สรุปผลการประชุมร่วมศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ในพื้นที่อุทกภัยภาคใต้ ประจำวันที่ 27 พ.ย. 2566

สรุปผลการประชุมร่วมศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ในพื้นที่อุทกภัยภาคใต้ ประจำวันที่ 27 พ.ย. 2566

นายศุภพงษ์ เชาวน์แล่น ผอ.สปข.5 ผู้แทนหัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ กล่าวถึวสรุปการประชุมฯ ประจำวัน โดยนายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การติดตาม คาดการณ์สถานการณ์ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย/ เฝ้าระวัง: ข้อมูลจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมชลประทาน
⯌ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังค่อนข้างแรงส่งผลให้มีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางพื้นที่
###แจ้งเตือนถึงวันที่ 1 ธ.ค. 66 กลุ่มฝนจะเคลื่อนตัวขึ้นมาจากภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
###น้ำทะเลหนุนสูง ถึงวันที่ 2 ธ.ค. 66 ตลอดแนวฝั่งอ่าวไทย ริมฝั่งทะเลของ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อาจเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ
###คาดการณ์ 7 วันข้างหน้าหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ได้เคลื่อนลงสู่ช่องแคบมะละกา คาดว่าจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามันในระยะต่อไป

⮚วันที่ 27 พ.ย. – 4 ธ.ค. 66 ปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช/ ปริมาณฝนตกสะสม ทำให้เกิดดินโคลนถล่ม / คลื่นใกล้ฝั่งสูง 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 – 3เมตร

⮚วันที่ 4 – 11 ธ.ค. 66 ยังคงจะมีปริมาณเพิ่มเข้ามาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น/ เฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ จ.กระบี่ และระนอง
⯌ สถานการณ์ปริมาณน้ำ: ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก/ ลำน้ำสาขา
>>>ปริมาณน้ำฝนสูงสุด ห้วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา อยู่ที่ จ.นครศรีธรรมราช

⮚ จ.นครศรีธรรมราช: คลองท่าดี อ.เมือง ระดับน้ำกำลังเพิ่มสูงขึ้น เริ่มเอ่อล้นตลิ่ง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก/// คาดการณ์ว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มจะกลับสู่เข้าสู่ภาวะได้ช่วงวันที่ 30 พ.ย. 66
⮚ จ.สุราษฎร์ธานี: แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น เฝ้าระวังเป็นพิเศษ/ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในที่ราบลุ่มใกล้ ๆ ริมฝั่งแม่น้ำติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดในระยะนี้
- คลองอิปัน อ.พระแสง ให้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

⯌ สถานการณ์อุทกภัย

1) จ.ชุมพร ได้แก่ อ.หลังสวน (ต.นาพญา พ้อแดง บางมะพร้าว ท่ามะพลา) ยังมีปริมาณน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ และมีฝนตกต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากไม่มีฝนเพิ่มตกลงมาเพิ่ม คาดว่าอีก 1 – 2 วัน จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
2) จ.นครศรีธรรมราช ได้แก่ อ.นบพิตำ สิชล และท่าศาลา


2. การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐ
⮚ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี (พื้นที่รับผิดชอบ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง): เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ตลอด 24 ชั่วโมง ได้ดำเนินการสนับสนุน รถบรรเทาทุกข์ขนาดใหญ่ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย และติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่เสี่ยงสูง พร้อมดำเนินการสูบน้ำได้ทันที/ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพิ่มเติมในพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.ชุมพร และนครศรีธรรมราช

⮚ หน่วยงานสังกัดกรมชลประทาน:
- จ.นครศรีธรรมราช สถานการณ์น้ำคลองท่าดี มีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง จึงได้เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยการเร่งระบายน้ำทางคลองคูพาย ซึ่งสามารถระบายน้ำได้ดี หากไม่มีฝนตกลงเพิ่มคาดว่าอีก 1 – 2 วัน จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
⮚ หน่วยงานกระทรวงกลาโหม: กองทัพภาคที่ 4 ให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ อ.พรหมคีรี และสิชล จ.นครศรีธรรมราช ในการซ่อมแซมบ้านเรือประชาชน ที่ประสบวาตภัยต้นไม้ล้มทับบ้านเรือนเสียหาย

ทั้งนี้ พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถแจ้งได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-75 38-3405

3. แนวทางการประชาสัมพันธ์: คาดการณ์ล่วงหน้าและสถานการณ์ปัจจุบัน

3.1 แจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า
###แจ้งเตือนถึงวันที่ 1 ธ.ค. 66 กลุ่มฝนจะเคลื่อนตัวขึ้นมาจากภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
###น้ำทะเลหนุนสูง ถึงวันที่ 2 ธ.ค. 66 ตลอดแนวฝั่งอ่าวไทย ริมฝั่งทะเลของ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อาจเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ
###คาดการณ์ 7 วันข้างหน้าหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ได้เคลื่อนลงสู่ช่องแคบมะละกา คาดว่าจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามันในระยะต่อไป
⮚วันที่ 27 พ.ย. – 4 ธ.ค. 66 ปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช/ ปริมาณฝนตกสะสม ทำให้เกิดดินโคลนถล่ม / คลื่นใกล้ชายฝั่งสูง 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 – 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
⮚วันที่ 4 – 11 พ.ย. 66 ยังคงจะมีปริมาณเพิ่มเข้ามาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น/ เฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ จ.กระบี่ และระนอง

###สถานการณ์ปริมาณน้ำ: ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก/ ลำน้ำสาขา
- จ.นครศรีธรรมราช: คลองท่าดี อ.เมือง ระดับกำลังเพิ่มสูงขึ้น และเอ่อล้นตลิ่ง/// คาดการณ์ว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มจะกลับสู่เข้าสู่ภาวะได้ช่วงวันที่ 30 พ.ย. 66/// ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน เฝ้าระวัง ติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด หากปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น เตรียมยกของขึ้นที่สูง
- จ.สุราษฎร์ธานี: แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น เฝ้าระวังเป็นพิเศษ/ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในที่ราบลุ่มใกล้ ๆ ริมฝั่งแม่น้ำติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดในระยะนี้
⯌พื้นที่แจ้งเตือนภัย ปริมาณฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
⮚ จ.สุราษฎร์ธานี: ฝนหนักมาก ได้แก่ อ.ไชยา
ฝนตกหนัก ได้แก่ อ.เมือง ท่าชนะ ท่าฉาง วิภาวดี พุนพิน เคียนซา บ้านนาสาร บ้านนาเดิม เวียงสระ ชัยบุรี ดอนสัก เกาะพะงัน
⮚จ.นครศรีธรรมราช
ฝนหนักมาก ได้แก่ อ.หัวไทร สิชล นบพิตำ ท่าศาลา
ฝนตกหนัก ได้แก่ อ.เมือง ขนอม พิปูน ถ้ำพรรณนา ฉวาง ทุ่งใหญ่ นาบอน ทุ่งสง พรหมคีรี ลานสกา พระพรหม ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ ชะอวด เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ ปากพนัง
ฝนปานกลาง ได้แก่ อ.บางขัน ช้างกลาง
🟢 เตือนภัยเฝ้าระวัง (สีเขียว)🏘️บ้านเขาโร ต.เขาโร อ.ทุ่งสง
🟢 เตือนภัยเฝ้าระวัง (สีเขียว) 🏘️บ้านทุ่งโชน ต.เขาพระทอง อำเภอชะอวด
⮚จ.ชุมพร: ฝนตกหนัก ได้แก่ อ.หลังสวน พะโต๊ะ และ ละแม
-🟡 เตือนภัยเตรียมพร้อม (สีเหลือง)🏘️บ้านโตนดห้าต้น ตำบลนาพญา อ.หลังสวน
- อ.พะโต๊ะ: ฝนตกหนักในพื้นที่ ม.6 บ้านท่าแพ ต.ปังหวาน อ.พะโต๊ะ จึงทำให้น้ำระบายไม่ทัน และน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน 5 หลังคาเรือน ขณะนี้น้ำไกลข้ามท่วมถนนสูงประมาณ 1.5เมตร จึงไม่สามารถสัญจรไปมาได้
- อ.หลังสวน: ฝนตกหนักในพื้นที่ ส่งผลให้ บริเวณสามแยกวังตะกอ น้ำระบายไม่ทัน ทำให้น้ำท่วมสูงประมาณ 30 ซ.ม.

3.2 ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนอย่างต่อเนื่อง
1) ขอให้เพิ่มความระมัดะวังในการขับขี่ยานพาหนะ ไม่ขับขี่ฝ่ากระแสน้ำ
2) เฝ้าระวังบุตรหลาน ไม่ให้ลงเล่นน้ำ/ หรือประชาชนทำการประมงพื้นบ้านช่วงน้ำหลาก อาจถูกน้ำพัดหรือจมน้ำได้
3) แนะนำวิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ควรเพิ่มความระมัดระวังการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด หากชำรุดควรซ่อมแซมทันที หรือเลิกใช้ ป้องกันไฟฟ้าดูดไฟฟ้าช๊อต
4) ตรวจสอบระยะห่าง ป้ายโฆษณา/ ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตัดแต่งต้นไม้สูง
5) เฝ้าระวังโรคภัยและสัตว์มีพิษที่มากับน้ำท่วม
6) ช่องทางการขอรับความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ/สายด่วน ปภ. 1784/ หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานสำหรับขอรับความช่วยเหลือในแต่ละพื้นที่/ จุดรวมพล (กรณีมีการเปลี่ยนแปลง)
7) ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา ตามระเบียบกระทรวงการคลัง

***หมายเหตุ
* สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพอากาศในแต่ละวัน
* ข้อมูลสร้างการรับรู้ เข้าใจ ระดับปริมาณน้ำฝน
ปริมาณฝน 90 มิลลิเมตร = ระดับสีเขียว แจ้งเตือน/ เฝ้าระวัง
ปริมาณฝนมากกว่า 120 มิลลิเมตร = ระดับสีเหลือง เฝ้าระวังเป็นพิเศษ/ เตรียมความพร้อม
ปริมาณฝนมากกว่า 150 มิลลิเมตร = ระดับสีแดง เตรียมอพยพ


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar