเราได้ ความเกลียดกลัวคนที่ไม่ใช่คนไทย เราคนคนสัญชาติอื่น ๆ ที่เข้ามาในประเทศและมองเป็นภัยความคุกคามความั่นคง เอนเอียง เข้าหาประเทศมหาอำนาจตลอดเวลา เราชอบมองว่าประเทศมหาอำนาจเดินไปตรงไหน เราจะไปตรงนั้น ให้ผลประโยชน์เราไปสอดรับกับเขา เพื่อสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ มุ่งเน้นแต่การค้าการลงทุน win-win Solution ความสัมพันธ์ที่เราคิดว่าเราต้องได้ทุกครั้งแต่จริง ๆ มันคือ zero sum Game ที่เขาได้แต่เราเสีย ขอตัดเกรดการดำเนินการของรัฐบาลกว่า 6 เดืนอที่ผ่านมา ในเรื่องต่าง ๆ เช่น อ้อนจีนขอทำ Landbridge ให้อยู่ใน BRI เดือนกว่าๆ ที่ผ่าน นายกฯ เดินทางไปประเทศจีนเพื่อขอให้พิจารณาให้โครงการ Landbridge ไปอยู่เส้นทางสายไหม รัฐบาลจีนบอกว่าอย่ามาอยู่เลย แต่นายกไปเซลล์ของให้เอา Landbridge ไปอยู่ใน BRI แต่เส้นทางสายไหมถูกวิพากย์ วิจารณ์จากระหว่างประเทศมากมาย มีปัญหาตั้งแต่การเอาเงินมา จากบริษัทจีน บริษัทข้ามชาติมาให้กู้เงิน มันจะเป็นปัญหาการทูตที่ขุดหลุมกับดักการติดหนี้ติดสิน การสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจ การแทรกแซงระหว่างประเทศ ท่านได้เอาประเทศไปผูกกับ การทูตที่ขุดหลุมกับดักการติดหนี้ติดสินเรียบร้อยแล้ว ร่วมมือเศรษฐกิจไม่ถึงใจ ร่วมปราบผู้ลี้ภัยข้ามชาติ เรามีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เรามีผู้ลี้ภัยที่เข้ามาหลบภัยในประเทศจากองค์การสหประชาชาติ เขากำลังจะเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ ปัญหาจากปลายปีที่ผ่านมา การมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา วันนั้นมีการจับกุมนักกิจกรรมชาวกัมพูชาที่ทำงานเกี่ยวกับการเมืองที่มาลี้ภัยอยู่ในประเทศไทย กำลังเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ จับเขาทำไม ปัจจุบันยังมี 17 คน ยังอยู่ห้องกักของ  ตม. บอกว่าไม่สามารถปล่อยตัวได้เพราะเป็นภัยความมั่นคง มีผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามที่ท่านไปชีเป้า ท่านยังมีความอนุรักษ์นิยมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ท่านยังมองประเทศมหาอำนาจ วีซ่าฟรีฉ่ำ ค้ามนุษย์ก็ฉ่ำ ที่เล้าได้ รัฐฉานคือการค้ามนุษย์ ผมเดินทางไปแม่สอด นั่งเครื่องบินไปมีแต่คนจีน ลงเครื่องแต่ไม่รู้ว่าหายไปไหน หายไปอยู่ฝั่งตรงข้ามประเทศไทย เขาเข้ามา การฟอกเงินต่าง ๆ ท่านไม่รู้หรอ ชายแดนอยู่ตรงนั้นเอง คนเดินทางข้ามไปข้ามมาได้ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กงศุล ด่านตรวจคนคนเมืองต่างๆ แต่คนจีนหาไปไหน เพราะวีซ่าฟรีฉ่ำ ค้ามนุษย์ก็ฉ่ำด้วยการทูตลู่ลม ไร้รากจนปลิวไม่มีจุดยืน ประเทศไทยชอบอยู่นิ่งๆ มีลมมาตรงไหนเราเอียงไปตรงนั้น เราไม่เนเอียงด้านไหน เราต้องดูประโยชน์ของชาติ ท่านเลือกข้างแต่ประเทศมหาอำนาจ เราต้องเปลี่ยนแปลงจุดยืนทางการทูตโดยเร็ว การแทรกแซงอย่างสร้างสรรค์จะทำให้ไทยมีจุดยืนอย่างไม่อายใคร สันติภาพไม่เป็นสากล สันติภาพในประเทศยังไม่มีเลย เรากลัวคำว่าสากลมากๆ เราไม่กล้าพูดคำว่าสันติภาพ เราเลี่ยงการพูดใช้คำว่าสันติสุข เราต้องเอาประชาชนมามีส่วนร่วมทางการทูต เอาประชาชนเป็นตัวขับเคลื่อนทางการทูตแค่หวังดีแต่ยังไม่พอในสถานการณ์เมียนมา มนุษยธรรมมีกระบวนการมากมายไม่ใช่การกุศล ท่านรู้ไหมพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ท่านต้องเข้าใจความหมายของมนุยธรรม ถ้าไม่เข้าใจอย่าไปทำ บอกไปเลยว่าทำงานการกุศล อันนั้นเรายอมรับได้ ผมหวังว่าท่านจะทำงานได้ในอนาคต จุดยืนไทยต่อสันติภาพในเมียนมา ต้องใช้ทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหานี้ เราต้องเป็นผู้นำในการแก้ไข Safety zone ภายในประเทศเมียนมา ใช้ทุกกลไกทางทหาร หากใครได้รับผลกระทบจะต้องมาอยู่บริเวณชายแดนให้ได้ ห้ามมีปฏิบัติทางหารทั้งภาคอากาศและภาคพื้นที่ ท่าจะต้องทำ แต่ไม่มีความคืบหน้า เราต้องมีระเบียงมนุษยธรรม ต้องเป็นกลางไม่เอนเอียง ทำงานได้แบบที่ไม่ใช่การกุศล มีระเบียงสันติภาพให้เกิดขึ้นในเมียนมา หากทำเราจะดี การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้มีประชาธิปไตยในเมียนมาการทูตคงไม่ใช่ส่วนของชนชั้นนำ การทูตจำเป็นต้องมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน เราจะไม่ยอมย่ำอยู่กับที่ และมองแต่ข้างหลัง เราต้องมองเรื่องการทูตสาธารณะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมต้องมองเรื่องการทูตสองด้าน เราต้องดูความคาดหวังของประชาคมโลก ว่าเขาต้องการอะไรจากเรา แล้วเราจะมองเห็นว่าการทูตที่ทำให้ไทยมีจุดยืนที่ดีของประชาคมชาวโลก
ช่วงเวลา: 18.28  น.
ผู้อภิปราย : นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ  รมว.แรงงาน    -จากการอภิปรายของผู้ทรงเกียรติ ได้พูดถึงเรื่องของแรงงานโดยเฉพาะการขึ้นค่าแรง 400 บาท มีการประชุมเมื่อ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา ว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทยังไม่ตรงตามเป้าของนโยบายของ นรม. แต่เชื่อว่าการประกาศค่าแรง 400 บาทใน 10 จังหวัด ในอาชีพการโรงแรม ระดับ 4 ดาวขึ้นไป ถือว่าการขึ้นค่าแรง ต้องดูในหลายมิติ 
-ทำไมถึงต้องเลือกใน 3 สาขา และทำไมต้องปฏิบัติที่ 10 จังหวัดก่อน วันนี้โดยเฉพาะบริษัทต่างๆ ถือครองโดยเอสเอ็มอี ประมาณ 3 ล้าน 2 แสน 2 พันกว่ารายเศษ ถือครองโดย Micro ธุรกิจขนาดย่อย  2,727,186 ราย Small ธุรกิจขนาดย่อม 416,628 ราย Medium ธุรกิจขนาดกลาง 43,564 ราย การประกาศขึ้นค่าแรง 400 บาททุกมิติในทุกจังหวัดทั้งประเทศไทย ผมคงไม่กล้ากระทำในขณะนี้ 
-18 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการไตรภาคีชุดใหญ่ประชุมและตั้งคณะอนุกรรมการไตรภาคีเพื่อศึกษาว่าค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย ควรจะเริ่มจากจุดไหนก่อน ซึ่งแน่นอนทางรัฐบาลของเศรษฐา มีการขับเคลื่อนในเรื่องของการนักท่องเที่ยว ใน 3 เดือนแรกมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามา 9.4 ล้านกว่าคน เป็นผลพ่วงจากการประกาศเรื่องวีซ่าฟรี  การเชิญชวนของ นรม  ของ ก.ท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่อองเที่ยวแห่งประเทศไทย   ปชส. ส่วนนี้เป็นจุดประกายให้คิดว่าในหมวดของการท่องเที่ยว
ควรเป็นเป้าหมายแรกที่จะประกาศขึ้นค่าแรง 
-เมื่อทำการศึกษาและมีการประชุม 26 ก.พ. มอบหมายให้อนุฯ เพิ่ม 2 กระทรวง คือ ก.ท่องเที่ยวและกีฬา และ ก.มหาดไทย  มติเอกฉันท์ 3 ฝ่ายเห็นด้วยตามข้อเสนอของอนุฯ ให้ขึ้นค่าแรงเฉพาะโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว 10 จังหวัด 
-นี่คือบันไดก้าวแรกของการก้าวไปสู่ในปีนี้อีก ซึ่งคณะกรรมการไตรภาคีจะมีการประชุมทุกเดือน โดยมี ปลัด ก.แรงงานเป็นประธานการประชุม มอบหมายให้ทำการศึกษาผ่านคณะอนุฯ มีการขับเคลื่อนมีการประกาศค่าแรงขั้นต่ำสู่ 400 บาทในอาชีพใดอีก
-ในอดีต 1 ปี ประกาศขึ้นค่าแรงครั้งเดียว แต่ในยุคของเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งได้กราบเรียนหารือว่าคงขออนุญาตว่าในแต่ละปีอาจจะมีการประกาศหลายครั้ง  แต่การประกาศก็จะขยายเรื่องต่างๆ ว่าธุรกิจไหนควรไปถึง 400 และมีความมั่นใจต่อไปว่า หากกระทำการไปเรื่อยๆ ถึง 2570 เป้าหมายของรัฐบาลหรือนโยบายของรัฐบาล เป้าหมาย 600 บาท มีความมั่นใจ ถ้าหากเศรษฐกิจเติบโตจากปีนี้ถึง 69 70 คำว่า 600  บาทไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินฝัน
-แล้วทำไมประกาศ เฉพาะหมวดท่องเที่ยว ได้มีการหารือคุยกันกับฝ่ายนายจ้าง หากประกาศภาพรวม 400 บาททั้งหมด เอสเอ็มอีการถือครอง 71 % มีแรงงานกว่า 12 ล้านคน ต้องล้มหายตายจากไปประมาณ 30-40 % ประมาณ 4-5 ล้านคน กลับการที่มีค่าแรงขั้นต่ำ 300 กว่าบาทยังปะทังไปเดือนต่อเดือนได้ แต่ถ้าประกาศโดยไม่ได้ทำการศึกษา เกิดการล้มหายตายจากไปของเอสเอ็มอี ถามว่าความรับผิดชอบจะอยู่ที่ใคร
-ถามมาด้วยความหวังดี ฝนตกเป็นหย่อมๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติในอดีตตกทั่วฟ้าทีเดียวแล้วเกิดการฉงักงัน  เหมือนในอดีตที่ผ่านมา โดยไม่ได้ขึ้นค่าแรงเลยติดต่อกันถึง 4 ปี ไม่อย่างเห็นภาพนั้น  อยากเห็นปีนี้ขึ้นเท่าไหร่ ปีหน้าปีถัดๆ ไปควรขึ้นเท่าไหร่ เป็นความหวัง
-ตอบชลธิชา/...กังวลแรงงานเมียนมา
เพื่อนบ้านมีการสู้รบ มีการลักลอบเข้าไทย ฝ่ายความมั่นคงของไทยไม่สามารถดูได้ทุกตารางเมตร ทุกตารางกิโลเมตร เพราะฉะนั้นการลักลอบเข้ามาเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ต้องกังวล ก.แรงงานในตอนนี้เตรียมความพร้อมในการที่จะรับแรงงานที่จะเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน และคิดว่าเมื่อเข้ามาลงทะเบียนให้ถูกต้อง มีประกาศตามติ ครม. 3 ต.ค.66 เปิดศูนย์ซีไอ 8 แห่งคือ สงขลา สุราษฎร์ธานี  ชลบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่และนครสวรรค์  ซึ่งทั้ง 8 ศูนย์ขึ้นทะเบียนโดยรัฐบาลเมียนมาเป็นผู้เข้ามาดำเนินการทั้งหมด กระทรวงแรงงานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์เหล่านั้น มีหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวก
สิ่งที่ไทยต้องการ คนไทยเกิดน้อยกว่าผู้เสียชีวิต แรงงานในอนาคตขาดแน่นอน ชลธิชาตั้งคำถามและแรงงานเหล่านี้ในอนาคตลูกหลานที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะทำอย่างไร ก็มีการหารือไปยัง ก.ศึกษา ลูกหลานที่เกิดในประเทศไทยเราห้ามไม่ได้แต่เห็นอยู่ว่ามีเกิดในประเทศไทยค่อนข้างเยอะ ที่สำคัญลูกหลานเมียนมาเหล่านั้นเข้าสู่ระบบการศึกษาของไทย ศึกษาประเทศไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย  หากยังไม่กลับเมียนมา หรือประเทศ 3 บุคคลเหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นแรงงานไทยในอนาคต ชดเชยคนไทยที่เกิดขึ้นน้อยกว่าเสียชีวิต
-ส่วนประเด็นคาใจ คณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งมีการเลือกตั้งไป 24 ธ.ค. ที่ผ่านมามีกระแสข่าวว่าจะมีการยกเลิกคณะกรรมการประกันสังคมที่มีการเลือกตั้ง มีการรับรองเรียบร้อย ความคาดเคลื่อนใน พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558 ม.8 วรรค 3 นำเข้าหารือ เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 พอดี ในปี 2564 เลยต้องนำเข้า ครม. ชุดปัจจุบัน
-ในขณะนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ม.8 เก่ามาใหม่ จะมีการยกเลิกคณะกรรมการประกันสังคม แต่ไม่มี แต่ในขณะนั้นอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19  แต่มีวรรคให้ รมต.มีอำนาจในการตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการสังคม นั่นหมายความว่า เป็นภาวะวิกฤต ซึ่งเรื่องนี้จะนำเข้า ครม.เข้าสู่สภาฯ ต้องมีการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ
-พ.ร.บ.ฉบับนี้อยากให้รีบผ่าน เพราะว่า การลาคลอด 98 วันโดยประกันสังคมรับผิดชอบ 50 % นายจ้างรับผิดชอบ 50 % จะได้รีบประกาศใช้ นโยบาย 3 ขอ  ขอให้โหวตผ่านเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน
-ทำไมฝนตกไม่ทั่วฟ้า  ย่อมไหนควรตกก่อน ย่อมไหนที่ยังไม่สมควรตก ที่ทำไปทั้ง 3 ฝ่าย ทำงานด้วยความรอบคอบ ก้าวไปทีละก้าว ขอให้ฝนตกไปทีละหย่อม
ช่วงเวลา: 18.49 น.
ผู้อภิปราย : นภินทร  ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์    ขออนุญาตตอบข้อซักถามสั้นๆ อีก 2-3 ประเด็นซึ่งการบัญชีผู้ทรงเกียรติได้ซักถามไว้ คำถามแรกท่านถามว่า
1. ไทยฟื้นตัวการส่งออกช้ากว่าหลายประเทศจริงหรือไม่ : ผมเรียนอย่างนี้ครับว่า ในช่วงวิกฤตไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามการค้าไม่ว่าจะเป็นช่วงโควิดในทีมในปี 2562 ถึง 2564 เกือบทุกประเทศครับมีปัญหาเรื่องการส่งออกเพราะทุกประเทศนั้นประชาชนหยุดการใช้จ่ายหยุดการเดินทางยกตัวอย่างให้เห็นครับว่าเกาหลีใต้นั้นการส่งออกติดลบ 10.4% ไต้หวัน - 1.5% มาเลเซีย - 3.4% อินโดนีเซีย - 6.8% ยกเว้นไม่ใช่เวียดนามครับก็ได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าจึงมีการขยายตัว ในขณะที่ประเทศไทยนั้นติดลบเพียง 2.6 % เท่านั้นสิ่งเหล่านี้ที่เห็นครับว่าภาวะทั่วโลกนั้นประสบปัญหาการส่งออกแต่ประเทศไทยนั้นสามารถบริหารจัดการการค้าระหว่างประเทศในช่วงวิกฤตได้ดีในระดับที่น่าพอใจ และเมื่อวิกฤติผ่านไปโลกอยู่ในระหว่างการฟื้นตัว เราก็พบว่าประเทศไทยนั้นสามารถฟื้นการส่งออกได้เป็นอย่างดีตามลำดับไม่แพ้ประเทศใดยกตัวอย่างเช่นในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 เกาหลีใต้ยังติดลบอยู่ 7.5% ไต้หวันติดลบอยู่ 9.8% เวียดนามติดลบอยู่ 4.8% ฟิลิปปินส์ติดลบ 7.6% อินโดนีเซียลบถึง 11.3% และมาเลเซียลบถึง 11.5% ประเทศไทยติดลบอยู่ 1% ในปี 2566เทียบกับปี 2565 การติดลบ 1% ในขณะที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน เข้ามาบริหาร ประเทศในเดือนกันยายน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคม การส่งออกของเราติดลบ 3.7% เราเข้ามาในสภาพที่ติดลบแต่เมื่อรัฐบาลนี้บริหาร 4 เดือนกันยายน – ธันวาคมเราทำมาเป็นบวกขึ้นถึง 4.8% ทำให้ภาคการส่งออกติดลบพียง 1% นอกจากนี้เดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 บวก 10% และ 3.6% นี่คือการบริหารงานของรัฐบาล
2. ถามว่า ในส่วนของวิธีการคำนวณการใช้สิทธิพิเศษทางภาษี ทำไมไม่ใช้วิธีการคำนวณโดยใช้มูลค่าการส่งออกการใช้สิทธิ์ SPA เทียบกับมูลค่ากันชนออกโดยรวมทั้งหมดเรียนว่า วิธีการคำนวณนั้นเป็นไปตามหลักสากล แนวทางการคำนวณที่กระทรวงพาณิชย์ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นแนวทางในการคำนวณที่เป็นสากลตามที่ได้หารือกับคณะกรรมการกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ข้อตกลงของระเบียงจีโอ ซึ่งผลลัพธ์ของวิธีการคำนวณดังกล่าวนั้นสามารถไปติดตามผลสถิติการใช้ประโยชน์ของ FTA ได้และสามารถนำไปสู่การพิจารณาในประเด็นกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิด และสะท้อนให้เห็นถึงการผลิตว่าทำได้อยู่จริงแค่ไหนเพียงใดเพราะฉะนั้นวิธีการคำนวณเช่นนี้เป็นวิธีการคำนวณที่เป็นสากลตามกฎของ wto  
3. ประเทศไทยทำ fca ไว้เยอะมากมาย คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ประเทศนั้นสูญเสียไปหรือไม่ เรียนว่าก่อนที่ประเทศไทยจะเริ่มคุ้มค่ากับทรัพยากรที่ประเทศนั้นสูญเสียไปหรือไม่เรียนว่า ก่อนที่ประเทศไทยจะเริ่มทำ STA ในปี 2536 การค้าในปี 2535 นั้นการส่งออกมูลค่าโดยรวมนะครับมูลค่าโดยรวมเรามีอยู่เพียง 35,697 ล้าน US Dollar แต่เมื่อเรามี fga 14 ฉบับ 15 ประเทศไม่รวมศรีลังกา ผลว่าผลปรากฏครับว่าการค้ามวลรวมของประเทศไทยนั้นมีมูลค่าถึง 343,387 ล้านเหรียญ US สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาถึง 863% เมื่อเทียบจากปี 65 มูลค่าการส่งออกนั้นปี 667,200 ล้านเหรียญ US สหรัฐ เติบโตขึ้นมาจากปี 2535 ถึง 1,153 % และมูลค่าการนำเข้าครับ 176,657 ล้านเหรียญ US เติบโตขึ้นมาจากปี 2535 ถึง 690% สิ่งที่เติบโตขึ้นมาขนาดนี้ ก็คือผลรวมของกันแต้มต่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าและการส่งออกเราสามารถส่งออกโดยแต้มในขณะเดียวกันเราก็สามารถนำสินค้าต่างๆจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนที่ต่ำมาผลิตเพราะฉะนั้นถือว่า FTA มีประโยชน์
ช่วงเวลา: 18.56 น.
ผู้อภิปราย : พลตำรวจเอก เพิ่มพูน 
ชิดชอบ รมต.กระทรวงศึกษาธิการ    ภาพรวมของแนวทางการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ เรานำนโยบายของรัฐบาลไปขับเคลื่อน นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลจะดำเนินนโยบายปฏิรูปการศึกษา และสร้่างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต สั่งการให้ทุกหน่วยในการดูแลนำนดยบายไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวทางการทำงาน “จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”  ภายใต้นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” แนวคิดในการจัดการศึกษามี 2 แนวคิดคือ การศึกษาเพื่อความเป้นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต เน้นนโยบายที่เน้นหนักในการทำงาน ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา 4 ด้าน คือ 
ปรับวิธีการประเมินวิทยาฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดขั้นตอน มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ปรับระบบประเมินตามจริง ลดการทำเอกสาร ขั้นตอนการประเมินไม่ซับซ้อน ในการทำงานต้องเวลาในการ 3 ปี เร็วที่สุดคือ 3 เดือน ใช้งบประมาณต่อหัวของครูคือประมาณ 20,000 บาท ใช้งการทำงานเป็นพันล้านในภาพรวม หลังจากดำเนินการนโยบายไปแล้วเรียกว่า วPA  DPA นำระบบดิจิทัลมาใช้ในการขับเคลื่อน โปร่งใส สามารถให้ทุกคนเข้าดูแบบประเมินในการยื่นได้ จากเดิมที่ช้าที่สุด 3 ปี เป็นช้าที่สุด 3 เดือน ทราบผลเร็วที่สุดภายใน 17 วัน ดำเนินการที่โปร่งใส ลดการเรียกรับผลประโยชน์จากคุณครู ลดภาระครูในการผลิตเอกสาร เปลี่ยนเป็นไฟล์ดิจทัลแทน มีการเพิ่มช่องทางในการประเมิน ประโยชน์หลักของนโยบายนี้คือ การคืนครูสู่ห้องเรียน 
-    ครูคืนถิ่น สามารถดยกย้ายกลับภูมิลำเนาด้วยความโปร่งใส ไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง พร้อมสำรวจครูขาดแคลนในแต่ละพื้นที่   ได้ดำเนินการขับเคลื่อนในเบื้องต้นมอบนโยบายให้แท่งงานต่าง ๆ เช่น สพฐ. อาชีวะ ไปดำเนินการให้มีการปรับย้ายครูคืนถิ่น อย่างโปร่งใส เป็นธรรม ลดการทุจริต การมีทำแพลตฟอร์ม  TMS  หรือรับบจับคู่ครูคืนถิ่น ครูสามารถลงระบบแล้ว AI  จะจับคู่ให้
-    แก้ไขหนี้สินครู ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีพมีการดำเนินการ 9 มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู มีการตั้งคณะทำงานในการขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู แบ่งครูเป็น 3 กลุ่ม เขียว มีสภาพคล่องสามารถชำระได้  เหลือง ชำระไม่ได้เท่าที่ควร แดง เป็นกลุ่มที่ถูกฟ้อง มีการป้องกันเหตุมีการสอนและเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้ครู 
-    จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการ 1 ครู 1 tablet 
-    นโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ เน้นลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง 6 ด้าน เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime เรียนฟรี มีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีระบบหรือแฟลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่เสียต่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เป็นนโยบายหลัก และช่วยสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา 
-    1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ (จำนวน 1,808 โรงเรียน) จัดให้มีการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ อย่างน้อย  1 อำเภอ 1 โรงเรียน เพื่อสร้างโรงเรียนแม่ นำไปสู่การสร้างโรงเรียนเครือข่าย ผู้อำนวยการโรงเรียนคุณภาพจะเป็นแม่ข่าย 
-    จัดระบบแนะแนวการเรียน coaching และเป้าหมายชีวิต ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ให้ทันต้องการการเปลี่นแปลงโลก ผู้เรียนมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน  การ coaching เป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้นักเรียนรู้ทิศทางของตนเอง ต้องสอนไปถึงครูเพื่อการดูแลเด็ก
-    การจัดทำระบบวัดพลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ สามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนัยบัตรในการประกอบอาชีพ สะสมหน่วยกิจเทียบวุฒิได้ เพิ่มทางเลือกในการเรียน
-    จัดทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษาและประเมินผล ถ้าเด็กมีความเป็นเลิศต้องเปิดโอกาสให้เขาสอบเทียบ 
มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคน เน้นสาขาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ตรงกับตลาดแรงงาน เน้นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ มีการดำเนินการในโรงเรียนอาชีวะ และโรงเรียนมัธยม ปัจจุบันของอาชีวะมีทวิภาคี
- การยกเลิกครูเวร เนื่องจากเป็นภาระและสร้างความเดือนร้อนให้ครู และจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขอให้ครม. อนุมัติเป้นเรื่องที่ทำร่วมกัน เพราะชีวิตและความปลอดภัยของครูสำคัญกว่าทรัพย์สิน นำไปสู่การมติครม. ในการเห็นชอบในจัดหารนักการภารโรงให้ครบทุกโรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่โรงเรียนขนาดเล็กจะไม่มี ซึ่งนายกฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในงบฯ ปี 68 สำหรับปี 67 ได้มีการขออนุมัติงบเพิ่มเติมแต่ไม่ผ่าน 
- งบอาหารกลางวัน โรงเรียนขยายโอกาส เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับโภชนาการที่ถูกต้อง ครบถ้วน 
การประเมินผล pisa ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน มีการตั้งคณะกรรมการในการขับเคลื่อน เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาและผลการประเมิน เราไม่ได้ขับเคลื่อนแค่ในกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา โดยนำโรงเรียนที่มีผลประเมินที่ดีมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนอื่น ๆ หรือโรงเรียนขยายโอกาส มีการจัดกิจกรรมความรู้ครู มีการนำแบบทดสอบ และพัฒนาการอ่านสร้างพื้นฐานสู่การคิด ให้ผู้บริหาร ครู เขต รับรู้ตัวอย่างข้อสอบ
การพัฒนาภาษาอังกฤษ ผ่านโครงการพัฒนาครูและนักเรียนให้มีสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ช่วงเวลา: 19.24 น.
ผู้อภิปราย : นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.กระทรวงศึกษาธิการ    - เรื่องของคำถามที่มีความห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องของนักการภารโรง ทางกระทรวงศึกษาธิการของงบประมาณในปี 2568 ซึ่งได้รับมติจากคณะรัฐมนตรีก็หวังได้อย่างยิ่งครับขั้นตอนต่อไปคือการผ่านมาสู่ สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในการทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ก็หวังว่าสภาแห่งนี้จะให้ความเห็นชอบเสนอมานะครับท่านสนใจไปถึงว่าแล้วเงิน งบ 67 หายไปไหนแน่นอนครับเมื่อกี้ก็ตอบชัดเจนผมขอย้ำอีกนะครับ แต่ถ้าล้มตีต่อครับว่าไม่ได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันว่าทำมาครับแต่ไม่ได้รับการพิจารณาก็ขออนุญาตไม่เป็นไรครับแล้วก็แน่นอนครับมาช่วยดูแลความปลอดภัยเราก็กำลังอยู่ระหว่างการทำเรื่องของนะครับงบกลางปี 2568 และหวังว่าคณะรัฐมนตรีกับพิจารณาเห็นชอบให้กับกระทรวงศึกษา 
- ประเด็นเรื่องความห่วงใยในอาหารกลางวัน ค่าอาหารกลางวันให้กับเด็กในโรงเรียนขยายโอกาสระดับชั้นม.1 ถึงม.3 โรงเรียนที่สอนระดับมัธยมและก็ประถมรวมกัน ซึ่งเด็กระดับประถมได้รับเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันครับ แต่เด็กมัธยมไม่ได้รับเลยเป็นที่มาของการบริหารจัดการที่ยากลำบากของผู้อำนวยการและก็คุณครูในโรงเรียนของขยายโอกาสขึ้น จะทำอย่างไรให้เด็กประถมกับเด็กมัธยมได้ทานข้าวด้วยกันได้ ปัญหาคือเงินมีแค่ประถมครับ อุดหนุนค่าอาหารกลางวันให้กับเด็กขยายในโรงเรียนขยายโอกาสมัธยม 1-3 นะครับที่จะส่งผลให้เด็กมัธยม 1-3 ในโรงเรียนขยายโอกาส 500,000 กว่าคน 7,000 กว่าแห่งโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันเราเองยังมองคิดไปถึงนะครับอย่างที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติคิดครับโรงเรียนปกติและไปถึงม.6 ด้วย เราอยากทำทั้งหมดแต่แน่นอนครับงบประมาณที่ต้องค่อยๆเดินเป็นสิ่งจำกัดของกระทรวง แต่เราไม่เคยหยุดคิดที่จะทำครับแต่แน่นอนครับก่อนที่เราจะทำไปถึงโรงเรียนมัธยมเรื่องของอาหารกลางวันเราต้องคิดครับว่าสร้างภาระให้กับครูเพิ่มขึ้นหรือไม่ในโรงเรียนเหล่านั้น คุณครูบอกว่ายังไม่อยากได้เราต้องวางระบบให้ดีครับไม่ใช่โยนงบประมาณไปแล้วให้เขาไปรับผิดชอบเรื่องอาหารกลางวันต้องไปจัดซื้อจัดจ้างต้องมาจ่ายกับข้าวตอนเช้าต้องมาทำครัวเอง อันนั้นเราไม่ทำครับ นโยบายและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในยุคนี้ครับขอยืนยันจะไม่มีนโยบายไหนต่อไปนี้ที่จะเพิ่มภาระให้กับครูโดยไม่ใช่เนื้องานการสอนโดยตรงครับ นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่นโยบายที่ลดภาระคุณครูครับ และช่วยลดพลังงานให้กับครูให้ครูได้มีเวลาสอนมากขึ้นรับตำแหน่งมาเราได้ทำโทรสำรวจกับคุณครูทั่วประเทศครับว่าเนื้องานไหนภาระไหนที่คุณครูอยากให้ยกเลิกการลดภาระครูและก็คืนครูให้โรงเรียน ความหวังของกระทรวงว่าการที่ยกเลิกเวรรักษาการณ์ของครูจะทำให้คุณครูมีเวลาในการทำเตรียมการเรียนการสอนมากขึ้นมีเวลาในการพัฒนาตัวเองมีเวลาให้กับคุณและก็จะสร้างประสิทธิภาพในการสอนมากขึ้นนั่นคือความมุ่งหวังครับแล้วถามว่ายกเลิกปุบปับเลยไม่ได้ ความปลอดภัยของคุณครูมากกว่าทรัพย์สินครับ อยากให้ผู้เรียนสบายใจนะครับว่าการที่ของที่ท่านปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่แล้วแล้วยังเกิดเหตุการณ์ถึงนิสัยอันนั้นไม่ใช่ความผิดครับ และการยกเลิกครูเวรท่านนายกขอให้ประสานความร่วมมือไปกับตำรวจให้กับฝ่ายปกครองที่มาช่วยดูแน่นอนครับ อาจจะได้ดูได้บางครั้งแต่การเตรียมการของกระทรวงต่อไปก็คือการเริ่มให้โรงเรียนต่างๆสำรวจในเรื่องโครงสร้างห้องที่เก็บของสำคัญ
- โรงเรียนคุณภาพท่านก็ห่วงใยครับว่าจะเลือกแต่โรงเรียนใหญ่ๆ เรื่องโรงเรียนที่มีศักยภาพอยู่แล้วจนทำให้โรงเรียนเหล่านั้นดีอยู่แล้วดีขึ้นไปอีก แล้วโรงเรียนที่ไม่ขาดแคลนโรงเรียนขนาดเล็กก็จะแย่ตามไป จริงๆแล้วการพิจารณาโรงเรียนคุณภาพของเรานั้นพิจารณาบนพื้นฐานนี้ครับ 1 มีสถานที่กว้างพอครับทำไมต้องมีสถานที่กว้างพอครับถ้าเป็นเรื่องพื้นที่โรงเรียนที่มีขนาดเล็กเกินไปเราไม่สามารถพัฒนาคุณภาพโดยโครงสร้างพื้นฐานได้เลยครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักเรียนในการเรียนการสอน 2 เป็นจุดที่สามารถเดินทางไปมาสะดวกครับ ทำไมต้องเลือกจุดที่สะดวกครับเป็นศูนย์กลางเพราะโรงเรียนคุณภาพเนี่ยนะครับต่อไปจะเป็นโรงเรียนที่จะต้องแชร์บุคลากรและสามารถให้เด็กในโรงเรียนขนาดเล็กมาร่วมเรียนกับโรงเรียนคุณภาพเหล่านี้ได้ การเดินทางเป็นสิ่งที่จำเป็นครับสามารถส่งเด็กมาเรียนกับโรงเรียนคุณภาพได้โดยการเบิกค่าใช้จ่ายการเดินทางได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งนะครับ ถ้าเรามีโรงเรียนคุณภาพครบทุกอำเภอแน่นอนครับโรงเรียนประจำจังหวัดใหญ่ๆที่มีการแข่งขันกันสูงในการสอบก็จะลดความแออัดลงไป กระทรวงกำลังทำครับวันนี้การอุดหนุนเงินรายบุคคลต่างๆเป็นปัญหาโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กครับเพราะทุกอย่างเป็นประโยชน์กับการศึกษา การศึกษาไม่ได้ทำเพื่อใครแต่ทำเพื่อประชาชน

ช่วงเวลา: 19.35 น.
ผู้อภิปราย : นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม    -ขอบคุณสมาชิกผู้ทรงเกียรติ เบญจา แสงจันทร์ อภิปรายถึงประเด็นปิดเหมืองทองแร่อัครา ในสมัยรัฐยาลที่ผ่านมา
-ขอชี้แจงเพื่อไม่ให้สังคมเคลือบแคลงสงสัย จากคำถามเหตุใดจึงต้องเลื่อนคำชี้ขาดอนุโยตุลาการออกไป ในการเริ่มเหมืองทอง
อัคราเริ่มสำรวจ 2538 ก่อนรัฐบาลไทยรักไทยเข้ามา และเปิดเหมืองทองอัครา ปี 2544 สมัยนั้นประเทศไทยยังไม่มีความสามารถ ศักยภาพ เทคนิค ในการทำเหมืองแร่ทองคำ จึงมีการดึงดูดเอฟดีไอเข้ามาลงทุน จนทำให้เกิดความสำเร็จในโครงการภายใต้กรอบความตกลงเสรีทางการค้าอาฟต้า ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยทั้งค่าภาคหลวง ภาษีรายได้นิติบุคคล รวมทั้งสิ้นจนถึงขณะนี้กว่า 5,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการสร้างงานให้กับพื้นที่ กว่า 2,000 คน 
-ต่อมาด้วยเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องปิดเหมืองทองอัครา จากสาเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ ชีวิตและทรัพย์สิน และความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวกระทบต่อคู่สัญญา เอฟทีเอระหว่างไทยกับออสเตรเลีย  เมื่อเป็นข้อวิพาทระหว่างประเทศทำให้เกิดการฟ้องร้อง จนต้องนำเข้าสู่กระบวนการคณะอนุญาโตตุลาการ โยเหตุเกิดก่อนผมจะมาเป็น รมว.อุตสาหกรรม และเมื่อ ปี 2562 ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.อุตฯ นั้นมาพบปัญหาการฟ้องร้องของบริษัทคิงเกต ก็แก้ปัญหาโดยยึดหลักรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติต้องมาก่อน 
-ซึ่งก็ไม่ได้ทำโดยพลการ แต่เป็นการดำเนินการตามคำแนะนำของคณะอนุญาโตตุลาการ ส่วนการเลื่อนอ่านคำพิพากษาก็เป็นขั้นตอนหนึ่งของการเจรจาภายใต้อนุญาโตตุลาการ โดยในทุกขั้นตอนจะมีตัวแทนของคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข่ามาร่วมเจรจาและร่วมกันตัดสินใจทุกครั้ง เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ โดยทำตามกรอบกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ข้อพิพาทยังไม่ถึงที่สุด 

ช่วงเวลา: 19.47 น.
ผู้อภิปราย : พิมพ์ภัทรา  วิชัยกุล 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม    ชี้แจงเรื่องเหมืองอัครา
ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อนอื่นต้องขอบคุณท่านเบญจา แสงจันทร์ ผ่านท่านประธาน แล้วก็กราบขอบพระคุณท่านอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้เริ่มต้นทำความเข้าใจเพื่อนสมาชิกและพี่น้องประชาชนที่กำลังรับฟังกรณีเรื่องของ เหมืองอัครา ในตอนนี้ ก่อนอื่นมีเรื่องขออนุญาตท่านประธานในการอธิบายความจริงซึ่งอาจจะเป็นอีกมุมนึงซึ่งอาจจะมีมุมที่ไม่ตรงกันกับท่านสมาชิกที่อภิปรายเมื่อสักครู่ ดิฉันขออธิบายทำความเข้าใจเรื่องของเหมืองทองอัครา เหมืองทองอัคราได้เริ่มเปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2545 ก็ต่อมาในช่วงปี 2557 ได้มีการร้องเรียนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่แล้วได้เกิดกรณีพิพาทกันระหว่างพี่น้องประชาชน 2 กลุ่มเป็นเรื่องใหญ่ในขณะนั้น และที่สำคัญที่สุดมีผลกระทบจากการทำเหมือง มีการกล่าวอ้างว่าเกิดผลกระทบขึ้นต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนและที่สำคัญตอนนั้น ท่านอดีตนายกรัฐมนตรีท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  ได้มีการสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ มีการตั้งคณะกรรมการหลายคณะ รวมทั้งได้มีการสั่งการกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 4 กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม  กระทรวงสาธารณสุข และที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีได้เข้าไปตรวจสอบข้อร้องเรียนดังกล่าวที่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้มีความกังวลแล้ว หลังจากนั้นต้องใช้ระยะเวลากว่า 3 ปีด้วยกัน จากปี 57 ในการหาสาเหตุที่แท้จริงว่าข้อกล่าวหาที่พี่น้องประชาชนว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพเกิดจากการทำเหมืองทองอัคราหรือไม่ปรากฏว่าเวลาผ่านไป 3 ปี ความจริงยังไม่ปรากฏ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมเองซึ่งเป็นเจ้าภาพได้เสนอขอให้มีการใช้มาตรา 44 เพื่อที่จะระงับการทำเหมืองแร่ทองคำไว้ชั่วคราวก่อนแล้วก็ถือเป็นมาตรการที่จะต้องใช้เพื่อป้องกันและก็แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่มีผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของพี่น้องประชาชนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและที่สำคัญที่สุดต้องใช้เวลาในการศึกษา แล้วก็พิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ได้ว่าการทำเหมืองแร่ดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงกับพี่น้องประชาชนหรือไม่ ระยะเวลาที่ดังกล่าวที่ปิดขอให้หยุดทำการนั้นก็ไม่ใช่แค่หยุดทำการแต่ต้องไปปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยที่เกี่ยวกับแร่ทั้งหมดที่มีความล้าสมัยเพื่อให้สามารถสร้างความมั่นใจเรื่องของความปลอดภัยแล้วก็ป้องกันผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งในขณะนั้นเองทาง บริษัทคิงเกตซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท อัครา ก็มีความเห็นที่ไม่ตรงกับทางรัฐบาลแล้วก็ไม่เข้าใจเห็นว่าทางบริษัทเองได้รับผลกระทบก็เลยนำเรื่องนี้ไปยังอนุญาโตตุลาการ ค่อนข้างจะแตกต่างกับกรณีที่ท่านสมาชิกได้พูดถึงว่าห่างกันไปอีกหลายกิโลเมตรทำไมถึงไม่ใช้มาตรา 44 เหตุของอัคราที่เกิดเหตุไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนว่าสาเหตุ สุขภาพของพี่น้องประชาชนที่เกิดขึ้นเกิดจากกรณีของเมืองทอง จากการทำกิจกรรมของเหมืองทองหรือไม่ แต่ตัวพื้นที่ที่ห่างไปมันชัดเจน แต่ว่าเกิดเหตุของแร่ชนิดไหนผลกระทบอย่างไรมีสาเหตุที่มาที่ไปชัดเจน ขอทำความเข้าใจประเด็นนี้เป็นประเด็นแรก
ต่อมาในปี 2560 ประเทศไทยมีการปรับปรุงกฎหมายเรื่องของเเร่ครั้งใหญ่เป็น พ.ร.บ. แร่ 2560 มีการออกกำหนดมาตรการที่ป้องกันผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมมาตรการดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนที่จะต้องทำอย่างเข้มงวดและที่สำคัญที่สุดจะต้องมีการจัดตั้งกองทุนต่างๆเพื่อเข้าดูแล และที่สำคัญต้องมีมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นการอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะว่าในที่สุดทางอัคราเองก็สามารถหาบริษัทดีไฟล์ที่อยู่ในประเทศ ดิฉันเองก็เลยบอกว่าทั้งหมดทั้งสิ้นก็ทำตามกระบวนการอีกเช่นกัน ที่มีการกล่าวหาว่าเอาผงทองดังกล่าวไปแลกเป็นค่าชดเชยในคดีของที่กำลังดำเนินการอยู่หรือว่าในคดีขออนุญาโตตุลาการหรือไม่นั้นเป็นอีกเหตุผลนึงที่จะไปรองรับคำถามที่ท่านถามไว้ก็คือสิทธิ์ของเขากระบวนการถูกต้องก็สามารถดำเนินการได้ ปี 2563 และปี 2564 บริษัทอัคราได้กลับมาดำเนินกิจกรรมอีกครั้งหนึ่ง ถามว่าทำไมถึงได้มีการกลับเข้ามาขอดำเนินการเข้ากลับเข้ามาดำเนินการขออนุญาต เรื่องที่เคยขอไว้ก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้เนี่ยมีข้อพิพาทที่ค้างดำเนินการค้ากันอยู่แต่ว่าถ้าไปดูในแผนภาพสถิติของราคาทองคำท่านเห็นชัดนะคะปี 63 ราคาทองสูงขึ้นอย่างชัดเจนเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทางอัคราเองให้ความสนใจแล้วคิดจะกลับมาลงทุนใหม่อีกรอบเพราะเห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุนแล้วก็ที่สำคัญที่สุด คำขออัธยาศัยพิเศษเพื่อสำรวจแรกคำขออาชญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจแร่ก็คือขอสำรวจ 40 ปี ไม่ใช่อยู่ดีๆ อนุญาตแต่คำขอเขาขอมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2546 ต่อเนื่องมาถึง 48 ขอมาก่อนหน้านี้แล้วและที่สำคัญที่สุดคณะกรรมการพิจารณาว่าเขาดำเนินการกิจการต่อได้ได้สามารถประกอบกิจการต่อได้ทรัพย์สินอันนั้นก็ต้องกลับมาเป็นของผู้ประกอบการเดิมเช่นกันและที่สำคัญที่สุดในตัว พ.ร.บ.แร่ 2560 ก็กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าถ้าจะให้ทำตัวโกสลัก ที่มีอยู่เดิมก็ต้องมีการชำระภาคหลวงให้ถูกต้องครบถ้วนแล้วก็สามารถที่จะหาผู้ที่จะ refine ให้มีความบริสุทธิ์ภายในประเทศย้ำขีดเส้นใต้ ภายในประเทศ สำรวจแรกคำขออาชญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจแรกก็คือขอสำรวจใช่ไหมคะ 44 แปลงด้วยกันนะคะขอสำรวจ 40 ปีนี้ ที่สำคัญที่สุดก็กลับไปที่ พ.ร.บแร่ 2560 อีกครั้งนึงก็คือต้องคำนึงนะคะถึงประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเรื่องสุขภาพและที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของกองทุนมาตรการในการป้องกันเรื่องผลกระทบของสิ่งแวดล้อมเนี่ยก็ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามขั้นตอนการกฎกฎหมายที่สำคัญที่สุดไม่มีการร้องเรียนของชุมชนในพื้นที่ทางกรรมการทั้งหมดก็ได้อนุญาตให้อัคราได้ใบอนุญาตที่เราเรียกว่าใบอาญา บัตรสำรวจแร่ทองคำให้เกิดขึ้นได้ใน 44 แปลง ดิฉันขอยืนยันอีกครั้งนึงว่าการดูแลประกอบกิจการเหมืองแร่ในปัจจุบันนี้โดยเฉพาะเรื่องของเหมืองแร่ทองคำเนี่ยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อย่างยิ่งแล้วมันมีประเด็นอีกประเด็นหนึ่งที่เพื่อนสมาชิกได้มีความกังวลและพูดถึง นั่นก็คือส่วนของมาตรการส่งเสริมการลงทุน ขณะที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีและได้มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมพุทธศักราช 2565 ได้มีความเห็นชอบนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่นะคะและอุตสาหกรรมต่อเนื่องตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอซึ่งตอนนั้นเนี่ยให้ความสำคัญกับห่วงโซ่อุปทานของทรัพยากรแร่ที่ถือว่าเป็นปัจจัยยุทธศาสตร์และสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ หลายท่านก็ถามว่าอ้แล้วทำไมอัคราถึงได้สิทธิ์ทำBOI ถ้าท่านมีแปลไอเท็มก็สามารถทำได้เพราะวันนี้แร่คือความมั่นคงของรัฐคือความมั่นคงทางปุ๋ยเพราะฉะนั้นถ้าเห็นว่ามันมีศักยภาพก็สามารถอนุญาตอนุมัติ
มาถึงประเด็นที่ท่านมีความสงสัยมากว่าทำไมรองนายกรัฐมนตรีขออนุญาตเอ่ยนามท่านประธานคะท่านรองนายกพีระพันธ์สาลีรัฐวิภาคถึงมาดูแลมาเป็นประธานในการเป็นหัวโต๊ะในการนั่งประทานนโยบายการจัดการและแห่งชาติ ไม่แปลกเลย นี่คือสายบังคับบัญชาตามสายงาน ท่านรองนายกพีระพันธรัฐสาลีและทวิภาคท่านเป็นรองนายกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซึ่งดูแลกระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ค่ะ ก่อนหน้านี้ถ้าท่านไม่ดูสายงานบังคับบัญชามีการแบ่งงานชัดเจนก็เป็นแบบนี้ทุกครั้ง ท่านอย่าเอาเรื่องการเมืองมาปนกับการบริหารงานรัฐเห็นว่ามันไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา 
ภายใต้กรอบของกฎหมายซึ่งมีสิทธิ์เช่นเดียวกันกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ นอกจากนี้ทางฝ่ายไทยเองยังได้ประโยชน์อีกด้วยมีการกลับมาประกอบกิจการของเหมืองทองอีกครั้งซึ่งดังที่ท่านอดีตรัฐมนตรีว่าการท่านได้พูดถึงวันนี้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นช่วยให้เศรษฐกิจในพื้นที่มีการหมุนเวียนมีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านที่ดูแลชุมชนรอบๆนะคะและที่สำคัญที่สุดในส่วนของประเทศเองก็ได้ใช้ประโยชน์ในการนำแร่ทองคำกลับมาใช้ประโยชน์และที่สำคัญที่สุดได้มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องก็คือตัว refine ที่ไปทำให้ทองคำบริสุทธิ์ที่มีอยู่ในประเทศเนี่ยสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ค่ะ ที่สำคัญมากไปกว่านั้นท่านประธานค่ะเงินค่าภาคหลวงที่เราได้รับจากการประกอบกิจการนะคะ 60% ของเงินภาคหลวงจะส่งคืนที่น้องประชาชนที่อยู่ในชุมชนผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ก่อนก่อนก่อนที่จะคาราจะโดนปิดโดนระงับกิจการนี้ตั้งแต่ปี 60 อัคราจ่ายค่าภาคหลวงให้กับประเทศไทยมูลค่าสูงถึง 4,400 ล้านบาท ในขณะเดียวกันการกลับมาของการประกอบกิจการของเมืองอัคราก็ไม่ได้อยู่ๆกลับมาดังข้อกล่าวหาที่ท่านพูดทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมายแล้วไม่ใช่กฎหมายเดิมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แร่ 2,560 แล้วก็การอนุมัติอนุญาตต่างๆก็ต้องเป็นสิทธิ์ที่ผู้ประกอบการไปขอนะคะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบตรวจสอบเสร็จผ่าน พรบ ตาม พรบ ที่พูดที่ได้เกี่ยวข้องสามารถอนุมัติได้ มาถึงประเด็นสำคัญ ท่านกล่าวหาว่ามีการแลกเปลี่ยนจนเกิดประโยชน์ให้กับบริษัทหรือไม่ดิฉันบอกเลยว่าทางสมุทรสาครจำกัดเฉพาะในขอบเขตความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรมเท่านั้นและดิฉันก็เชื่อมั่นว่า คดีต่างๆที่อยู่ในหน่วยงานต่างๆ คนที่เป็นเจ้าของกฎหมายคงไม่อยากไปแตะเปื้อนและคงไม่อยากที่จะทำผิดเป็นถูกดำเป็นขาวค่ะเพราะฉะนั้นกระบวนการขั้นตอนทางกฎหมายไม่สามารถแทรกแซงได้และที่สำคัญที่สุดที่เห็นคิดว่าไม่เป็นธรรมที่จะกล่าวอ้างว่าเอาคดีความต่างๆไปแลกกับการเปิดกิจการ 
มาประเด็นสุดท้าย ท่านถามว่าจะจัดการกับคดีนายกรัฐมนตรีที่ออกมาตรา 44 ในการทำเรื่องนี้หรือไม่อย่างไรและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้นที่ฉันคิดว่าท่านต้องให้ความเป็นธรรมหรือเรื่องที่มาที่ไปก่อนที่จะต้องมีมาตรา 44 ดิฉันได้บอกแล้วว่าทำไมต้องใช้มาตรา 44 กับพื้นที่ตรงนี้เพราะมันมีความขัดแย้งและมันดูแล้วจะบานปลายหาสาเหตุไม่ได้จำเป็นจะต้องใช้มาตรา 44 มาตรา 44 ก็ไม่ได้อยู่ๆ จะเกิดจะไปทำเองทำโดยลำพังก็ไม่ได้อีกก็ยังมีการไปขอความคิดเห็นจากกระทรวงต่างๆ เห็นชอบก็มี การไม่เห็นชอบแต่มีหมายเหตุต่างๆก็มีอีก ทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ได้ทำเพียงลำพังแต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเราทำเพื่อป้องกันและระงับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน ที่สำคัญขณะนั้นก็ต้องทำเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย
ช่วงเวลา: 20.09 น.
ผู้อภิปราย : นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รมต.กระทรวงสาธารณสุข    -การจัดรูปแบบกัญชา เริ่มต้นที่กฎหมายไทย ตามประมาลกฎหมายยาเสพติด 2564 กัญชาเป็นยาเสพติดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อรัฐบาลที่ผ่านมา ให้สารสกัดกัญชาที่มีค่า THC มากกว่า 0.2% โดยน้ำหนักขึ้นไปเป็นยาเสพติด ประกาศของกระทรวงฯ ปี 2565 ว่าด้วยสมุนไพรควบคุม ประกาศให้กัญชา เป็นสมุนไพรควบคุมตาม พ.ร.บ. คุ้มครองส่งเสริมแพทย์แผนไทย ที่ออกเมื่อปี 42 เฉพาะช่อดอกที่เป็นสมุนไพรควบคุม มีการบัญญัติทั้งให้ใช้และห้ามใช้ เช่น ห้ามจำหน่ายหรือแปรรูปช่อดอกเพื่อการจัดจำหน่ายให้แก่นักเรียน นักศึกษา เป็นต้น นี่คือสถานะของกัญชาในกฎหมายไทย คือ ราก ต้น ใบ ไม่จัดว่าเป็นยาเสพติด 
-ตามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดของสหประชาชาติ กัญชาถูกจัดให้เป็นยาเสพติดอยู่ตามบัญชีที่ 1 คือยาเสพติดที่อยู่ในบัญชีที่ 1 เป็นยาเสพติดที่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ เดิมก่อนหน้าปี 63 กัญชาถูกจัดอยู่ในบัญชีที่ 4 คือยาเสพติดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต 
-นโยบายกัญชาของไทยเป็นอย่างไร จากคำแถลงการณ์ของนายกฯ ในเรื่องกัญชา นายกฯ พูดชัดเจนว่ากัญชาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับแพทย์และสุขภาพเท่านั้น และตามอนุสัญญาเดี่ยวถ้าจะนำมาใช้ทางการแพทย์และสุขภาพ  รัฐ หรือภาคีประเทศต้องออกกฎหมายมาควบคุม ขณะนี้รัฐบาลนี้ได้เสนอร่างกฎหมายกัญชา และกัญชงเข้าสู่การพิจารณาครม. ขณะนี้ร่างเสร็จเรียบร้อยอยู่ในขั้นตอนของเลขาธิการรัฐมนตรีขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอรัฐมนตรีต่อไป เมื่อเห็นชอบจะเสนอสู่สภา กฎหมายนี้เป้นกฎหมายควบคุมการใช้กัญชาที่นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อทางการแพทย์ และสุขภาพ ถ้าใช้นอกเหนือจากนี้ถือว่าใช้ผิดประเภท การปลูก การผลิตต้องขออนุญาต
-ยาบ้า 5 เม็ด การเปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย ที่ท่านปรีดา บุญเพลิง กล่าวหาว่า “หมอชลน่าน เป็นฆาตกรผ่อนส่ง” อยากให้ยกเลิกยาบ้า 5 เม็ด ปรีดา บุญเพลิง เป็นคนลงคะแนนเสียงให้กฎหมายปี 64 การพูดแบบนี้แปลว่าไม่รู้เจตนา ถ้าถามแบบนี้แปลว่าไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ไม่ผิดเพราะสังคมไทยขณะนี้ องค์การค้าโลกออกการสำรวจมาแล้ว่าการอ่านของคนไทยสั้นมาก เอากระแสโซเชียลว่าผมว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจผิด เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ ประมวลกฎหมายยาเสพติดต้องการเปลี่ยนวิธีการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพราะดูผลการแก้ไขปัญหายาเสพติดจากทั้งโลก ใช้มาถึงปี 63  ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากกฎหมายเข้มข้น โทษหนัก ตีตรา ติดคุก การออกกฎหมายลักษณะแบบนี้ยากที่จะคืนคนดีสู่สังคม บำบัดจนหายแล้วยังเป็นผู้เสพยาเสพติดมีประวัติอาชญากรรม กฎหมายฉบับนี้ต้องให้โอกาสคนบำบัดรักษา เพื่อแยกคนที่ไม่มีเจตนาค้า จำหน่าย จ่าย แจก ให้โอกาสกลับสู่สังคมในฐานะคนดี คนปกติ ไม่ถูกตีตราไม่เป็นคดี จึงได้ออกกฎกระทรวงนี้ออกมา เพิ่มโอกาสสู่การบำบัด เพราะเชื่อว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ปัจจุบันสังคมไทยมียาบ้า 1 ล้าน 9 แสน คน รวมทั้งผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด ถ้าไม่แยกจำนวนนี้ออกมา พวกนี้จะกลายเป็นผู้ค้าต่อ นี่คือเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ พยายามลดทอนเรื่องความเป็นอาญา แต่ยังคงความเป็นอาญาไว้ ผู้ค้า ผู้ครอบครอง ผู้เสพ ครอบครอบ 1 เม็ด มีความผิดติดคุกตามกฎหมาย 5 เม็ด 10 เม็ดก็ผิด แต่ว่าถ้าไม่ได้มีพฤติกรรมว่ามีการค้า และสมัครใจเข้าสู่การบำบัด เข้าให้โอกาสว่าถ้าครอบครองไม่เกิน 5 เม็ด สันนิษฐานไว้ว่าเป็นผู้เสพ และเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยตามนโยบายรัฐบาล เข้าสู่การบำบัด การเปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วยต้องสมัครใจเท่านั้น ครบแล้วมีใบรับรอง กฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา 169  ให้พ้นจากความผิด การบำบัดแบ่งออกเป็นสองส่วน ผู้เสพผู้ติดที่มีอาการเข้าสู่บำบัดทางการแพทย์ ผู้ใช้ที่ไม่มีอาการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูทางสังคม ที่เรียกว่าชุมชนล้อมรัก หรือชุมชนเป็นฐานในการบำบัด มี 9 ฐานการบำบัด เรื่องของปัญญา อาชีพ เรื่องของสุขภาพ มีหนังสือรับรองส่งมอบคืนสู่สังคม  เมื่อวันที่18 มีนาคมที่ผ่าน 176 คน ไม่ผ่านการบำบัดแค่ 21 คน ต้องบำบัดต่อ 
-ประเด็นจำนวนสถานที่การบำบัดที่ไม่เพียงพอ เรามีการจัดตั้งมินิธัญรักษ์ทั้ง 77 จังหวัด มีหอผู้ป่วยจิตเวชทุกจังหวัด มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดทุกอำเภอทุกโรงพยาบาลชุมชน นี่คือสิ่งที่เราวางเอาไว้ ถึงเราจะมีทรัพยากรจำกัด แต่เราพยายามเร่งรัดนโยบายให้สำเร็จภายใน 100 วัน เราได้สถานบำบัดทางการแพทย์เป็นโรงพยายาบลของกระทรวงฯ รองรับผู้ป่วยได้ 6314 เตียง อยู่ในโรงพยาบาลสังกัดปลัดกระทรวงฯ  3427 เตียง โรงพยาบาลระดับจังหวัด 127 แห่ง  เป็นต้น 
-ผลงานบำบัดชุมชนล้อมรัก ผู้เข้าบำบัดข้อมูลถึงวันที่ 24 มีนาคม สะสม 56854  ราย เป็นสีแดง 7422 ราย สีส้ม 2819 ราย สีเหลือง 1411 ราย สีเขียว กลุ่มที่ไม่มีอาการจาก 1 ล้าน 9 แสนคน เข้าสู่การบำบัดกว่าสี่หมื่นคน แยกตามโรงพยายบาลต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราขยายไปให้ควบคุม เช่น บึงกาฬโมเดล น่านโมเดล ตามกฎหมายใหม่ถ้าเราให้โอกาสเข้าสู่การบำบัด โอกาสคืนคนดีสู่สังคม
ช่วงเวลา: 20.35 น.
ผู้อภิปราย : นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร สส. พรรคประชาธิปัตย์    -การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดในนโยบายเร่งด่วนที่ท่านได้วางไว้ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของพี่น้องประชาชนไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับพี่น้องประชาชนและที่สำคัญค่ะเป็นนโยบายอีกนโยบายหนึ่งที่มีความสำคัญ กับพี่น้องประชาชนอย่างมากที่ดิฉันจะอภิปรายในวันนี้ก็คือนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดค่ะ คุณหมอชลน่าน ศรีแก้ว รมต.กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงในเรื่องของปัญหายาเสพติดมาแล้ว กฎหมายที่ผ่านมาแต่ขณะนั้นก็คือจำนวน 1 เม็ด ขออนุญาตเสนอปัญหาของพี่น้องประชาชนในเรื่องของการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรื่องของการออกกฎหมายของกระทรวงยาบ้า 5 เม็ด ที่ท่านได้พูด ไม่มีหลักการทางวิชาการใดๆทั้งในต่างประเทศ ในประเทศของเราที่จะบอกว่าถ้าเราใช้กันครอบครองยาบ้า 5 เม็ด ก็จะเป็นการถือว่าเป็นผู้เสพค่ะ เพราะทางแก้ปัญหายาเสพติดต้องเผารากเผาโคนให้จบสิ้นโดยเร็วที่สุดค่ะ เพราะวันนี้กฎหมายยาบ้า 5 เม็ด มันมีผลกระทบตามมาอย่างมากมาย สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ปัญหาแรกที่ฉันได้เห็นก็คือว่า 1 เกิดคดีอาชญากรรมมากที่สุด 2 ผู้ค้ารายย่อยก็มากขึ้นด้วย 3 เจ้าหน้าที่รัฐทำงานอย่างหนักขึ้น และ 4 อย่างบอกว่าขาดศูนย์บำบัดและขาดบุคลากร 
- วันนี้ปัญหายาเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอาชญากรรมซึ่งเราจะเห็นได้ว่าปัญหาอาชญากรรมถึง 80% ด้วยกันนั้นเรามาจากปัญหายาเสพติด วันนี้เราจะเห็นได้ว่าการจับกุมยาบ้ามีเพิ่มมากขึ้น ใน 7 เดือน ตั้งแต่ตุลาคม 2566 จนถึงกุมภาพันธ์ 2567 มียอดที่เราจับกุมทั้งสิ้นและยังมีอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ อาจจะผ่านไปทางรายย่อยต่างๆหรืออาจจะผ่านไปยังเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ค้าได้ เพราะบุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นการขายยาบ้าเขาก็สามารถถือไปครั้งละ 5 เม็ด และเมื่อโดนจับกลุ่มก็ถือว่าเป็นผู้เสพแล้วนำไปบำบัด เข้าใจว่ายาบ้า 1 เม็ดก็สามารถที่จะจับกุมได้เราดูที่พฤติกรรม แต่การปฏิบัติจริงแฝงเป็นการขายมากกว่า อาจจะเป็นการว่าเสพไม่ขาย ยาบ้าลดราคาลงและที่สำคัญทำเป็นแผง แผงละ 5 เม็ด แล้วขายเหมือนขายถั่วลิสงที่ใส่ถุงบรรจุขาย แต่ละจังหวัดให้ตั้งศูนย์บำบัดยาเสพติดในระดับจังหวัดในระดับอำเภอระดับชุมชน แต่ท่านรัฐมนตรีคะท่านนายกคะท่านได้ถามพวกเขาไหมเขาว่าจะเอางบประมาณจากตรงไหน เอาบุคลากรมาจากไหน ณ ตอนนี้จะเอาสถานที่ไหนที่เป็นศูนย์บำบัดที่ที่เหมาะสม ณ ตอนนี้ และกลไกที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายไป ใครไม่ทำงานก็ต้องไปดูว่าทำไมไม่ทำงาน ผมอยู่ไกลเหตุที่นำเขามาบำบัดถ้ากลไกไม่ทำงานก็ทำไม่สำเร็จพอเห็นมีปัญหาก็มาด่าผมคนเดียวไม่ยุติธรรมผมก็ไม่อยากว่าพวกเดียวกัน ถ้าผมเป็นนายกใครไม่ทำงานระดับจังหวัดก็สั่งย้ายทั้งหมดซึ่งกลไกนี้เคยทำสำเร็จมาแล้วในสมัยนายกทักษิณชินวัตรที่ท่านก็คงอึดอัดผลกระทบผู้นำของท่านนายกรัฐมนตรีไม่มีใครปฏิบัติตามเลย เพราะอะไรคะ เพราะท่านเป็นนายกไร้ตัวตน ซึ่งนายกตัวจริงตอนนี้ก็คือ คุณทักษิณชินวัตร
- รัฐบาลมองแค่มิติเดียวก็คือผู้เสพคือผู้ป่วย จริงๆแล้วรัฐบาลจะต้องมองอีกหลายๆมิติ วันนี้เราจะมองว่าถ้าเราจะออกกฎกระทรวงตัวนี้ขึ้นมาเราจะต้องมีการเตรียมการในเรื่องที่ท่านได้พูด เตรียมการในเรื่องของการออกศูนย์บำบัดให้เพียงพอก่อน จะต้องเตรียมในเรื่องของบุคลากรให้เพียงพอ และที่สำคัญงบประมาณ ตรงนี้สำคัญเพราะว่าคนในพื้นที่สะท้อนปัญหา สุดท้ายนโยบายยาบ้า 5 เม็ด เรามาถูกทางหรือวางแผนผิดตั้งแต่ต้น

         
มอนิเตอร์ : นางสาวระพีพรรณ์  บุญบริสุทธิ์
    มอนิเตอร์ : นางปณิตา  แสนเจ๊ก
    มอนิเตอร์ : นางสาววัลนิภา  อำไพจิตร
          บรรณาธิการ : นายธนพิชฌน์  แก้วกา


ผู้อภิปราย    ประเด็น
ช่วงเวลา:  20.53 น.                   
ผู้อภิปราย : ราชิต สุดพุ่ม  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์     - นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายการตระหนักถึงปัญหายาเสพติด เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย เมื่อรักษาหายก็จะส่งต่อสู่ครอบครัว เเต่เหตุการณ์กราดยิงที่หนองบัวลำภู และลูกติดยาเสพติด ฆ่าตัดศีรษะแม่ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ประชาชนเกิดความไม่แน่ใจในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ท่านไม่สามารถทำได้ตามที่แถลงนโยบาย 
- สาเหตุที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้
1) รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ไม่กระตือรือร้น ขอเสนอตัวชี้วัดกับรัฐบาลว่าใน 120 วัน               หากมีเหตุการณ์พ่อแม่เสียชีวิตจากคนคลุ้มคลั่ง 60 คนขึ้นไป ถือว่าทำงานล้มเหลว 
2) หน่วยงานที่รับผิดชอบปัญหาด้านยาเสพติด ไม่มีแผนงานและโครงการใหม่ พบมีแค่โครงการเดิมๆ ซึ่งผลลัพธ์ก็จะหนักยิ่งกว่าเดิม
3) รัฐบาลให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมากกว่าทรัพยากรมนุษย์ ขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับสังคม ประชาชนมากกว่านี้ 
4) รัฐบาลไม่ให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน เช่น ประชาชนไม่เข้าใจระเบียบยาบ้า 5 เม็ดด้วยซ้ำ ส่วนการเปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วยนั้นเป็นเพราะปัญหาห้องขังไม่เพียงพอหรือไม่ 
5) รัฐบาลไม่มีความจริงใจในการบำบัดรักษา ขอตั้งคำถามว่า ถ้าเจอคนคลั่งยาในที่สาธารณะ ใครเป็นคนควบคุมตัว แล้วจะเอาไปขังที่ไหน ในข้อเท็จจริงพบว่าทุกกระบวนการมีค่าใช้จ่าย บางครั้งอาจจ่ายในรูปแบบสินน้ำใจ ติดต่อไปยังสถานบำบัด           ได้รับคำตอบว่า เต็ม ส่วนสถานบำบัดเอกชน เรียกค่าแรกเข้าถึง 10,000 บาท ถือเป็นการซ้ำเติมคนยากจน
- ข้อเสนอแนะเพื่อให้รัฐบาลนำไปพิจารณา
1) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้วยจิตวิญวิญญาณ
2) จัดทำเป็นวาระแห่งชาติและระดมกำลังทุกภาคส่วน ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนักจิตวิทยาของกระทรวงสาธารณสุข
3) ให้ความสำคัญภาคสังคมไม่น้อยกว่าภาคเศรษฐกิจ
4) ทำความเข้าใจสื่อสารกับประชาชนอย่างบริสุทธิ์ใจ
5) มองเด็กและเยาวชนเป็นลูกหลาน
6) ถ่ายโอนภารกิจป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ช่วงเวลา:  21.10 น.
ผู้อภิปราย : คริษฐ์ ปานเนียม 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล

    - อภิปรายนโยบายโครงการเลี้ยงโคของไทย 
- ปี 2536 โคอีสานเขียว ปี 2547 โคเอื้ออาทร หรือโคล้านตัว ปี 2555 ค้าวัวเป็น ปี 2561 โคเนื้อล้านครอบครัว หรือโคแก้จน รัฐให้ยืม 10 ปี ค่อยเอาคือสุดท้ายขายฝัน ปี 2563 โคบาลบูรพา ส่งเสริมให้เอามาเลี้ยงสุดท้ายไม่ท้อง ปี 2565 กู้ยืมกองทุนหมู่บ้านเพื่อเลี้ยงโค ปี 2567 โคบาลชายแดนใต้ ปัจจุบันเป็นโคซี่โครงบาน ป่วย ผอม ส่อพิรุธ โดยรวมอยู่ 4 หน่วยงาน 1,000 กลุ่ม ใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ใช้เวลาดำเนินงาน 7 ปี ซึ่งปัจจุบันโคแสนล้าน ให้สินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ผ่านกองทุนหมู่บ้าน
- การเอาวัวเข้ามาเลี้ยงจากเมียนมา สิ่งที่เกษตรกรสงสัยเกี่ยวกับวัว รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ก็ตรวจวัวโดยตรงมีหลายมาตรการเกษตรกร แต่ไม่สามารถทำได้ ซึ่งเกษตรกรประท้วงอยู่ตลอด
- มีการแจ้งโคบาลชายแดนใต้ แม่พันธุ์วัวไม่ตรงปก ชาวบ้านกังวลขาดทุนเลยไม่มั่นใจโครงการ เห็นความล้มเหลวทุกมิติ ซึ่งท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน เน้นส่งเสริมไม่เน้นส่งถึงฝั่ง ครม.สัญจรพะเยาไฟเขียวโครงการโคล้านตัว ปล่อยกู้ 5,000 ล้าน กู้ซื้อแม่วัว ซึ่งประชาชนต้องมีประวัติดีถึงมีสิทธิ์กู้ ทำไมรัฐบาลไม่ให้ ธกส. เป็นผู้ปฏิบัติเอง ซึ่งรัดกุมกว่า
- ความคาดหวัง จะเอาเงินที่ไหนไปซื้ออาหารให้มัน ไม่มีใครการันตีว่าวัวจะโต เกษตรกรฝากถามกิโลละ 100 บาท ขายได้กี่โมง
- กระทรวงมหาดไทยอนุญาตเรื่องเคลื่อนย้ายวัวชน ซึ่งงง สั่งปิดด่านนำเข้าวัวไม่ได้ ซึ่งปกติมีกฎหมายวัว 6 ปี ปิดที่หู แต่เกิดเหตุการณ์มีคนมาติดต่อเกษตรกรอยากได้แค่เบอร์หูเฉลี่ย 2,000 บาท ซึ่งมีไอ้โม่งไปสวมวัวเถื่อน เพื่อให้ถูกกฎหมาย
- โครงการโคทุกตัวชื่อ น้อง “บัวทอง”เลขหูไม่ตรงกับเอกสาร ซึ่งจะผ่านด่านตรวจถึง 5 ด่าน โครงการใหม่ถ้าห้ามเคลื่อนย้ายเหมือนเดิม ว่ารัฐส่งเสริมให้โตแต่ไม่สามารถแก้ไขได้เลย “ฟองสบู่โคเนื้อ” ที่ส่งเสริมโดยรัฐ อุตสาหกรรมโคเนื้อไม่เคยโตอย่างยั่งยืน
- สุดท้ายคือ ให้ฟังเสียงพี่น้องเกษตรกร ฟังความเดือดร้อนของประชาชน
ช่วงเวลา: 21.34 น.
ผู้อภิปราย : นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี

    - ชี้แจงประเด็นโครงการโคแสนล้าน ซึ่งเป็นโครงการในการแก้ปัญหาความยากจนของพี่น้องเกษตรกร โดยกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านในปี 2562 ทดลองให้เกษตรกร 200 ครอบครัว นำโคไปเลี้ยง และขยายพันธุ์โค เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และโครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการที่รัฐบาลได้อนุมัติหลักการ แต่เป็นห่วงเกษตรกรเรื่องดอกเบี้ยที่สูง
- กรณีเรื่องของด่านกักกันสัตว์ ยืนยันว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงโครงการโคบาลแดนใต้ เป็นโครงการที่ทำในรัฐบาลชุดที่แล้ว ส่วนกองทุนหมู่บ้าน เป็นโครงการที่นำเอาเงินสดไปเพื่อซื้อโค ตามจำนวนที่เกษตรกรต้องการ ส่วนโครงการโคแสนล้าน             ถ้าเกษตรกรเลี้ยงมากหลายครอบครัว ก็จะสร้างรายได้และกำลังซื้อให้กับประเทศ 
- กรณีวัวข้ามชายแดนที่ไม่ต้องเสียภาษี ยืนยันว่า รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเอาจริงเอาจังและปราบปรามปัญหาดังกล่าวให้คลี่คลายโดยเร็ว รวมถึงหาช่องทางการตลาด ในการส่งออกเนื้อวัวไปจำหน่ายที่ต่างประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบีย และประเทศในแถบตะวันออกกลาง
ช่วงเวลา:  21.55 น.
ผู้อภิปราย : ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ  
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล    - ร่วมอภิปรายกรณียางพาราที่ราคาแพงขึ้นว่า เป็นผลงานของรัฐบาล รัฐบาลอ้างว่า มาจากการปราบปรามยางพาราเถื่อน      ความจริงจังของนายกฯ สวนทางกับข้อมูลที่มี ลูกหลานชาวสวนยางพารา ขอมอบหลักฐานการกระทำผิดเกี่ยวกับยางพาราให้นายกฯ 
- อันดับแรก สถิติปริมาณยางพาราที่ผ่านด่านศุลกากรสังขละบุรี ปรากฏว่า มียางพาราประเภทที่นำผ่านไทยไม่ได้ หรือ ยางเครป คำถาม คือ ศุลกากรปล่อยให้ผ่านมาได้อย่างไร ซึ่งมากถึง 944.5 ตัน และพบมีการนำเข้า “ยางพาราที่นำเข้าไทยไม่ได้” มาจากพม่า มีหลักฐานเป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร ควบคุมการทำงานอยู่ด้วย          เข้าทางสังขละบุรี ผ่านประเทศไทย แล้วไปออกตรงสะเดา มีการทำเอกสารเท็จ เปลี่ยนจากยางพาราเน่า เป็นยางแผ่นรมควันชั้น 4 ไปมาเลเซีย คำถาม คือ ผ่านด่านศุลกากรได้อย่างไร มีการตรวจสอบหรือไม่ สอบถามนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยมีข้อมูลเหล่านี้หรือไม่ และถ้าผู้กระทำผิดคือ ศุลกากร ฉก.พญานาคราช จะกล้าปราบหรือไม่
ช่วงเวลา: 22.06 น.
ผู้อภิปราย : นายอภิชาติ ศิริสุนทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล    - กล่าวถึง เรื่อง โฉนดซึ่งไม่ตรงปก รมว.ธรรมนัส ความขัดแย้ง สปก.กับกรมอุทยานฯ รมว.ธรรมนัส ต้องลงพื้นที่เอง สงสัยเกี่ยวกับกฎหมายที่ออก แต่ข่มเจ้าหน้าที่ว่าต้องเป็นระดับเจ้ากระทรวง พอเป็นเรื่องใหญ่ เรียก รมว.เกษตรฯ กับ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ปัญหา คือ ถือแผนที่คนละฉบับ เรื่องเหมือนจะจบได้ดี แต่แก้ปัญหามั่ว คือ จงใจโกหก ใคร ๆ ก็รู้ พื้นที่เขาใหญ่ ONE MAP ชี้ชัดว่า เป็นเขตอุทยาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรู้มาก่อนแล้วเป็นปี ซึ่งท่านธรรมนัส ก็ยังพยายามดึงเจ้ากรมแผนที่ลงมา 
- รมว.ธรรมนัส ปัดความรับผิดชอบ เรื่อง สปก. หลังจากดำรงตำแหน่งมีหนังสือแจ้งมาหลายฉบับซึ่งท่านน่าจะรู้ เรื่องโกหกเรื่องนี้เป็นระดับเจ้าหน้าที่ เล่นใหญ่จะยึดรีสอร์ทให้หมด ซึ่งต้นเหตุเกี่ยวกับท่านธรรมนัส เอื้อทุจริต สปก.อย่างเป็นระบบ ซึ่งเริ่มจากพะเยาโมเดล การสร้างหอพักซึ่งไม่ได้ใช้เป็นพื้นที่เกษตรเหมือนเดิม แก้ประกาศเปิดช่องทำ “ที่พัก” ขยายนิยามกิจการอื่น ๆ ขัดกฎหมาย สปก. แต่แอบไปเติมการทำที่พัก หอพัก เป็นการสนับสนุน เกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างไร ขอตั้งคำถามว่าการมาเช่ารีสอร์ทจะใช้กับการเกษตรหรือไม่ ก็ไม่มีใครกล้าทำ 

- ใช้อำนาจของตนในการออก สปก.ถ่วงดุล และตรวจสอบได้น้อยลง เพราะหลังจากแก้ระเบียบเมื่อ ปี 64 มอบหมายให้ สปก.จังหวัด แบบชงเองกินเอง เปลี่ยนอำนาจให้เป็นของเลขาธิการ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย
- ปัญหาการออก สปก.ที่เขาใหญ่ไม่ได้แค่พื้นที่ 3 ไร่ ตามที่เป็นข่าว ซึ่งคนแบบไหนที่ได้จัดที่ดิน สปก.คือให้นายทุน โรงแรม ญาติเป็นตำรวจใหญ่ สามีเป็นนายทุนใหญ่ในท้องที่/จัดที่ดิน สปก.ให้ผู้จัดการบริการอสังหาฯ โดยอ้างตัวเป็น “ชาวบ้านและเกษตรกร” ร้องเรียน สตทช. ว่าโดนเจ้าหน้าที่อุทยานรังแก/จัดที่ดิน สปก.ให้คนเดียว 60 ไร่ จัดสรรเกินกฎหมาย/แม่ยกให้ จัดที่ สปก.ในป่าสมบูรณ์จ้างปลูกข้าวโพด แต่ที่ดินจริงเป็นป่าสมบูรณ์/จัดที่ สปก.ให้นายหน้าค้าที่ดินหานอมินีในพื้นที่สวมสิทธิเลี้ยงวัว ซึ่งชาวบ้านตกเป็นนอมินีแทน ให้ผู้ใหญ่บ้านเซ็นแต่ไม่กล้าเซ็น
- ขบวนการที่ดิน สปก.เขาใหญ่ ก็มีแต่มั่วไปหมด แต่ก็มีบริเวณใกล้ ๆ อีก แต่สิ่งเหล่านี้เกิดไม่ได้ถ้าไม่มีผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง คือท่านธรรมนัส รมว.เกษตรฯ แต่อ้างเป็นนโยบายเพื่อเปลี่ยน สปก.ให้เป็นนายหน้าค้าที่ดินเปิดช่องโอนที่เปลี่ยนมือ ฟอกขาวนายทุน ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์จริง ๆ คือชาวบ้านหรือครับ? ท่าน รมว.จะให้มีการซื้อขายผ่าน สปก. นี่คือการทุจริตเชิงนโยบายครั้งใหญ่ โดยให้ออก สปก.โดยมิชอบเพื่อเอื้อประโยชน์นายทุน โดยผ่านเกษตร ผลกระทบจึงตกกับประชาช
ช่วงเวลา:  22.54 น.
ผู้อภิปราย : ภคมน หนุนอนันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล    - ประเด็นกรณี รัฐบาลไม่พูดเรื่องจริง แม้เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องจริงที่ประชาชนรอการแก้ไข เช่น กรณีนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ในประเด็นที่สื่อมวลชนต้องการทราบถึงประเด็นความมั่นคงและกระบวนการเจรจาสร้างสันติภาพ แต่นายกรัฐมนตรีกลับไปตอบว่า อยากให้ลืมเรื่องการทะเลาะเบาะแว้งไปก่อน อยากให้พูดเรื่องโอกาส ถ้าพี่น้องประชาชน มีเงินในกระเป๋า มีสิทธิที่เท่าเทียมกัน มีการศึกษาที่ดี เชื่อว่าปัญหาเหล่านั้นจะไม่เกิด และประเด็นนายกรัฐมนตรี ปั่นจักรยานกลางแจ้งที่เชียงใหม่ ท่ามกลางฝุ่นพิษ PM2.5 ที่เชียงใหม่ นี่คือตัวอย่างการปัดความจริงของรัฐบาล 
- ประเด็น สื่อภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี อย่าง NBT World ที่ได้ลบข้อความบางส่วนและคำบรรยายเดิมในปกนิตยสารไทม์ ที่นายกรัฐมนตรีขึ้นปกนิตยสาร เลยตั้งคำถามว่า เหตุผลอะไรที่สื่อของรัฐ ต้องทำแบบนั้น/กรณีที่สื่อในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ ดัดแปลงและเปลี่ยนแปลงงานของคนอื่น โดยไม่คำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อสารมวลชน และกรณีศูนย์ต่อต้านข่าวจริง ที่เลือกนำเสนอข่าวภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐบาลด้านเดียว โดยมีการแสดงการตรวจสอบข้อมูลจากกรมประชาสัมพันธ์ว่า “ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล”
- ประเด็น รัฐบาลปิดปากและแทรกแซงสื่อมวลชนโดยเฉพาะสื่อของรัฐ โดยตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ใช้สื่อของรัฐ สื่อสาธารณะ ให้เป็นประโยชน์ ทำหน้าที่ที่ควรจะทำให้กับประชาชน 
- การที่รัฐบาลใช้งบประมาณของรัฐ จ้างออแกไนซ์เซอร์จัดอีเวนท์ จัดกิจกรรมเพื่อซื้อพื้นที่โฆษณา ประชาสัมพันธ์โครงการสำคัญต่าง ๆ ของรัฐบาล รัฐบาลควรทำงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างกับสื่อมวลชนให้มีความโปร่งใส
- ประเด็นการสร้าง Account ปลอม โดยใช้ io แสดงความคิดเห็นด้านบวกให้รัฐบาล เน้นย้ำให้รัฐบาลจัดการ Account ปลอม เพื่อไม่ให้มาปนกับความคิดเห็นของประชาชนจริง ๆ
ช่วงเวลา:  23.29 น.
ผู้อภิปราย : นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล


    - กล่าวถึง ระยะเวลาเกือบ 7 เดือน ดูมันรวดเร็ว แต่เป็น 7 เดือนที่นานพอ แต่เรายังมีนายกฯ ฝึกงาน ท่านเป็นระดับ CEO ท่านนายกฯ เป็น 4 โรค ดังนี้ 1. โรคขวัญอ่อน คือไม่เคยรู้ปัญหา จนโดนสื่อล้อ แล้วจะแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้อย่างไร? ว่าท่านนายกฯ ตกใจเรื่องอะไรทุกวัน เช่น ยกตัวอย่างจากข่าว นายกฯ ไม่รู้เรื่องน้ำกระท่อมที่มีเกลื่อนเมือง ระบาด สั่งกวาดล้างยาเสพติด /บินต่างประเทศจนละเลยงานราชการ ดองปัญหา ปชช. กว่า 200 เรื่อง
2. โรคมือบาง หยิบจับอะไรไม่ได้ นายกฯ พูดเองว่าอย่าอยู่บนหอคอยงาช้าง มือเปื้อนดิน มือเปื้อนโคลนเสียบ้าง ซึ่งที่ท่านว่าคือท่านเอง เรื่องที่ไม่ค่อยสนใจ เช่น เรื่องเผาไร่อ้อยเกิดฝุ่น pm 2.5 /เรื่องหมูเถื่อน สั่งอธิบดี DSI ทำไมไม่ทำ /เรื่องอัตราการเกิดต่ำ รมว.ศึกษาธิการ ทำอะไรอยู่ /เงินดิจิตอลวอลเล็ต คือมีความสับสนว่าเอาอย่างไรกันแน่/เรื่องค่าแรง 400 บาท กี่โมง? ซึ่งนายกฯ มีอำนาจ แต่ท่านไปดูขบวนการของท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ซึ่งดีใจมีการประกาศขึ้นพาดหัวค่าแรง แต่พอเปิดข้างในขึ้นค่าแรงขั้นต่ำบางจังหวัด/บางอำเภอ เฉพาะลูกจ้างโรงแรม 4 ดาว ขึ้นไป /ท่านไปตำรวจไซเบอร์ 30 วัน ต้องจับขบวนการนี้ให้ได้ พร้อมระบุกลุ่ม ผู้สูงอายุกับกลุ่มเปราะบาง นายกฯ เพียงสั่งการอย่างเดียว แต่ไม่ได้เข้าไปดูอย่างจริงจัง
3. โรคปากเปราะ ไปที่ไหนก็จะพูดถึงแบงค์ชาติ ซึ่งน่าจะพูดแบบปิดห้อง แต่ดันมาพูดผ่านสื่อทำให้ไม่อยากมาลงทุนในไทย /เรื่องคอนเสิร์ตซึ่งชาวสิงคโปร์บอกว่าอย่ามาจัดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งแต่ละประเทศก็กลัวหมดแล้ว/ปลายปี 66 พูดที่สิงคโปร์เรื่องซื้อพลังงานสะอาดในลาวว่าจะไม่ยอมให้ผ่านไทยไปสิงคโปร์ ซึ่งไม่สมควรพูดในเวทีเสวนา
4.โรคขาสั่น คือ ขาดวุฒิภาวะอย่างร้ายแรง แต่ก็มาตอบกระทู้ เพียง 4 กระทู้ แต่ไม่ยอมตอบของพรรคก้าวไกลเลย
- ซึ่งที่กล่าว ขอวิงวอนคืออยากให้ท่านมาสภาจะเป็นพื้นที่หนีห่างเหาฉลามที่ติดตามตัว ก่อนจบซึ่งอาการไม่รุนแรงขอให้ท่านหายจากโรค 4 โรคโดยไว เป็นผู้นำอย่างสง่าผ่าเผย อย่ามาทำภารกิจเพื่อครอบครัวใคร
ช่วงเวลา:  00.02  น.
ผู้อภิปราย : ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงการต่างประเทศ

    - ชี้แจงประเด็นสถานการณ์ในเมียนมาร์ จากปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในเมียนมา มีผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบประมาณ 70,000 กว่าคน กระจายอยู่ตามศูนย์พักพิง 9 แห่งภายใต้การดูแลของกระทรวงมหาดไทย และภาคประชาสังคม โดยได้รับสนับสนุนด้านการเงินจากต่างประเทศในการดูแลผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในศูนย์ดังกล่าว
- ประเด็นตลอดพื้นที่ความปลอดภัยชั่วคราวสามารถรองรับผู้ที่หนีภัยเข้ามาได้หรือไม่นั้น ตลอดแนวชายแดนไทยเมียนมาร์ มีศูนย์รองรับประมาณ 100 แห่ง สามารถรองรับผู้อพยพได้ 100,000 กว่าคน โดยมีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล ส่วนการจัดตั้งเซฟตี้โซนในพื้นที่ดังกล่าว ไทยมีดำริที่จะเสนอเรื่องดังกล่าว แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา
- ประเด็นการหนีภัยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามที่ได้รับรายงานขณะนี้ มีผู้อพยพเข้ามาไม่มากนัก เมื่อเกิดเหตุสถานการณ์รุนแรงในเมียนมาร์ ทางรัฐบาลมีการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับผู้อพยพจากเมียนมาร์ที่เพิ่มมากขึ้น กรณีชาวเมียนมาร์ทะลักเข้ามาในชายแดน ขณะที่ทางรัฐบาลได้มีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
- การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทางรัฐบาลได้มีโครงการนำร่อง โดยการส่งความช่วยเหลือเข้าไปในพื้นที่กลุ่มกะเหรี่ยง ถ้าหากประสบความสำเร็จจะมีการขยายไปพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
- กรณีถูกพาดพิงว่ารัฐบาลสร้างภาพหรือ การเอาหน้าเอาตา ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งขณะนี้เพิ่งเริ่มต้น
- รัฐบาลให้ความสำคัญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจและความมั่นคง โดยกำหนดเป้าหมายไว้ 3 ข้อ คือ 1.ฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางด้านการทูต 2.แสดงจุดยืนด้านการต่างประเทศอย่างสมดุล และ 3.แสดงบทบาทหน้าที่ที่สร้างสรรค์
- นโยบายการทูตเชิงรุกและการทูตเศรษฐกิจ โดยใช้จุดแข็งทางการทูตที่เรียกว่า การทูตเชิงสร้างสรรค์ โดยการเยือนหลายประเทศ การเข้าร่วมกรอบความร่วมมือภูมิภาคและอนุภูมิภาคและเข้าพบผู้นำประเทศต่าง ๆ และยืนยันด้วยว่า รัฐบาลไม่เลือกข้างในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ  เช่น การนำแรงงานไทยและตัวประกันไทยจากประเทศอิสราเอล เดินทางกลับไทย 
- บทบาทในเวทีระหว่างประเทศ ไทยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นทั้งเวทีโลกและเวทีภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำจุดยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ค่านิยมทางด้านประชาธิปไตย เศรษฐกิจสีเขียว การส่งเสริมสันติภาพโลก
ช่วงเวลา:  00.20 น.
ผู้อภิปราย : ไชยา พรหมา  
รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์    - กล่าวถึง เรื่องโค คือรัฐพยายามจะไม่นำเข้าโคจากต่างประเทศเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน เหตุผลเพื่อปกป้องเกษตรกรรายย่อยเพราะราคาโคในประเทศตกต่ำมาก บริโภคภายในขีดจำกัด ผลิตมาก ไม่สามารถส่งออกได้ ซึ่งนายกฯ                          ได้ไปคุยกับต่างประเทศทั้งเรื่องโคมีชีวิตและไม่มีชีวิต เราเลยต้องพยายามสร้างกับประเทศผู้ค้า เพื่อสร้างศูนย์กักกันส่งออกโดยจีน โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย ซึ่งวางแผนทั้งเขตเหนือ อีสาน ใต้ ซึ่งกรมปศุสัตว์ ได้ทำหนังสือถึงต่างประเทศ ประเทศผู้ค้าไม่เชื้อใจในวัคซีนของเรา ไม่เชื่อถือเป็นหลักประกัน
- การลักลอบสินค้าเข้าในชายแดน เช่น พม่า ซึ่งเราไม่มีอาวุธ โดยมีความยาว 2,400  กม. ซึ่งยากต่อการควบคุม เราแก้ปัญหาส่งออกไม่ได้ แต่ถ้าลักลอบเข้ามาเพียงวัวตัวเดียวก็ตามก็เกิดปัญหาได้ จึงขอขอบคุณสำหรับข้อมูลปัญหาที่ท่าน สส.ได้นำมา
- นโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงโคบาลใต้ เช่น พรบ.ระบาดโรคสัตว์ ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่รัฐบาลชุดเดิม แต่เราก็ช่วยกันดูแล พยายามให้มีรายได้จากการเกษตร 3 เท่า จากที่เราเป็นรัฐบาล
ช่วงเวลา:  00.29 น.
ผู้อภิปราย : ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


    - เพจหนึ่งขึ้นข้อความว่า ดุดัน วันที่ 4 เมษายนเวลา 22:00 น. โปรดติดตามการต่อสู้อย่างรุนแรงระหว่างปลัดกับผู้กองหนุ่ม ครั้งที่ผ่านมาท่านได้ยกเรื่องการทับซ้อนของที่ดินเขาใหญ่กับที่ดิน สปก. ขอเตือนท่านปลัดติ๋ง ท่านได้ปราศรัยช่วยเหลือพี่น้องเรื่องที่ดินทำกิน ซึ่งผมชื่นชม แต่วันนี้ ผมพูดถึงที่ดิน สปก. ที่เป็นโฉนด แต่เป็นโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร ประชาชนเขาเข้าใจกันหมดว่าที่ดิน สปก. เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ท่านไม่เข้าใจหรือแกล้งไม่เข้าใจ ขอแถลงชี้แจง 5 ประเด็น ดังนี้
1) คณะอนุกรรมการ One Map ได้มีมติแล้ว แต่ผมแกล้งไม่รับรู้ว่าพื้นที่ทับซ้อนที่มีปัญหาเขาใหญ่ว่า One Map ประกาศชัดเจนแล้วว่าเป็นพื้นที่อุทยาน ท่านพูดไม่จบขั้นตอน กว่ามันจะมีการบังคับใช้มันต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอน One Map          มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน 2. ต้องนำเสนอคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ 3. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบ และบังคับใช้ ซึ่งเรื่องข้อพิพาทที่อุทยานเขาใหญ่ จึงยังไม่จบกระบวนการ ด้อยค่า สปก. ด้อยค่าโฉนดเพื่อการเกษตรทำให้ประชาชนเข้าใจผิด
2) ประกาศของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินตามมาตรา 30 วรรค 5 แห่งพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรปี 2518 ท่านก็อ่านไม่หมด เหมือนท่านลอกคำอภิปรายของผู้แทนคนอื่นมา ซึ่งผมตอบคำถามไปแล้ว/คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น แต่เป็นผู้แทนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน เห็นชอบร่วมกันว่าให้ขยายความข้อความให้ชัดเจน เพื่อให้ สปก. ในทุกที่ปฏิบัติได้เหมือนกันเป็นมาตรฐาน/ท่านอ้างว่าผมจะให้ที่ดิน สปก.ไปสร้างหอพัก สร้างรีสอร์ท เช่น พะเยาโมเดล ซึ่งตอนนี้พื้นที่มันเปลี่ยนไปแล้ว มันจำเป็นต้องขยาย ดังนั้น กิจการที่พูดถึงมันต้องแปลง ที่อยู่อาศัยอาศัย จุดบริการน้ำมัน ล้วนแล้วแต่เป็นการสนับสนุนการทำการเกษตร ซึ่งคณะกรรมการชุดที่ผมเป็นรัฐมนตรีตีความแบบนี้
3) การเปลี่ยนอำนาจการจัดที่ดินของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเป็นเลขา สปก. หรือผู้ที่ เลขา สปก. มอบหมาย ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่ประชาชนเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน เพราะเราเป็น สส. ที่ประชาชนเลือกมา มีข้อร้องเรียนว่า สปก.จัดที่ดินช้ามาก ต้องรอ 2-3 ปี กว่าผู้ว่าฯจะประชุมใช้เวลา 1 ปี จึงขอให้เราเปลี่ยน เรานำเรื่องนี้ไปปรึกษาที่ปรึกษาด้านกฎหมายของรัฐบาล นั่นคือคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า พรบ. ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ปี 2518 มาตรา 30 ที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ สปก. ได้มาให้เป็นอำนาจใคร? คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความชัดเจนให้อำนาจในการจัดให้กับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเป็นอำนาจของ “สปก.” นั่นคือ เลขาฯ สปก. คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจึงมีหน้าที่แค่กำหนดระเบียบ กฎหมาย เพื่อให้เลขาฯ สปก.นำระเบียบนี้ไปใช้เพื่อจัดสรรที่ดินให้เกษตรกร
4) การออกสำรวจรางวัด สปก. 4-01 เพื่อเอื้อกับนายทุน ผมมีข้อมูลมากกว่าท่านปลัดติ๋ง ท่านอภิชาติ ความจริงแล้วที่ดินตรงนั้นไม่ใช่ 3 ไร่ แต่เป็น 104 ไร่ของ นางสาว ร. เรือ นางสาว ป.ปลา เรารับรู้ หรือกรณีการจัดที่ดินให้คุณ พ.พาน ก. ไก่ /หลังจากรู้เรื่อง สปก. ได้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่มาทำงานในส่วนกลางเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริง ถึงการออกที่ดิน สปก. สุดท้ายทำหนังสือไปถึง ปปช.เพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ การกระทำที่ส่อทุจริตผมไม่เว้น และสั่งการให้เลขาฯ สปก. เพิกถอน สปก. 4-01 จำนวน 10 ราย 13 แปลง เนื้อที่ 342 ไร่ ยกเลิกการรังวัดที่ดิน 26 ราย 45 แปลง เนื้อที่ 937 ไร่
5) ประเด็นการป้องกันนายทุนมาขอรับการจัดสรรที่ดิน ที่แปลงเป็นโฉนดเพื่อการเกษตร เพื่อฟอกขาวให้กับนายทุน ยืนยันว่าที่ดินของรัฐก็ย่อมเป็นของรัฐ สิ่งสำคัญในการออกที่ดิน สปก. มีเงื่อนไขการติดประกาศรายชื่อเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินอย่างเปิดเผย ผมได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติใช้ประโยชน์ที่ดินของผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินและผู้ถือครองที่ดินโดยโดยมิชอบตามกฏหมาย โดยมีนายอำเภอของแต่ละอำเภอเป็นประธานของอนุกรรมการ 
- เราจะไม่ยอมให้ที่ดินที่เป็นโฉนดเพื่อการเกษตรไปตกอยู่กลุ่มทุน ผมมอบหมายคณะอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดว่าเราจะเอาจริงเอาจังและเอาที่ดินคืนให้กับเกษตรกร
- เมื่อเช้ามีผู้อภิปรายท่านหนึ่งที่กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงทำงานเหมือนเดิม ขอชี้แจงว่าผมไม่ใช้วิธีการให้ข้าราชการนำอย่างเด็ดขาด แต่ก็ฟังเสียงพี่น้องข้าราชการซึ่งกันและกัน เราขับเคลื่อนภาค การเกษตรยุคใหม่ 3 – 4 - 9 หมายถึง เพิ่มรายได้ 3 เท่า  ภายใน  4 ปี ผ่าน 9 นโยบายเกษตร  โดยใช้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้สามเท่าภายใน     4 ปี” เกษตรแนวใหม่ที่ใช้คำกล่าวว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในกระเป๋าต้องมีเงิน” 
ช่วงเวลา:  01.14 น.
ผู้อภิปราย : จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
    - ชี้แจงในนามรัฐบาลว่า นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ราคาพืชผลทางการเกษตร โดยรัฐบาลได้แก้ปัญหาสินค้าเกษตร หมูเถื่อน และยาพารา ด้วยกลไกการทำงานที่กระชับ ป้องกันการลักลอบ การนำเข้าที่ผิดกฎหมาย สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะเรื่องสินค้าเกษตร เช่น ยางพาราให้กับพี่น้องเกษตรกร นี่คือผลงานของรัฐบาลจริง ๆ 
- ประเด็นเรื่อง io เป็นมุมมองของแต่ละคน ว่าจะมองด้านไหน อยากจะให้เปิดใจให้กว้าง ยอมรับกับสังคมและหาจุดร่วมที่จะเดินหน้าสังคมไปได้ และยืนยันว่ารัฐบาล จริงจังกับการแก้ไขปัญทางไซเบอร์
ช่วงเวลา:  01.10 น.
ผู้อภิปราย : พิธา ลิ้มเจริญรัตน์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล    - เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผมพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สำหรับการอภิปรายมาตรา 152 ในครั้งนี้ ผมคงเริ่มต้นพูดเรื่องความในใจสักเล็กน้อย ระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา ผมไม่เคยเสียใจที่ผมจะไม่ได้เป็นพวกบริหารแม้ผมชนะเลือกตั้ง  สามารถที่จะรวบรวมเสียงได้ 312 เสียง ก็ไม่ได้น้อยกว่า 314 เสียงที่ท่านมี ไม่เคยเสียใจด้วยที่ต้องมาเป็นฝ่ายค้าน เพราะผมเชื่อว่าการเป็นฝ่ายค้านนั้นก็มีความสำคัญต่อระบบประชาธิปไตย การเป็นฝ่ายค้านก็สามารถทำงานให้กับพี่น้องประชาชนได้ สุขภาพของประชาธิปไตยไม่ได้วัดกันอยู่ที่รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จหรือฝ่ายค้านแอคทีฟแค่ไหน และทำงานให้ประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน และไม่เคยเสียใจว่าการอภิปรายในครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตการเมืองของผม ก็เป็นเรื่องที่เป็นความลับ แต่อย่างใดชีวิตการเมืองของผมแขวนอยู่บนเส้นด้าย ผมพร้อมจากไปแบบผู้ชนะ ไม่ได้มีอะไรคาใจอีกต่อไปยิ่งได้เห็นเพื่อน สส. อยู่รอบล้อมผม ในการอภิปราย 2-3 วันที่ผ่านมา รู้สึกสบายใจ ไม่มีอะไรที่ต้องค้างคาอีกต่อไป และก็มั่นใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับพรรคของผม ไม่ว่าจะเป็นการยุบพรรค ไม่ว่าจะการทำลายพรรคก้าวไกลก็จะไม่ทำลายการเดินทางของพรรคก้าวไกลให้หายไป เผลอเผลอยิ่งยุบพรรคยิ่งทำให้เราไปถึงเส้นชัยทำได้เร็วขึ้นด้วยซ้ำไป
- ถึงผมจะไม่เสียใจ แต่ผมเสียดายครับ ยิ่งได้ฟังการชี้แจงของรัฐบาลในช่วง 2 วันที่ผ่านมา รู้สึกเสียดายโอกาสของประเทศไทย เสียดายเวลาที่ประเทศไทยต้องเสียไป ผมเสียดายศรัทธาของพี่น้องประชาชน เสียดายส่วนตัวของผมเองที่ผมเคยเป็นคนที่ให้คะแนนกับพรรคจัดตั้งรัฐบาลตั้งแต่ปี 2543 ตั้งแต่ยังเป็นอดีตพรรค ตั้งแต่ผมจำความได้ ผมไม่เคยโหวตพรรคอื่น นอกจากพรรคท่าน แต่จนวันนี้ความสะเปะสะปะ จนผมฟังแล้วไม่รู้ว่าวาระของรัฐบาลชุดนี้คืออะไร? ไอ้ที่หาเสียงไว้ก็ไม่ทำ ไอ้ที่ทำอยู่ก็ไม่ได้หาเสียง จนทำให้ผมรู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้ไร้วาระ ไม่มีวาระเป็นของตัวเอง พอไร้วาระ ไร้วิสัยทัศน์ พอไร้วิสัยทัศน์ก็ไร้ผลงาน เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาตลอดกับสถานการณ์ที่ผมรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นจนผมเสียดายช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาตอนนี้ก็ตีหนึ่งครึ่งผมคงจะเกรงใจพี่น้องประชาชน เลยอยากจะใช้เวลาพูดไม่วนเวียน ซ้ำซาก ผมขอทำโครงสร้างในการอภิปรายของผมเป็น 3 ส่วนดังต่อไปนี้ เพื่อจะใช้เหตุและผล ในการโน้มน้าวพี่น้องประชาชน ท่านประธานให้คนทั่วไปเข้าใจว่าคำที่หมายความว่า “รัฐบาลที่ไร้วาระ” Agenda-Less Government มีอะไรบ้าง

- ช่วงแรกขอใช้เวลาสั้นสั้นในการสรุปครับว่าในช่วงสองวันที่ผ่านมา เรามีการอภิปรายอะไรบ้าง ตอบโต้อะไรกันบ้าง บางคนไม่ได้ฟังทั้งวัน ไม่ได้ฟังทั้งสองวันที่ผ่านมา มาฟังผมสรุปพอได้เห็นภาพว่าเจ็ดเดือนผ่านไปแล้วผลงานรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านเป็นอย่างไรบ้าง
- ช่วงที่ 2 ผมขอสะสางข้อเท็จจริง เก็บตกจากการตอบโต้กลับไปกลับมาของรัฐบาล และจะขอแสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ท่านใช้นั้นบางทีแล้วไม่ถูกต้อง ไม่ได้ดูบริบท เพราะฉะนั้นทำให้ท่านไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ตามที่ท่านต้องการได้
- สุดท้ายข้อเสนอแนะ 3 ข้อไปยังทางรัฐบาล เพื่อหวังว่าภาวะผู้นำของรัฐบาลชุดนี้จะได้รับการกอบกู้ขึ้นมาบ้างและสามารถทุเลาปัญหาที่เป็นอยู่ทุกอย่างนี้
- สำหรับการสรุปสั้นสั้นผมกังวลว่า “วิสัยทัศน์ 8 HUB” ของรัฐบาล คือ “ความมืดแปดด้าน” ของพี่น้องประชาชน ผมเป็นห่วงและกังวลว่า IGNIGHT THAILAND ของท่านจะกลายเป็น Darkness THAILAND ท่านเคยพูดไว้ว่าวิสัยทัศน์ของท่านในเรื่อง 8 HUB นั้น ไม่ว่าจะเป็น HUB การท่องเที่ยว HUB การแพทย์ HUB อาหาร HUB การบินขนส่ง HUB ผลิตยานยนต์ HUB เศรษฐกิจดิจิตอล หรือว่า HUB การเงิน พอพูดถึงเรื่องการเงินก็กังวลอยู่นิดหนึ่งว่าตั้งแต่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีมา Market Cap ของประเทศไทยหายไปอยู่ที่ 12.4 ล้านล้าน ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นไปอย่างไร วิสัยทัศน์ของท่านกลายเป็นมืดแปดด้าน ขอชี้แจงให้ประชาชนทราบว่ามืดแปดด้านเป็นอย่างไร มืดที่ 1 มืดเรื่อง ปากท้อง มืดแก้ส่วย มืดผูกขาด 3 ข้อนี้ท่านล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงครับ ในความเห็นของผม มืดที่ 4 มืดกระตุ้นเศรษฐกิจ มืดแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันนี้ล่าช้า มืดปฏิรูปกองทัพ มืดมนคุณภาพชีวิต และมืดกระบวนการยุติธรรม อันนี้ท่านละเลย ผมสรุปให้ได้ว่า มืดแปดด้าน เพราะฉะนั้นประชาชนคนไทยตอนนี้มืดแปดด้าน มีในลักษณะแบบไหนบ้างที่ทั้งล้มเหลว ล่าช้า และละเลย ผมสรุปแบบนี้ท่านจะได้เห็นครับว่าสิ่งที่จะต้องนำไปทำต่อในการแก้ไขปัญหาพวกนี้คืออะไร แต่ท่านไม่ต้องกังวลครับผมไม่อภิปรายวนเวียนซ้ำซากหลายสิ่งหลายอย่างที่มีการถกกันในสภา มีการแลกเปลี่ยนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นท่านรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้รับข้อเสนอของ สส.ชลธิชา สส. กัณวีร์ ไปแล้วบ้าง ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นตรงกันทุกเรื่อง แต่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาก็มีข้อคิดเห็นที่ตรงกับ สส. ครูจวง ที่นั่งอยู่ตรงนี้ ท่านรัฐมนตรีช่วยคลังก็ได้อธิบายไปแล้วกับ สส. สิริกัญญา เรื่อง digital Wallet ที่ต้องเลื่อนไปแล้วทั้งหมด 5-6 ครั้ง ที่มาของเงินก็ให้รอวันที่ 10 เมษายน พวกนี้ผมก็มานั่งฟังอยู่  อย่างท่านรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมก็ดี 
รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขก็ดีก็ได้อธิบายถึงความไม่สมเหตุสมผลทางการแพทย์ที่ ส.ส. วาโยได้พยายามอธิบายให้ฟัง ว่าตกลงมัน 9 หรือ 10 แต้ม แต่พวกนี้ผมไม่ได้สรุปอีกครั้ง ผมรู้สึกว่ามีอยู่อย่างเดียวครับ ที่มันยังถกกันไม่ตกผลึกและยังไม่เห็นภาพชัดเจนในสภานี้ ดังนั้นผมรู้สึกว่ามันจะเป็นเรื่องมืดในการปฏิรูปกองทัพ ท่านนายกฯ บอกว่าฝ่ายค้านงง ผมก็งงท่านเหมือนกัน ผมเห็นภาพตรงนี้ว่าท่านนายกฯบอกว่างงฝ่ายค้านพูดแต่เรื่องเดิม ๆ พูดในเรื่องที่ผ่านไปแล้ว พูดเหมือนเดิมว่างั้นเถอะ ผมก็งงท่านนายกฯ เหมือนกันว่าท่านพูดไม่เหมือนเดิมตรงไหนก็คือตอนก่อนเลือกตั้งท่านพูดอีกอย่างหนึ่ง ตอนหลังเลือกตั้งท่านพูดอีกอย่างไง ตอนเป็นฝ่ายค้านร่วมกันสี่ปีหรือตอนขึ้นเวทีดีเบตร่วมกันกับหัวหน้าพรรค และเลขาท่าน ท่านพูดคล้ายคล้ายๆผมนะ อธิบายให้ท่านหายงงก่อนในเรื่องของการปฏิรูปกองทัพของพรรคก้าวไกล การปฏิรูปให้เป็นทหารอาชีพคืออะไร 
- สั้นสั้นครับปฏิรูปกองทัพเพื่อป้องกันการก้าวก่าย แทรกแซงทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความเป็นทหารอาชีพ เสนอกฎหมายป้องกันและต่อต้านการรัฐประหาร แก้ไขกฎหมายยกเลิกการเกณฑ์ทหารให้เข้ารับราชการทหารโดยสมัครใจ อันนี้เป็นจุดยืนของพรรคก้าวไกลครับ ที่มันอาจจะแปลกประหลาดอยู่นิดนึง คือผมอ่านนโยบายของพรรคเพื่อไทยอยู่ที่ยื่นกับ กกต. อันนี้ผมเลยรู้สึกว่าฝ่ายค้านงงว่าแต่ก่อนตอนที่เป็นฝ่ายค้านด้วยกันก็คิดเหมือนกัน ตอนที่ขึ้นเวทีดีเบตสัญญาประชาคมก็พูดเหมือนกัน พอผมมาพูดอีกครั้งผมก็ยังพูดเหมือนเดิม ก็เพราะว่าก่อนเลือกตั้งอย่างไร หลังเลือกตั้งก็ยังอย่างนั้น อันนี้เป็นสิ่งที่คิดอยู่ในหัวและคิดว่าเป็นความจำเป็นของประเทศนี้ ท่านบอกว่าท่านงงที่ผมพูดเรื่องเดิมที่พูดเกี่ยวกับไอโอบ้าง อาวุธบ้าง วิธีการในการที่จะปฏิรูปไม่ต้องเอาแบบก้าวร้าว เอาแบบนุ่มนวลก็ได้ ที่ท่านรัฐมนตรีสุทินอภิปรายมาผมว่าสุดยอดมากเลยนะ น่าเสียดายท่านไม่ได้พูดแบบนี้ตอนก่อนเลือกตั้ง มาพูดตอนนี้ว่าจะใช้วิธีแบบนี้ ท่านอาจจะคิดว่าก็ผมเข้าใจไปเองว่าการปฏิรูปกองทัพในระหว่างสองพรรค ผมอยากให้ท่านดูสื่อมวลชน นักวิชาการ เวลาที่เค้าเปรียบเทียบนโยบายของพวกเราเนี่ย มันไม่มีนโยบายของเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล มันคล้ายกันมากที่สุดพวกผมก็เลยงงว่าตกลงแล้ว อ้าวเฮ้ยไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่หว่า ก็เลยไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไรกันแน่ แต่ก็ไม่เป็นไรแต่ก็รู้สึกงงอย่างเช่นเรื่องของไอโอ เป็นต้น จะพิสูจน์ใน 4 ปีข้างหน้าว่าใครกันแน่ที่เป็นไอโอเพื่อมอมเมาพี่น้องประชาชน สำหรับมาตรา 152 ที่ผมมองว่าให้เสนอแนะปัญหาและซักถามข้อเท็จจริงท่านคงไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำไอโอแล้วช่วงที่ผ่านมาผมขอเสนอให้ท่านไปอ่านครับ อันแรกของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เข้าใจว่าท่านนายกฯ รู้จักมหาวิทยาลัยนี้ดี เป็นรายงานของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทำโซเชียลมีเดียบอกว่าเรื่อง ณInformation Operation หรือ IO By The Royal Thai Government By Royal Thai Army ขออภัยครับเล่มนี้พูดให้แฟร์แฟร์ ยุติธรรมกันทำตั้งแต่ก่อนท่านเป็นรัฐบาล แต่อย่างที่บอกว่าญัตตินี้เสนอแนะถ้าท่านยังคิดไม่ออกว่าใครกันแน่ที่เป็นคนทำเกี่ยวกับ IO ในประเทศไทย ท่านไม่ต้องฟังผม ท่าน]องไปอ่านดูว่ามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยระดับโลกเค้าทำเรื่องนี้เกี่ยวกับ IO ว่ามีจริงในประเทศไทย และทำโดยทหารไทยอันที่ 2 ที่แนะนำให้ท่านไปอ่าน ขอเสนอแนะอีกเรื่องหนึ่งของสำนักข่าวรอยเตอร์ Facebook removes Thai military-linked information influencing accounts อันนี้ก็เป็นสื่ออีกอันนึง จริงอยู่ครับ วันก่อนที่ท่านจะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน แต่ท่านลองไปศึกษาดูว่าใครนะที่น่าจะมีโอกาสที่จะทำเรื่องเกี่ยวกับ Information Operation นี้ ถ้าไม่ใช่ทหารไทย ต่อมาครับมหาวิทยาลัยโทรอนโต ใครครับที่ทำ spyware กับพี่น้องประชาชนผ่านเปกาซัส อันนี้ก็ก่อน แต่ก็เป็นหลักฐานที่อยากจะให้ไปศึกษาดูว่าท่านจะหาคำตอบได้เร็วภายใน 4 ปี ว่าใครในประเทศไทยที่ใช้ภาษีประชาชนในการมอมเมาคนอย่างที่ท่านอาจจะไม่ต้องใช้เวลาถึง 4 ปีก็ได้ถ้าท่านลองศึกษาเรื่องพวกนี้ ลองดูนะครับ
- เรื่องที่สองท่านบอกว่าท่านงงเรื่องเกี่ยวกับอาวุธ จุดยืนของพรรคก้าวไกลเป็นอย่างไรกันแน่ ที่เคยบอกว่าจะเอาเรือประมงไปรบ ซึ่งตอนนี้เดาเอาว่าท่านคงจะหมายถึงผม เพราะผมเคยพูดเรื่องแบบนี้ตอนช่วงเลือกตั้งตอนช่วงเวทีดีเบตแล้ว ถ้าจำไม่ผิดพูดในรายการคุณสรยุทธ ต้องขออภัยที่เอ่ยนาม เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ เห็นล้อกันมาเยอะต้องขอใช้โอกาสนี้ในการอธิบายสักหน่อย มันมีอยู่จริงครับ ผมมีทั้งหมด 3 หลักฐานข้อมูล ที่อยากจะให้ทุกท่านได้เข้าใจสักทีนึง ข้อมูลที่ผมได้มานี้ได้มาจากพี่น้องทหารเรือเองแหละ และก็จากทูตทหารหลายหลายประเทศ ที่เวลาวันชาติเขาเขาก็มาเล่าให้ฟังเรื่องภัยความมั่นคงมันเปลี่ยนไปแล้วนะ บางทีคุณมีอาวุธซื้ออะไรเยอะเยอะแยะแยะ จริง ๆ แล้วครั้งก่อนท่านก็อภิปรายกันอย่างเต็มที่เลย ผมยังจำได้ สส. ของทางพรรคท่าน น่าจะเป็นจังหวัดมหาสารคาม ไม่อยากจะพูดชื่อก็เป็นคนที่อภิปรายอย่างดุดันเกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพ เรื่องเกี่ยวกับอาวุธพวกนี้อันนี้เค้าเขียนว่าอย่างนี้ครับ hybrid warfare หรือสงครามผสม แปลเป็นไทยว่า ช่วงที่ผ่านมาในเรื่องของสงครามมันพัฒนาไปเยอะ มันมีการใช้ทั้งเรือประมง กลายเป็นส่วนหนึ่งในอาวุธของกองทัพ ในการทำร้ายขู่ขวัญ ทำจิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากศูนย์ของทางตุรกีนะครับ ที่ชื่อว่าเอเอ อย่างที่สอง อย่างเช่น ข้อมูลจาก CNN และข้อมูลที่เห็นอยู่บนจอจาก South China Morning Post ก็เป็นสำนักพิมพ์ระดับโลกทั้งนั้น อธิบายให้ฟังว่าบางทีเนี่ย อินเตอร์เนชั่นนอลมารีทามลอว์ ผมเข้าใจว่ารัฐมนตรีต่างประเทศน่าจะเข้าใจภาพ คือ คุณมีอาวุธที่ยิ่งใหญ่เท่าไหร่คุณก็ไปยิงเรือประมงเค้าไม่ได้ มันผิดกฎ แต่เทคนิคในการทำสงครามมันเปลี่ยนไปเยอะ มันมีประเทศบางประเทศที่ผมตั้งใจสปลิดออก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ แล้วก็ให้ท่านประธานสบายใจได้ว่า ผมได้ระมัดระวังเรื่องพวกนี้ แล้วมันเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้เนี่ยแหละที่ข่าวหลายข่าวเค้าพูดกันที่ทูตทหาร ทูตทหารเรือไทยพูดกัน เรือประมงว่ามีกว่า 20,000 ลำที่ใช้เรือประมงผสมกับเรือรบในการทำจิตวิทยาทางการรบที่ไม่ใช่แค่ใช้อาวุธทางปกติ ธรรมดาตรงนี้ก็หวังว่าจะเข้าใจตรงกันนะครับแล้วก็จะเลิกล้อผมซักทีนึงว่ามันมีจริง ๆ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผมคิดขึ้นมาเอง เป็นสิ่งที่ผมได้ยินมาจากทหารเรือของเรา เป็นสิ่งที่ผมได้ยินมาและวันนี้ก็เอาหลักฐานมาให้ท่านดู
- ท่านถามแล้วบอกว่าอ้าวแล้วเรือฟริเกตพวกนี้ แล้วสมัยก่อนคุณเป็นอย่างไร ฝ่ายค้านงงหรือเปล่า หลักคิดในเรื่องของการปฏิรูปกองทัพของเราให้ทันสมัย มีสิทธิมนุษยชน มีความเป็นมืออาชีพ ต้องมีอาวุธที่เหมาะสมถ้ามันเป็นอาวุธที่เหมาะสม ที่จะสามารถสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เกิดขึ้นในประเทศของเราได้ ไม่ได้เบียดเบียนภาษีพี่น้องประชาชนมากจนเกินไป เช่น ช่วงโควิด เป็นต้น ไม่ได้หมายความว่าเราไม่คิดว่าต้องการที่จะให้กองทัพทันสมัยและไม่ต้องการให้ซื้ออาวุธอะไรเลย อย่างในกรณีที่ท่านวิโรจน์อภิปรายให้ฟังก็บอกแล้วว่าเรือฟริเกตมันมีความจำเป็นอย่างไร มันสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ทำให้เรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางทหารเนี่ยมันกลายเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจได้ด้วย มี know how มากขึ้น แล้วก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นถ้ามันเข้า Criteria แบบนี้เนี่ย พวกผมก็ไม่ได้คิดว่าต้องต่อต้าน หรือว่าอะไรก็หวังว่าจะได้อภิปรายทั้งเรื่องเกี่ยวกับ hybrid warfare หรือว่าสงครามที่เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ไม่ได้ไกลจากบ้านเรามากสักเท่าไหร่นัก ที่ไม่ได้เน้นว่าจะต้องใช้อาวุธยุทโธปกรณ์เข้าห้ำหั่นกัน มีวิธีในการที่จะเป็นเรื่องของการทหารในยุคสมัยศตวรรษที่ 21 ซึ่งมันเปลี่ยนไปเยอะแล้ว ก็เรื่องเกี่ยวกับ IO อะไรซักอย่างเนี่ยก็หวังว่านายกรัฐมนตรีจะหายงง ในส่วนของผมผก็ยังรู้สึกว่ามันก็ยังงงงงอยู่ดี เพราะว่าอย่างที่บอกท่านนายกฯ ตอนที่มันมีการเลือกตั้งเวลาผมไปดีเบตเนี่ยผมก็ไม่ค่อยได้เจอท่านนายกฯ สักเท่าไหร่ อาจจะเจอแต่หัวหน้าท่าน เลขาฯ ท่าน ไม่ได้เจอท่าน ผมก็เลยไม่มีโอกาสได้อธิบายเรื่องพวกนี้ให้ท่าน เพราะว่าช่วงนั้นจำได้ว่าเวลาที่พูดออกไปก็จะได้อธิบายให้คนฟัง ให้คนเห็นแต่ท่านนายกฯ ไม่ค่อยได้ ผมไม่ค่อยมีโอกาสได้เจอท่านนายกฯ ในเวทีดีเบตหรอก ก็เลยไม่มีโอกาสได้พูดเรื่องพวกนี้สักเท่าไหร่ ตรงนี้ถือว่าเป็นการเก็บตกนะครับ ท่านประธานหวังว่าพอจะเห็นภาพนะครับว่าที่ท่านนายกบอกว่าฝ่ายค้านงงงง งงเรื่องอะไร ฝั่งผมงงท่านนี่แหละ ก็จะได้อธิบายให้ทันการอภิปรายในมาตรา 152 ในวันนี้เนี่ยมันราบรื่นไปได้ด้วยดี เพราะว่าก็มีสิ่งที่เป็นบวกบวกขึ้นมาในหลายหลายเรื่องนะครับในการแก้ไขปัญหากับพี่น้องประชาชนร่วมกัน
- เรื่องต่อมาครับ พอสรุปเสร็จผมขออนุญาตสะสาง สะสางในที่นี้ผมหมายถึงว่าผมขอสะสางข้อเท็จจริงที่ใช้ในการอภิปรายครั้งนี้ทั้งหมดนะครับ ผมพอจะจับทางท่านนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ก็คงอยากจะขอเริ่มในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจการต่างประเทศที่ท่านเน้น ก็หวังว่ามันจะเป็น Bandwidth เดียวกัน แล้วก็สามารถจะทำความเข้าใจร่วมกันได้ ผมจับคำพูดท่านได้คำนึงครับท่านบอกว่าอยากเน้นเรื่องบวกบวก ให้มันเป็นแสงสว่างนะครับ ท่านอยากจะเน้นที่โอกาสของประเทศอยากจะเน้นเรื่องของปัญหาอย่างที่เพื่อนสมาชิก สส. ของผมทั้ง2 ท่านเคยอภิปรายเรื่องที่ท่านลงไปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านก็ไม่ได้อยากพูดเรื่องของปัญหา ท่านอยากจะพูดอะไรที่มันเป็นบวกบวก พูดอะไรที่มันเป็นประโยชน์ของประเทศอะไรประมาณนี้ ก็โอเคความเป็นจริงนี่คือข้อเท็จจริงมันไม่ได้มีแต่บวกไงครับ คือประเทศของเรามันมีทั้งจุดแข็งจุดอ่อน มีเรื่องของความท้าทาย โอกาสที่จะต้องเข้ามา คนที่เป็นผู้นำได้ถ้าเน้นโฟกัสแต่ในเรื่องที่มันบวกบวกอย่างเดียวท่านก็จะเกาไม่ถูกที่คันท่านก็จะวินิจฉัยผิดตลอดเวลา เวลาที่ท่านนายกเลือกเอาตัวเลขมาพูดในสภาเนี่ยผมถึงได้เห็นเลยว่าท่านเน้นเอาตัวเลขที่มันบวก ที่มันเป็นผลดีกับรัฐบาลแต่มันไม่มีบริบท มันไม่ครบถ้วน มันเป็นแค่เหรียญด้านเดียวที่ท่านไม่สามารถที่จะเห็นภาพของปัญหาของพี่น้องประชาชน ภาพโอกาสของประเทศไทยและภาพความท้าทายของประเทศไทยที่จะเป็นภาพของยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา ออกไปพัฒนาได้ ยกตัวอย่างนะครับ ท่านเน้นเรื่องตัวเลขที่ดูเป็นประโยชน์ไม่ได้ดูที่บริบทถ้าดูที่เน้นตัวเลขในเรื่องของปริมาณมากกว่าการเพิ่มมูลค่า ด้านเรื่องราคามากกว่าคุณภาพ ชี้ประชาชนเน้นที่จะเอาปัจจัยจากต่างประเทศ เน้นที่จะพึ่งปัจจัยจากต่างประเทศ โดยที่ไม่ต้องเน้นเอาพลังมาจากภายในมากกว่ าเราอธิบายอย่างนี้ครับอย่างเช่น เรื่องเกี่ยวกับการเกษตรท่านก็จะพูดว่าราคาดีที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งก็จริงแล้วก็ถูกด้วย แต่ก็ถูกไม่หมดเพราะจริง ๆ แล้วราคายางรอบ 10 ปีที่ผ่านมามันเป็น community cycle มันก็คือซัพพลายดีมานด์อย่างที่รัฐมนตรีพูดก็ถูก มันก็มีขึ้นมีลงตามฤดูกาล ถ้ามันเป็นฤดูกาลที่มีเรื่องเกี่ยวกับอากาศที่ไม่ค่อยดี ดีมานกลับมาจากช่วงโควิดก็จะดีขึ้นซึ่งตรงนี้ก็ไม่ได้ผิด ท่านดูได้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ใครเป็นนายกฯ ในช่วงที่จุดพีคก็แจ๊คพอทไป ก็เอามาเคลมกันได้ในสภาว่าตอนนี้ราคามันดีอยู่ แทนที่จะเน้นเรื่องคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน แทนที่จะเน้นเรื่องของการเพิ่มมูลค่าไปภูมิใจกับปริมาณว่า 30% ของคนไทยไปภูมิใจกับเรื่องของราคา แต่ในขณะเดียวกันในเรื่องของรายได้ของเกษตรกรลดลง 8% อันนี้ที่มามาอ้างอิงก็คือจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2567 ซึ่งเมื่อกี้ท่านรัฐมนตรีเฉลยก่อนผมอภิปราย อันนี้ผมก็อยากจะฝากท่านประธานไปซักเล็กน้อยว่าสไลด์ที่ผมจะใช้เตรียมมาอภิปรายท่าน ก็เชื่อใจว่าสภาเป็นกลางยื่นให้ แต่เหมือนท่านรัฐมนตรีรู้ว่าผมจะอภิปรายเรื่องนี้แล้วบอกว่าเลขนี้ไม่ใช่ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาผมแค่ต้องการที่จะบอกว่าเวลาที่จะโฟกัสอะไรเนี่ยต้องโฟกัสให้มันรอบด้าน มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าราคาสูง ในหลายหลายตัวแต่รายได้ของเกษตรกรลดน้อยลง หนี้ของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 3% ในช่วง7-8เดือนที่ผ่านมา ถ้าตัวเลขนี้ผิดก็ไม่เป็นไร เพราะว่าตรงนี้ผมก็เอามาจากสภา มันสามารถที่จะเอามาพูดคุยกันได้แต่ที่ผมสนใจและไม่เข้าใจที่ว่าท่านรัฐมนตรีรู้ก่อนได้อย่างไรว่าผมจะอภิปรายเรื่องนี้ขนาด สส.เพื่อนผมยังไม่มีใครรู้เลยครับ แต่ท่านสามารถอภิปราย สไลด์2-3 สไลด์ ก่อนที่จะพูดไปมากกว่านี้ ผมขอรบกวนท่านประธานครับ ช่วยตรวจสอบในเรื่องนี้หน่อยว่ามันเป็นไปได้อย่างไรที่มีแค่ผมคนเดียว มีแค่ทีมงานผมไม่กี่คนรู้ว่าผมจะอภิปรายเรื่องเกี่ยวกับอะไร แต่มีรัฐมนตรีรู้ก่อนที่จะมีการอภิปรายอันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือของสภาแห่งนี้ ก็ต้องฝากท่านประธานไปด้วย แต่อย่างที่อธิบายให้ฟังครับว่ามันต้องดูให้มันรอบด้านอย่าไปเลือกเลขที่มันเป็นบวกแล้วมาพูดต่อ อย่าไปเน้นเรื่องของราคามากกว่าคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่าไปเน้นเรื่องของปริมาณมากกว่าเรื่องของการทำให้มีการเพิ่มมูลค่าในประเทศไทย
- ต่อมาโครงสร้างเศรษฐกิจเกษตร มาที่เรื่องเกี่ยวกับการผลิต manufactury ท่านนายกฯ ใช้คำว่า “สึนามิแห่งการลงทุน” ผมก็รู้สึกดีใจนะครับที่นายกฯ ไม่ใช้คำว่า “พายุหมุนทางเศรษฐกิจ” แล้วเป็น “สึนามิทางการลงทุนไทย” ในสองปีอันนี้ก็ต้องอธิบายให้ท่านนายกฯ เข้าใจครับว่า ผมกังวลว่ามันจะเป็นสึนามิทางการลงทุนจริงๆ เพราะไตรมาสที่สี่ ในช่วงที่ท่านเข้ามาเป็นรัฐบาลมีการลงทุนเยอะมากขึ้น 2.5 เท่า ก็เป็นเรื่องจริงอีกเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่าไม่ได้ดูมันทำให้เรา missed reading หรือเข้าใจผิดไปอย่างไร สึนามิจากการลงทุนใช้คำว่าสึนามิเนี่ยมันทำลายล้างทุกอย่างเลยนะครับ ซึ่งอันนี้ตรงกับผลวิจัยของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ผมต้องขออ้างอิงและไม่จำเป็นที่ต้องเอ่ยนามเขาแต่ทุกคนต้องรู้กันอยู่ว่าเป็นของใคร เขาพูดเรื่องนี้ครับนับถอยหลังยานยนต์ไทยเมื่ออุปสรรคใหญ่ไม่ใช่แค่อีวี อันนี้ผมกังวลว่าที่ท่านนายกฯ ต้องการที่จะทำให้เกิดขึ้นคือสึนามิของการลงทุนจนมาพัดให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยนั้นได้รับผลกระทบอย่างสูง โดยเฉพาะการเข้ามาในการลงทุนกับบีโอไอในช่วงหกเดือนที่ผ่านมาก็จะเห็นว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มาจากอีวีจากทางประเทศจีนเยอะ ซึ่งตรงนี้มันมีข้อน่าสงสัยอยู่ตรงที่ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาปที่มีอยู่ในประเทศไทยจะบริหารจัดการอย่างไร เวลาเข้ามาลงทุนเข้าใจครับเรามีบอกว่าต้องมีโลคอลคอนเท้น 30 - 40% แต่พอมันเป็นรถยนต์อีวี 30 ถึง 40% มันเป็นแบตเตอรี่ครับ ซึ่งในประเทศไทยคนที่ผลิตแบตเตอรี่น่าจะมีอยู่ไม่กี่เจ้า และมีอยู่บริษัทนึงที่อยู่แถวฉะเชิงเทราถ้าผมจำไม่ผิด คราวนี้คนที่ทำอยู่ในอุตสาหกรร 12 ถึง 13% ของ GDP คนเป็น ล้าน ๆ ที่อยู อุตสาหกรรมตรงนี้ ที่จะโดนสึนามิจากการลงทุนนี้เค้าจะทำอย่างไรต่อไปท่านนายกได้คิดหรือยัง แล้วการเพิ่มมูลค่าที่มันเกิดขึ้นอยู่ในประเทศของรถอีวีเนี่ย มันน้อยกว่าสันดาปเยอะแล้วการลงทุนในจีนที่ผ่านมาเค้าส่งออกได้แค่สองปีตอนนี้เค้าเป็นเบอร์หนึ่ง ของโลกไปแล้ว แล้ว 8% ของการส่งออกรถปิกอัพของประเทศไทยถูกขโมยไปโดยจีนซึ่งเค้าทำได้ถูกจริง เค้ามีสเกลจริง แล้วทำออกมาได้ดีจริง ผมไม่ได้ปฏิเสธผมนี่รอ avatar 12 รอพาดีเเพล รอง อะไรอยู่ ชอบ ผมชอบดูพวกนี้มันเป็นประโยชน์กับประชาชนจริง ๆ แต่สิ่งที่เราต้องกังวลมันไม่ใช่เรื่องส่วนตัวก็คือเรื่องของการบริหารเศรษฐกิจของประเทศว่าภาคการผลิตในประเทศไทยที่จะโดนสึนามิแห่งการลงทุนต้องทำอย่างไรต่อไป อันนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะว่าท่านที่เคยทำฟรีเทจอกรีเม้นมาด้วยกันตอนสมัยที่ยังเป็นกับ ออสเตรเลียเนี่ย ปิกอัพ ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง ตอนนี้โดนทางจีนแย่งมาร์เก็ตแชร์ไปเยอะ 8% และในช่วงที่มีการกีดกันทางการค้ามากขึ้นเนี่ย เราเห็นได้เลยว่าซัพพลายเออร์ทางการผลิตเนี่ยรถ ของจีนมันเยอะกว่าปริมาณของเค้ามากแล้วเค้าก็เลือกที่จะมาที่นี่ และในขณะเดียวกันภาษีที่เขาได้ 0% บางทีก็ต้องไปนั่งดูว่าทางเกาหลีได้เท่าไหร่ ทางญี่ปุ่นได้เท่าไหร่ ทางยุโรปได้เท่าไหร่ ผมเข้าใจว่า 0 40 60 80 หรืออะไรประมาณนี้ถ้าต้องการที่จะสร้างอุตสาหกรรมอีวีเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้คนที่เป็นผู้บริโภคได้ประโยชน์ตรงนี้จริงๆก็ไม่ควรที่จะเป็น 0 40 60 80 แบบนี้ มันควรที่จะเป็นศูนย์เท่ากันทั้งหมดแต่ตรงนี้ก็มองภาพไม่ออกเหมือนกันว่าทำไมถึงได้มีแค่ในส่วนของไม่กี่ประเทศ ซึ่งตรงนี้ผมไม่ได้ติดใจอะไรนะ อันนี้คือคนเป็นผู้ผลิตรถอีวีจาก3-4ประเทศถามผมทุกครั้งที่มีโอกาสได้คุยเจอกัน ผมไปเกาหลีเค้าก็มาหาผมแล้วเค้าก็ถามว่าตกลงมันเกิดอะไรขึ้น ทำไมมันถึงได้ทำให้ intensive ในอุตสาหกรรม มันบิดเบี้ยวพอสมควร เตรียมพร้อมกันหรือยัง ไม่ใช่เรื่องอีวีอย่างเดียวเพราะว่าส่งออกในจีนใน Report นี้ก็เขียนเอาไว้ว่าส่งรถสันดาป และส่งปิกอัพทรัคด้วยพอสมคว รตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังเช่นเดียวกัน
- มาถึงเรื่องการลงทุนท่านนายกฯ บอกว่าโตขึ้น 2.5 เท่า ไตรมาสที่สี่ก็เป็นเรื่องจริงครับและก็เป็นเรื่องดีแต่ประเด็นที่มันยังเป็นข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือประเทศไทยตอนนี้เป็นอันดับ6 นำอยู่แค่กัมพูชา นำลาว เมียนมาร์ มาสองปีซ้อน ปี 2022 ท่านไม่เกี่ยวปี 2023 ท่านบอกว่าไตรมาสที่สี่เราโตไหมเราโต แล้วท่านดูฟิลิปปินส์โตเจ็ดเท่าอ่ะ เราอยู่ที่เท่าไหร่อันนี้คือการลงทุนใหม่แค่ Greenfield FDI อ้างอิงมาจากของยูเอ็นทำ 2023 และก็ 2024 ใหม่สดๆร้อนๆนี่ยังอุ่นอุ่นอยู่เลยครับ ซึ่งเค้าก็รวบรวมไว้ทั้งอาเซียนนะครับที่เอามาใช้เป็นข้อมูลให้ท่านดูว่าอย่าพึ่งดีใจอย่าพึ่งประมาทว่าตั้งแต่พอท่านเป็นนายกฯ ขึ้นมาไตรมาสที่สี่เพิ่มขึ้น 2.5 เท่าอย่างนั้นอย่างนี้ทุกประเทศมันเพิ่ม เพิ่มขึ้นหมดแหละครับ แล้วก็เพิ่มเยอะด้วยครับ แล้วเห็นว่าท่านมี BULLETIN ของ สภาแห่งนี้ ขอซักอันนึง ผมยังไม่ได้อ่านเห็นแว๊บแว๊บว่าหน้าสุดท้ายเขียนบอกว่าเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียนนะครับ อันดับหนึ่งของอาเซียนคืออินโดนีเซีย 40,000,000 เหรียญ ของเรา 4,000,000 เหรียญห่างกัน 10 เท่านะครับ ก็เป็นกำลังใจให้ท่านนายกรัฐมนตรีในการวางแผนว่าจะทำอย่างไรในการที่จะทำให้ในเรื่องของ FDI ที่จะทำให้ภาคการผลิต ของเราตามต่างประเทศให้ทัน ไม่ใช่แค่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ลาว หรือเมียนมาร์ แล้วก็ไปกระทบกับทางเศรษฐกิจที่ประเทศเดียว ดูรีพอร์ตของเวิลด์แบงค์ปีที่แล้วก็โหล่ที่สุดในอาเซียนยกเว้นเมียนมาร์ปีนี้ก็เหลืออยู่แค่ 2.8% ซึ่งก็นำอยู่แค่เมียนมาร์ที่เดียวเช่นเดียวกัน ยังไม่รวมถึงเรื่องของการขาดดุล ขาดดุลทั้งเรื่องของบัญชีการค้า ขาดดุลทั้งเรื่องการทำงบประมาณตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องฝากทางรัฐบาลนะครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสึนามิทางเศรษฐกิจที่ต้องการภายในสองปีนี้ถ้ามันมาจริงๆภาคธุรกิจไทยจะไปอย่างไรต่อก็ฝากคำถามท่านแล้วก็ข้อเสนอแนะไปด้วย
- ต่อมาพอพูดเรื่องเกี่ยวกับการเกษตรแล้วภาคภาคการผลิตแล้วมาพูดเรื่องเซอร์วิสบ้างจะได้ครบส่วนประกอบของ GDP ทางเศรษฐกิจว่ามีอะไรบ้าง เรื่องเศรษฐกิจถ้าไม่พูดเรื่องของการท่องเที่ยวก็ไม่ได้ก็อาการคล้ายๆกันกับเรื่องของการเกษตรอาการเดียวกันกับเรื่องของการผลิตที่ท่านอยากจะเน้นเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามา ทำให้ท่านเดินทางเยอะใช้เวลาอยู่ในต่างประเทศเยอะ อยากจะเป็นเซลล์แมน อยากจะดึงต่างประเทศขึ้นมาแต่ท่านไม่ค่อยต้องการผลักดันอะไรที่มันอยู่ภายในประเทศ ที่มันจะรองรับมันจะมีประโยชน์อะไรครับถ้าการท่องเที่ยวของประเทศไทยกลับมายิ่งใหญ่มโหฬารแต่มันโฟกัส 80% อยู่แค่ 5จังหวัด เราไม่ได้สร้างสาธารณูปโภคที่ทำให้คนเค้าอยากจะไปให้มันมากกว่า5จังหวัดนี้ ความเหลื่อมล้ำมันเกิดขึ้น มันจะมีประโยชน์อะไรครับ ถ้าการท่องเที่ยวมาใน5จังหวัด นั้น ชลบุรี ภูเก็ต กระบี่ เชียงใหม่ ประมาณนั้น แต่คนที่อยู่ในภูเก็ตคนที่อยู่ในเชียงใหม่ก็ดี คนที่อยู่ในชลบุรีก็ดี คนที่อยู่ในกรุงเทพก็ดี เต็มไปด้วยเรื่องของขยะ มลพิษ มาเฟีย ยาเสพติด ส่วย ค่าครองชีพที่มันสูงขึ้นเรื่อยเรื่อย ผมอ่านแล้วครับเรื่องของ IGNIGHT tourism ไทยแลนด์ ที่ท่านบอกมา must do must eat must see เห็นด้วยหมด แต่ไปพึ่งให้ 20% ของGDP ไปพึ่งแต่ปัจจัยของนักท่องเที่ยวแค่ไม่กี่กลุ่ม แล้วลืมว่าท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทย ท่านไม่ใช่เป็นนายกรัฐมนตรีของคนที่มาท่องเที่ยว ที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำมันลดลง ในเรื่องของบริการเน้นถึงเรื่อง Varluaid ไม่ได้เน้นในเรื่องปริมาณ ซึ่งตรงนี้ท่านจะพูดต่อไปว่าท่านพอจะเห็นภาพเรื่องของการเกษตร การผลิต ภาคบริการของการท่องเที่ยว ว่าท่านอย่ามองแต่เรื่องที่ท่านต้องการให้มันเป็นบวก เรื่องที่มันจะเป็นแสงสว่าง ท่านต้องมองให้ครบรอบด้าน ท่านอย่าไปมองแค่ราคา ไปดูคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่าไปมองแค่ปริมาณ มองเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่า ถ้าท่านมองแบบนี้ได้ผมก็คิดว่าปัญหามันจะทุเลาลง แล้วมันต่อไปต่อเนื่องครับ อย่างเช่นเรื่องแรงงาน เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเรื่อง เกี่ยวกับความปลอดภัยของประชาชน สามเรื่องนี้มันเหมือนเป็น เรื่อง Support ที่ ซับพอร์ทเรื่องของการเกษตรก็ดี การผลิต บริการก็ดีมันเป็นเรื่องที่ซัพพอร์ตกันมา
- พอมาพูดเรื่องของสิ่งแวดล้อมขึ้นมาบ้าง วันแรกผมได้ยินท่านพูดบอกว่าเรามีปัญหาอยู่จริง ๆ เชียงใหม่ติดระดับโลกอยู่จริงฮอตสปอตน้อยลงกว่าปีที่แล้วมันก็เป็นข้อมูลที่เป็นบวกบวก แต่มันไม่รอบด้านเกิน ท่านนายกฯ ต้องเข้าใจนะครับว่าในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาเนี่ยท่านลองดูข้อมูลท่านจะเห็นว่าเรื่องเกี่ยวกับไฟป่าในประเทศไทยย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 2011 - 2012 มันจะพีคในช่วงเดือนมีนา-เมษา แต่พอท่านไปดูผมเข้าใจว่าท่านไปดูเดือนมกราหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจท่านไปดูของเดือนกุมภามันก็ลดลงเพราะว่ามันไม่ใช่เป็นช่วงพีคไงครับ แต่คราวนี้พอผมไปตรวจสอบมา Fact Sheet ของท่านนายกฯ มาซักเล็กน้อย พบจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2566 กับปี 2567 ที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ผมได้ภาพนี้ครับคือจุดความร้อนมันเพิ่มขึ้นในภาคเหนือ ถ้าท่านพูดแค่เฉพาะในเชียงใหม่ในช่วงหนึ่งเดือนนั้นมันก็ทำให้ท่านรู้สึกว่าท่านได้แก้ไขปัญหาได้ปัญหาPM 2.5 มันก็คงจะหายไปเพียงแต่ว่าท่านดูเวลามันผิดเวลาไปหน่อย มันผิดบริบทไปหน่อย ว่าเห็นกี่ปีกี่ปีย้อนหลังเป็น 10 ปี ท่านจะเห็นเลยครับว่ามันเริ่มพลิกช่วงเดือนไหนของประเทศถ้าท่านดูไม่ถูกจุดแล้วยอมรับข้อเท็จจริงตรงนี้ที่ผมได้ข้อมูลมาจากจิสด้าซึ่งก็เป็นหน่วยงานของรัฐบาลเอง ให้ทางสภาได้เช็ควิชาการเรียบร้อยแล้วว่าข้อมูลถูกต้องหรือเปล่าปรากฏว่า จุดความร้อนต่อวันในภาคเหนือไม่ได้ลดลงนะครับ มันเพิ่มขึ้นช่วงเวลา เอาละถ้าท่านไม่อยากจะมาเถียงกันเรื่องนี้ว่าทำไมมันยิบย่อยอะไรขนาดนี้สิ่งสำคัญและท่านควรและต้องมาสะสางข้อเท็จจริงกันคือดูครับผลกระทบของ PM2.5 ที่เป็นคนป่วยนั้นมันมากน้อยแค่ไหนในช่วงมกราคมถึงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา 2,000,000 เคสครับ เพิ่มขึ้นทั้งมกราและกุมภา คราวนี้ถ้าท่านเห็นข้อมูลที่มันถูกต้องนะครับ ท่านฟังเพื่อที่จะตอบสนอง ท่านไม่ต้องฟังเพื่อตอบโต้ พอจะเห็นภาพไหมผมรู้สึกว่าท่านฟังเพื่อที่จะตอบโต้อะไรบางอย่าง ท่านไม่ได้ต้องการที่จะฟังเพื่อตอบสนอง ซึ่งมันไม่ได้เป็นภาวะผู้นำที่ดี ถ้าท่านเห็นแบบนี้ท่านจะรู้ครับว่าเดือนมีนาหรือช่วงเมษาที่จะถึงนี้ท่านต้องเตรียมตัวอะไรบ้างในเดือนหน้า ท่านจะทำอะไรบ้างในช่วงหนึ่งปี ท่านจะทำอะไรบ้าง ปีหน้าท่านจะทำอะไรบ้าง เพื่อที่จะให้ปัญหาแบบนี้มันหมดหายไปจากประเทศไทย
 - เรื่องของแรงงานท่านรัฐมนตรีกรณีชี้แจงนะครับว่า เฉพาะโรงแรมสี่ดาวแล้วก็แค่ใน 10 จังหวัดแล้วก็เรื่องของความปลอดภัยอาชญากรรม เรื่องของส่วย คอรัปชั่น ผมแนะนำท่านอย่างนี้ดีกว่า ง่ายดี พรุ่งนี้หรือวันมะรืนนี้ได้ข่าวว่าท่านจะลงที่เกาะสมุยใช่ไหมครับ ท่านจะลงที่สุราษฎร์ธานีท่านลองไปแบบที่ไม่มีข้าราชการมาห้อมล้อมท่านน่ะ แล้วท่านลองไปถามดูว่าที่แรงงานขึ้นแบบนี้มันขึ้นแบบเกสโนว่าหรือเปล่า ขึ้นเหมือนไม่ขึ้น เพราะว่าโรงแรม 4 ดาวมันเกิน 400 บาทกันหมดแล้วใช่ไหมครับ อันที่สองท่านก็ไปถามเลยว่าสมุยเนี่ยผมเห็น ของท่านแล้วว่าท่านจะไปดูเรื่องขยะ เรื่องน้ำประปา อันนี้เป็นเรื่องดีขอชื่นชม ลองสอบถามดูครับว่าขยะที่มันสะสมอยู่เป็น 10 ปี เนี่ย 400,000 กว่าตัน วันนึงประมาณ 150 คน เกาะสมุยเค้ารับผิดชอบอย่างไรจากการที่ต้องการท่องเที่ยวท่านจะทำ festival ดึงให้คนมาเที่ยวกันเยอะเยอะ โดยที่ไม่คำนึงถึงว่าไอ้คนที่มันอยู่ข้างหลังเนี่ยมันต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง หรือลงไปดูว่าเรื่องของมาเฟียต่างชาติต่างๆที่ท่านต้องการที่จะดึงขึ้นมาทำวีซ่า ให้เค้ามาเนี่ยได้ถามเขาหรือยังว่า ค่าครองชีพก็ดี เรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่ค่อยดีที่มันมีในประเทศเนี่ยท่านได้เตรียมเรื่องของการตำรวจหรือว่าอะไรในการที่จะบริหารจัดการเรื่องนี้ ทำอย่างไรให้ประชาชนเค้ามั่นใจว่าในเรื่องของยาเสพติดออนไลน์สเเกม นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่ท่านพักงานอยู่เป็นส่วยตัวท็อปทั้งคู่ ในส่วนที่ประชาชนกำลังรู้สึกกังวลใจนัก และนักท่องเที่ยวก็รู้สึกว่าไม่อยากมาประเทศไทยเพราะว่าโดนหลอกไปเป็นออนไลน์สแกมที่ประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ประชาชนมั่นใจได้อย่างไรว่าในขณะที่ประชาชนกังวลอยู่นั้นเบอร์หนึ่งกับเบอร์สองที่เป็นตำรวจไทยทะเลาะกันอยู่ และก็โดนพักงานทั้งคู่ ท่านเป็นผู้บัญชาการโดยตรงที่จะต้องแก้ไขปัญหาตรงนี้เพื่อที่จะให้เกิดความเชื่อมั่นกลับมาในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งนะครับ
- สุดท้ายครับเมื่อพี่น้องประชาชนในรัฐสภาแห่งนี้ได้เห็นว่าผมได้สรุปว่าในสองวันที่ผ่านมาเราพูดคุยเรื่องอะไรบ้าง อภิปรายเรื่องอะไรบ้าง วิสัยทัศน์ 8 HUB ของรัฐบาลทำไมพวกเราถึงมองว่าเป็นความมืดแปดด้านฝ่ายค้านงงหรือรัฐบาลงงกันแน่ ใครที่ยังพูดเหมือนเดิมอยู่ แล้วงงกับใครที่พูดไม่เหมือนเดิม ผมก็เลยงงรวมถึงการสะสางข้อเท็จจริงที่เน้นในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เน้นเรื่องการต่างประเทศที่ท่านนายกก็เข้าใจดี แล้วก็แตะไปในเรื่องสำคัญ ที่เป็น Supporting Industry แรงงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไม่แพ้กัน เมื่อทั้งหมดนี้เป็นเรื่องภายในประเทศ ก็ต้องพูดถึงเรื่องต่างประเทศให้ได้เห็นภาพกันสักหน่อยสั้นสั้นเลยครับ ผมคิดว่ามันจะแก้ไขปัญหาในประเทศอย่างเช่นเรื่องออนไลน์สแกม เรื่องการเผาข้าวโพด เรื่องแรงงานอย่างที่ผมพูดเมื่อตะกี๊ไม่ได้ ถ้าการต่างประเทศของเรายังไม่รอบด้านเหมือนที่ท่านรัฐมนตรีพูดเมื่อกี้ผมอยากจะเสนอแนะให้ท่านลองคิดดูนะครับว่า สำหรับวิธีที่เกิดขึ้นในเมียนมาร์ท่านควรที่จะมีความเห็นที่รอบด้านและสามารถที่จะเอ็นเกจทุกส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนั้น หรือไม่เพื่อท่านจะได้ฟังความเห็นที่ครบถ้วนรอบด้าน และสามารถแก้ไขปัญหาได้ผมอยากจะถามว่าเรื่องออนไลน์สแกม เรื่องPM 2.5 เรื่องแรงงานข้ามชาติที่มาถ้าเราไม่เอ็นเกจกับผู้นำชนกลุ่มน้อยที่อยู่ชายแดนไทย เรื่องอย่างที่ท่านส.ส. โรมเคยถามไว้ เรื่องเมียวดี เรื่องชายแดนที่ติดกับเราสองพันกว่ากิโลเนี่ย มันจะแก้ไขได้จริงหรอ อันที่สองผมไม่แน่ใจว่าถ้ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทหารทั้งหลายเนี่ยทางรัฐมนตรี DE ก็ตอบ สส. โรมอย่างนะครับว่ารับไปแล้ว เรื่องการใช้ไฟฟ้าเรื่องของการใช้อินเตอร์เน็ตจากฝั่งไทยเข้าไปสู่ฝั่งของเมียนมาร์ แต่ท่านรัฐมนตรี DE ก็ไม่สามารถไปสั่งรัฐมนตรีกลาโหม หรือรัฐมนตรีต่างประเทศได้ ผมเสนอให้มีอินเตอร์เอเจนซี่ภายในรัฐบาลครับ ที่เกี่ยวข้องกับเมียนมาร์โดยเฉพาะเมียนมาร์ทาสฟอส เมียนม่าอินเตอร์ทาสฟอส ดูแลทั้งหมดทั้งเรื่องเกี่ยวกับการที่จะเอ็นเกจ ทั้งคนที่เป็นส่วนเกี่ยวกับความขัดแย้ง เรื่องของการทำ Humanitarian Corridor ที่ไม่ได้ทำให้นิยามของมนุษยธรรมมันหายไป ถ้าเราไปส่งให้กับกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมันก็ไม่ได้เป็นมนุษยธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว ก็เข้าใจว่าท่านรัฐมนตรีบอกว่าพยายามที่จะทำอยู่ ที่พูดทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการพูดว่าให้เป็นนโยบายต่างประเทศเพื่อต่างประเทศนะครับ แต่ผมกลับมาที่ผมอภิปรายไปเมื่อตะกี้หลังข้อเท็จจริงเรื่องเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอาหาร เรื่องของไฟป่า การเผาในพื้นที่ชายแดนของเรา ออนไลน์สะแกมต่างๆถ้าเราสามารถเก็ท เค้าไม่ได้เก็ทเฉพาะคนที่เรายึดอำนาจมาอย่างเดียว ซึ่งผมหมายความว่าก็ยังต้องเค้าต่อนะ แต่ที่เหลือเนี่ยให้มันครบรอบด้าน แล้วภายในของประเทศก็สามารถทำเป็นอินเตอร์ทาสฟอส ตรงนี้ได้ผมคิดว่านอกจากที่รัฐมนตรี DE รับข้อเสนอของ สส.โรม ไปก็จะทำให้การแก้ไขปัญหานี้ในต่างประเทศดีขึ้นและกลับมาแก้ไขปัญหาภายในประเทศไทย ที่ไม่มีทางแก้ได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านนะครับ
- ตีสองแล้วครับ ผมไม่ได้ตั้งใจจะให้ใช้เวลาครบให้หมด เกรงใจประชาชนที่ดูอยู่ ก็จะเอาให้จบให้เร็วที่สุดแล้วก็จะเสียเวลาให้กับรัฐสภาอย่างนี้ สรุปแล้วสะสางแล้ว ขอข้อเสนอแนะนะครับ 3 ข้อ ข้อที่หนึ่งผมคิดว่าถ้าท่านจะกอบกู้ LEADERSHIP กอบกู้ภาวะผู้นำของรัฐบาล ผมว่าถึงเวลาที่ท่านต้องปรับครม. แล้วครับ ถึงเวลาที่จะ put the right person on the right job คนที่เขาเชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องเข้ามาทำงานได้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ผ่านมาเจ็ดเดือนก็พอที่จะเห็นภาพว่า ใครที่มีประสิทธิภาพ ใครที่รู้จริงกับเรื่องที่เค้าทำอยู่ใครที่ทำมากับอาชีพหนึ่งมาตลอดชีวิตแล้วมาทำเกี่ยวข้องกับเรื่องเฉพาะเจาะจงในแต่ละเรื่องซึ่งไม่สามารถที่จะทำให้ความไร้วาระของรัฐบาลที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนได้  ข้อที่สองครับถึงเวลานายกรัฐมนตรีจะมี Road Maps ได้แล้ว คือมันไม่ได้สำคัญว่าทำอะไร มันไม่สำคัญว่า What to do แต่มันสำคัญสำคัญว่า Why When and How วิสัยทัศน์ที่ท่านพูดมา 8 HUB ก็พูดถูกอีกแหละครับ ตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงการเงินอันนี้พูดมาตั้ง 20 กว่าปีแล้ว สมัยก่อนไม่ได้เรียกเป็น HUB เรียกเป็นคลัสเตอร์จ้างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อาจารย์ผมเองเนี่ยแหละ มาทำคลัสเตอร์ให้ท่าน คลัสเตอร์พวกนี้ 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีเปลี่ยนแปลงเลย เพราะว่ามันพูดแค่ว่าจะทำอะไร มันไม่ได้บอกว่าจะทำยังไง มันไม่ได้บอกว่าจะทำเมื่อไหร่ คราวนี้แนะนำให้ท่านมี Road Maps ตรงนี้ ในช่วงไตรมาสนี้ถ้าจะทำปีนี้ ฉันจะทำอะไร สมัยนี้ท่านจะทำอะไร มันสามารถที่จะทำให้คนที่เขาอยากจะช่วยท่านมันเห็นภาพร่วมกัน การขับเคลื่อนให้มันเกิดผลลัพธ์ได้จริง มันก็จะมีองคาพยพที่จะกลับมาช่วยได้ทันแต่ถ้าเกิดพูดลอยๆไปเรื่อยเรื่อยว่าอยากมีวิสัยทัศน์อย่างโน้นอย่างนี้มันก็ยากที่จะทำให้เปลี่ยนจากWHAT เป็นอะไรที่มันสามารถที่จะ HOW หรือสามารถที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ได้จริง อะไรที่มันไม่มีวาระอยู่แล้วไม่มีผลลัพธ์อยู่แล้วมันก็จะยิ่งไปกันใหญ่
- อันสุดท้ายผมคิดว่าข้อที่สามเป็นสิ่งที่สำคัญของคนที่จะเป็นผู้นำและก็เป็นภาวะผู้นำที่มีความสำคัญในศตวรรษที่ 21 เลยก็คือการฟัง ผมอยากจะขอแนะนำท่านว่าฟังเพื่อที่จะตอบสนองไม่ได้ฟังเพื่อที่จะตอบโต้ตลอดเวลา เพราะบางทีสิ่งที่ท่านไม่อยากได้ยินที่สุดก็จะเป็นเสียงที่ประเสริฐที่สุดตามอย่างที่ท่านเคยให้สัมภาษณ์ไว้ ก็ขอจบการอภิปรายเพียงเท่านี้ครับ ไม่มีอะไรค้างคาใจ ขอคืนเวลาให้สภา แล้วก็คืนเวลานอนให้กับพี่น้องประชาชนครับ ขอบคุณมากครับ


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar